ภูมิปัญญาลิเกฮูลู

ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู มาจากคำว่าลิเกหรือดิเก ลิเก หรือ ดีเก มาจากคำว่า ซีเกร์ หมายถึงการอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่าใต้ หรือทิศใต้รวมความแล้ว หมายถึง การขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงในสมัยคนเก่าคนแก่ โดยมีกำเนิดขึ้นที่บ้านกายูบอเกาะ หมู่บ้านกายูบอเกาะปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งชาวมุสลิมมักใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอ คำว่าลิเกหรือดีเกร์ เป็นศัพท์เปอร์เซียมีความหมาย 2 ประการ คือ

1.เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า “ดิเกร์เมาลิด”

2.กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า “ลิเกฮูลู”

สำหรับรูปแบบการละเล่นจะคล้ายกับการแสดงลำตัด หรือเพลงช้อยในภาคกลาง คือ การตั้งวงของแต่ละคณะจะมีสมาชิกที่เป็นลูกคู่ประมาณ 10 คนขึ้นไป ผู้ร้องเพลง และผู้ขับร้องมีประจำคณะอย่างน้อย 2-3 คน และถ้าผู้ชมคนใดสนใจอยากร่วมแสดงหรือเสนอความคิดเห็นก็สามารถขึ้นไปสมทบบนเวทีได้ส่วนเครื่องแต่งกายจะนิยมใช้เสื้อผ้าสีสันสดใส เดิมมีผ้าโพกหัวส่วนเสื้อคอกลม และนุ่งโสร่งแบบมุสลิมมีบางครั้งที่อาจจะเหน็บขวานมาแสดง ทั้งนี้เพื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้ แต่ในปัจจุบันการแต่งกายเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม

โดยส่วนมากจะแต่งกายเหมือนกันทั้งคณะเอกลักษณ์ที่สำคัญของการเล่นลิเกฮูลู คือ การขับร้องพร้อมแสดงท่วงท่าประกอบท่าร่ายรำจะบ่งบอกถึงธรรมชาติ และการห่วงหาอาทรต่อการ เช่น การทำมือเป็นรูปคลื่นท่ากวักมือเพื่อชักชวนพี่น้องที่ไปอยู่ในมาเลเซียให้กลับมายังบ้านเกิด ถ้าปลาแหวกว่าย ท่าชักอ้วน พร้อมท่าประกอบกับการตบมือเป็นจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน การทำการแสดงจะต้องเริ่มด้วยการโหมโรงดนตรี เพื่อปลุกเร้าหรือเรียกผู้ชมเมื่อพร้อมแล้วก็ทำการแสดงโดยเพลงกลอนไปตามเนื้อหา หากใครมีข้อโต้แย้งก็จะให้แสดงความคิดเห็นเป็นการปะทะคารมกันคล้ายโต้วาทีซึ่งมีความสนุกสนานแฝง

ที่มา: kp.ac.th/ONet/304/southern/www/art.html

ดีเกฮูลูมีการโหมโรงเรื่องรำมะนาเรียกว่า ตาโบ๊ะ และเพลงปันตงดีเกฮูลูรวมเพลงอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน และมีการการุการโต้ตอบเป็นเรื่องๆ จบด้วยว่าบูแล คำว่า วา แปลว่าว่าว บูแล แปลว่า วงเดือน รวมกันแล้ว แปลว่า ว่าววงเดือน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของดีเกฮูลู คำว่าดีเกคนไทยทั่วๆไป เรียกว่า ลิเก คำว่า ฮูลู แปลว่า ใต้ เพราะฉะนั้นดีเกฮูลูจึง แปลว่า ลิเกของภาคใต้ ถ้าเพลงที่ร้องจบด้วยคำว่าวาบูแลจะถือว่าเป็นอันว่าจบเพลง และจบการแสดง


เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นลิเกฮูลูโดยมีทั้งหมด 8 ชิ้น คือ

1. รำมะนาใหญ่ ภาษามลายูเรียกว่า บานอร์อีบู 1 ลูก

2.รำมะนาเล็ก ภาษามลายูเรียกว่า บานอร์อาเนาะ 1ลูก

3.ฆ้อง ภาษามลายูเรียกว่า โฆ่ง 1 ใบ

4. ฉิ่ง ภาษามลายูเรียกว่า อาเนาะอาแย 1 คู่

5. ฉาบ ภาษามลายูเรียกว่า กายูตือโป๊ะ 1 คู่

6.โม่ง ภาษามลายูเรียกว่า ม่อง 1 วง

7. ขลุ่ย ภาษามลายูเรียกว่า ปูลิง 1 เบา

8. ลูกแซด ภาษามลายูเรียกว่า เวาะลอมา 1 คู่

อ้างอิง

https://archive.clib.psu.ac.th/online-exhibition/huloo/page1.html

https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-silpkar-saedng/di-ke-hulu