การเลือกใช้สีในการออกแบบ | Photoshop CS6

การใช้สีในการออกแบบงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผลงานเพื่อส่งต่อให้ผู้ดูเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้  มีดังนี้ 


1. การใช้สีวรรณะเดียว 

ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ 

วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน 

วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ) 

การใช้สีแต่ละครั้ง ควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ)  กลมกลืน  มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก


2. การใช้สีต่างวรรณะ 

หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20% ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ


3. การใช้สีตรงกันข้าม 

สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป


ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อมวลปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งกันได้ สีสามารถขับเน้นให้เกิดจุเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ 


หลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ

1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคน  สีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้

2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น         

3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรืออันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น

4. สีช่วยให้เกิดการรรับรู้และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงาน  หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ

โทนสี ต่างๆ มี ดังนี้

โดยสีจะมีทั้งหมด 3 โทน คือ โทนเย็น , โทนร้อน , โทนกลาง  ดังนี้

1.  สีโทนเย็น :  เป็นสีแห่งความสุภาพ และความอ่อนโยน รูปสึกผ่อนคลาย

2.  สีโทนกลาง : สีเหล่านี้มักจะถูกนำไปผลมกับสีอื่นๆ เพื่อให้เกิดสีใหม่ขึ้นมา

3.  สีโทนร้อน : เป็นสีแห่งความอบอุ่น ช่วยปลอบโยน และกระตุ้นความสุขได้ดี

ตัวอย่าง สีโทนร้อน-โทนเย็น-โทนกลาง

หลักการเลือกใช้สี  มีหลายวิธี ดังนี้


1. การใช้สีเอกรงค์ (Monochrome) หมายถึง การใช้สี สีเดียว หรือการใช้สีที่แสดงความเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว แต่มีการลดหลั่นกันในเรื่องน้ำหนักสี เพื่อให้เกิดความแตกต่าง วิธีการใช้สีเอกรงค์ คือจะใช้สีใดสีหนึ่งที่เป็นสีแท้ (Hue) หรือมีความสด (Intensity) เป็นตัวยืนเพียงสีเดียวให้เป็นจุดเด่นของภาพ ส่วนประกอบรอบๆ นั้นจะใช้สีเดียวกันแต่ลดความสดของสีให้น้อยกว่าสีหลัก  สีที่นำมาเป็นส่วนประกอบอาจแบ่งน้ำหนักได้ตั้งแต่   3 - 6 สี

2. การใช้สีกลมกลืน (Harmony) หมายถึง การเคียงคู่กันของสีต่างๆ ซึ่งไปด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง หรือตัดกัน ความกลมกลืนของสีทำได้หลายลักษณะ คือ 

2.1  กลมกลืนด้วยค่าของน้ำหนักของสีๆ เดียว (Total Value Harmony) 

2.2  ลมกลืนโดยใช้สีใกล้เคียง (Symple Harmony) 

2.3  สีกลมกลืนโดยใช้สีคู่ผสม (Two Colours Mixing)

2.4  สีกลมกลืนโดยใช้วรรณะของสี (Tone)

3. การสร้างสภาพสีโดยรวม (Tonality) หมายถึง การทำให้เป็นสีโดยภาพรวม หรือเป็นโครงสีส่วนใหญ่ที่ปกคลุมหรือครอบงำสีอื่นอยู่ ถึงแม้ในรายละเอียดส่วนอื่นอาจมีสีอื่นๆ ปะปนอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้สภาพสีโดยรวมขัดแย้งกันเกินไป การใช้สีโดยรวมช่วยให้ภาพมีความกลมกลืนและมีเอกภาพ

4. การใช้สีตัดกัน (Discord) หมายถึง การกลับค่าของน้ำหนักระหว่างสีแก่กับสีอ่อน โดยการกลับสีที่แก่มาเป็นสีอ่อนด้วยการผสมสีขาว หรือทำให้เจือจางลง เพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนกว่าอีกสีหนึ่งที่เป็นสีที่อ่อน แต่ปรับให้เป็นสีแก่โดยการผสมดำ หรือสีเข้ม เพื่อเพิ่มน้ำหนักสีให้เข้มขึ้น แล้วนำมาจัดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสม


ค่าโทนสีของพื้นหลัง ตัวอักษร


Contrast

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกสีตัวอักษรของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาที่เราเขียนสามารถมองเห็นและอ่านง่าย จะต้องสร้างความคมชัดระหว่างสีของข้อความและพื้นหลัง สิ่งที่ดีที่สุดคือการเลือกใช้โทนสี เช่น หากเลือกใช้พื้นหลังโทนสีอ่อนข้อความก็ควรเป็นสีเข้ม หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการใส่ข้อความลงบนรูปภาพด้วยเช่นกัน จำไว้ว่าสีข้อความที่มืดกว่าพื้นหลังจะช่วยให้ผู้อ่านของคุณโฟกัสการอ่านได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง Contrast แสดงการเลือกสีพื้นหลัง ให้เข้ากับสีตัวอักษร

สีกับความรู้สึก

Yellow-Green การเจ็บป่วย – ความอิจฉา – ขี้ขลาด – การแตกแยก

Yellow ความสุข – พลังงาน – ความเจริญ – การเรียนรู้ – การสร้าสรรค์

White ความบริสุทธิ์ – ความดี – ความดีพร้อม – ความเงียบสงบ – ความยุติธรรม

Red พลัง – อันตราย – สงคราม – อำนาจ

Purple ความหยั่งรู้ – ความทะเยอทะยาน – ความก้าวหน้า – คามสง่างาม – อำนาจ

Pink เป็นมิตร – ความรัก – ความโรแมนติก – ความเคารพ

Orange กำลัง – ความมีโชค – พลังชีวิต – การให้กำลังใจ – ความสุข

Light Yellow ปัญญา – ความฉลาด

Light Red ความรู้สึกดีใจ – เรื่องทางเพศรส – ความรู้สึกของความรัก

Light Purple เรื่องรักใคร่ – ความสงบ –

Light Green ความกลมกลืน – ความสงบ – สันติภาพ

Light Blue การหยั่งรู้ – โอกาส – ความเข้าใจ – ความอดทน – ความอ่อนโยน

Green ความอุดมสมบูรณ์ – การเติบโต – การกลับมาของมิตรภาพ

Gold สติปัญญา – ความร่ำรวย – ความสว่าง – ความสำเร็จ – โชคลาภ

Dark Yellow: การตักเตือน – การเจ็บป่วย – ความเสื่อม – ความอิจฉา

Dark Red ความโกรธ – ความรุนแรง – ความกล้าหาญ – กำลังใจ

Dark Purple ความสูงส่ง – ความปรารถนาอันแรงกล้า – ความหรูหรา

Dark Green ความทะเยอทะยาน – ความโลภ – ความริษยา

Dark Blue ความจริง – สัจธรรม – อำนาจ – ความรู้ – ความซื่อสัตย์ – การป้องกัน

Brown ความอดทน – ความมั่นคง

Blue สุขภาพ – ความเชื่อถือ – ไหวพริบ – จงรักภักดี – ความเลื่อมใส – ความถูกต้อง

Black ความลึกลับ – ความตาย – อำนาจ – พลัง – ความแรง – สิ่งชั่วร้าย – ความปราณีต

Aqua การป้องกัน – สุขภาพ