การจัดและการตกแต่งข้อความ

--------------------------------------------------------------

การกําหนดสีตัวอักษร

การกําหนดสีตัวอักษร สามารถกําหนดให้เป็นสีเดียวกันทั้งเว็บเพจ หรือกําหนดให้มีสีที่แตกต่างกันในเว็บเพจเดียวกันก็ได้
คําสั่งที่ใช้กําหนดสีตัวอักษร คือ <FONT COLOR=” ”> ข้อความ </FONT> ในการกําหนดสีตัวอักษรมี 2 แบบ คือ

1. กําหนดโดยระบุชื่อของสีนั้น

รูปแบบ <FONT COLOR="ระบุชื่อสีของสีนั้น"> ข้อความ </FONT>
เช่น <FONT COLOR="RED"> ข้อความนี้เป็นสีแดง </FONT>
<FONT COLOR="BLUE"> ข้อความนี้เป็นสีนํ้าเงิน </FONT>

2. กําหนดโดยระบุรหัสของสีนั้น

รูปแบบ <FONT COLOR="ระบุรหัสสีของสีนั้น"> ข้อความ </FONT>
เช่น <FONT COLOR="#FFA500"> ข้อความนี้สีส้ม </FONT>
<FONT COLOR="#800080"> ข้อความนี้สีม่วง </FONT> 

(***รหัสสีเพิ่มเติม***)

ตัวอย่างการใช้คําสั่ง

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกําหนดรูปแบบตัวอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<FONT COLOR="RED"> ข้อความนี้เป็นสีแดง </FONT>
</BODY>
</HTML> 

การใช้คําสั่ง HTML ทําพื้นหลัง

การทําพื้นหลังของ Webpage มี 2 แบบ คือ

1. การกําหนดพื้นหลังโดยใช้สี
2. การกําหนดพื้นหลังโดยใช้ภาพพื้นหลัง

1.  การกําหนดพื้นหลังโดยการกําหนดสี

ภาพพื้นหลังเป็นสิ่งที่ทําให้เว็บของเราดูสวยงามแต่ถ้าเราใช้ภาพพื้นหลังที่ไม่ดี อาจส่งผลเสียกับเว็บเราได้ ในบทความนี้จะเป็นตัวอย่างของการใส่พื้นหลังที่ดี และไม่ดี คําสั่งที่ใช้ในการกําหนดภาพพื้นหลังโดยกําหนดสี คือ <BODY BGCOLOR=” ”>

ในการกําหนดภาพพื้นหลัง โดยการกําหนดสี มี 3 แบบ คือ

1.1 กําหนดสีโดยใช้ ชื่อรหัสสี (hexadecimal number)
รูปแบบ <BODY BGCOLOR="#000000">
1.2 กําหนดสีโดยใช้ RGB value
รูปแบบ < BODY BGCOLOR ="rgb(0,0,0)">
1.3 กําหนดสีโดยใช้ชื่อของสีเอง
รูปแบบ < BODY BGCOLOR ="black"> 

(***รหัสสีเพิ่มเติม***)

ตัวอย่างการใช้คําสั่ง

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกําหนดสีพื้นหลังโดยการกําหนดสี</TITLE>
</HEAD>
<BODY BGCOLOR= "YELLOW" >การกําหนดสีพื้นหลังโดยการกําหนดสี
</BODY>
</HTML> 

2. การกําหนดภาพพื้นหลัง โดยใส่ภาพพื้นหลัง

คําสั่งที่ใช้ในการกําหนดภาพพื้นหลังโดยกําหนดสี คือ <BODY BACKGROUND=” ”> ในการกําหนดภาพพื้นหลัง โดยการกําหนดสี มี 2 แบบ คือ

1.  แบบกําหนดโดยใช้ชื่อไฟล์ภาพนั้น
รูปแบบ <BODY BACKGROUND=" ชื่อไฟล์ภาพ.jpg ">
เช่น <BODY BACKGROUND="logo.jpg">
2.  แบบกําหนดโดยใช้ URL ที่อ้างอิงที่อยู่ของภาพ
รูปแบบ <body background="ชื่อ URL นั้น">
เช่น <body background="http://www.hellomyweb.com/images/logo.jpg">

ข้อแนะนําในการใช้สีพื้นหลัง

ภาพพื้นหลังเป็นสิ่งที่ทําให้เว็บของเราดูดีขึ้น แต่เราต้องคํานึงถึงเรื่องต่อไปนี้ด้วย
1. การใส่ภาพพื้นหลังที่ใหญ่มาก จะทําให้เว็บของเราโหลดได้ช้าลง
2. การใส่ภาพพื้นหลังที่ไม่ดีจะทําให้อ่านข้อความได้ยาก
3. การใส่ภาพพื้นหลังอาจทําให้สับสนระหว่างภาพที่เราใช้สื่อความหมายกับภาพพื้นหลังได้
4. การใส่ภาพพื้นหลังทําให้ตัวอักษรอาจลดความเด่นชัดลงไป
5. การใส่ภาพพื้นหลังที่ไม่ดี ทําให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพลดลงไป 

การกําหนดพื้นหลังโดยการกําหนดรูปภาพ 

ตัวอย่างการใช้คําสั่ง 

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกําหนดพื้นหลังโดยการกําหนดรูปภาพ</TITLE>
</HEAD>
<BODY BACKGROUND=" ชื่อรูปภาพที่มีนามสกุลเป็น .jpg หรือ .gif ">การกําหนดพื้นหลังโดยการกําหนดรูปภาพ
</BODY>
</HTML> 


การใช้คําสั่ง HTML จัดตําแหน่งตัวอักษร

การใช้คําสั่งจัดตําแหน่งชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา การจัดย่อหน้า หรือการจัดพารากราฟ จะทําให้การแบ่งเนื้อหาเป็นสัดส่วน และดูง่ายโดยใช้ Tag<P>

มีรูปแบบดังนี้

LEFT จัดชิดซ้าย
CENTER จัดกึ่งกลาง
RIGHT จัดชิดขวา

รูปแบบคําสั่ง HTML ที่ใช้ในการจัดย่อหน้า

<P ALIGN=รูปแบบที่ต้องการจัด> ข้อมูลที่ต้องการจัด </P>

ตัวอย่างคําสั่ง

<P ALIGN=“left”>นี่คือข้อมูลที่จัดชิดซ้าย</P>
<P ALIGN=“center” >นี่คือข้อมูลที่จัดกึ่งกลาง</P>
<P ALIGN=“right” >นี่คือข้อมูลที่จัดชิดขวา</P> 

ตัวอย่างการใช้คําสั่ง 

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การจัดตําแหน่งข้อความ</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<p align="left">การจัดตําแหน่งชิดซ้าย</p><br>
<p align="center">การจัดตําแหน่งกึ่งกลาง</p><br>
<p align="right">การจัดตําแหน่งชิดขวา</p>
</BODY>
</HTML> 


การการกําหนดตัวอักษรเป็นหัวเรื่อง

1. กําหนดขนาดตัวอักษรเป็นหัวเรื่อง โดยการขยายฟ้อนต์ (Font Size)
การกําหนดขนาดตัวอักษร ถ้าไม่กําหนดขนาดให้เมื่อนําเอกสาร HTML ไปแสดงบนบราวเซอร์ ขนาดของตัวอักษรจะถูกกําหนดเป็นค่าพื้นฐาน หากต้องการกําหนดเอง ก็สามารถทําได้โดยขนาดของตัวอักษรจะมี 7 ขนาด คือ 1 – 7 โดยจะเรียงจากเล็กไปใหญ่
รูปแบบคําสั่ง HTML ในการกําหนดขนาดตัวอักษรโดยการขยายฟ้อนต์
<FONT SIZE=”ขนาดตัวอักษรที่ต้องการ”>ข้อความ</FONT>

ตัวอย่างคําสั่ง

<FONT SIZE=”7”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 7 </FONT><br>
<FONT SIZE=”6”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 6 </FONT><br>
<FONT SIZE=”5”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 5 </FONT><br>
<FONT SIZE=”4”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 4 </FONT><br>
<FONT SIZE=”3”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 3 </FONT><br>
<FONT SIZE=”2”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 2 </FONT><br>
<FONT SIZE=”1”>นี่คือขนาดตัวอักษรเท่ากับ 1 </FONT>

2. การกําหนดขนาดของหัวเรื่อง โดยใช้แท็ก Hn

การกําหนดตัวอักษรหัวเรื่อง กําหนดโดยใช้ Tag<hn> ซึ่งมีขนาด 1 – 6 โดยเรียงจากใหญ่ไปเล็กคําสั่ง h จะมีทั้งหมด 6 ลําดับด้วยกัน ไล่ตั้งแต่ h1,h2,h3,h4,h5,h6 ซึ่งขนาดของ h1จะใหญ่ที่สุดดังตัวอย่างที่แสดง โดยเราจะใช้กับตัวอักษรที่ต้องการให้เป็นหัวเรื่องเพื่อให้อักษรนั้นโดดเด่นขึ้นมา

รูปแบบคําสั่ง HTML ในการกําหนดตัวอักษรเป็นหัวเรื่อง

<Hn> ข้อความ </Hn>

หมายเหตุ: n คือ ตัวเลขที่ต้องการใส่
*** ในการจัดตําแหน่งข้อความของคําสั่ง Tag Hn ให้อยู่ตรงกลาง ใช้รูปแบบคําสั่งดังนี้

<CENTER> <Hn> ข้อความ </Hn></CENTER>

ตัวอย่างคําสั่ง

<h1>นี่คือขนาดหัวเรื่องเท่ากับ 1</h1><br>
<h2>นี่คือขนาดหัวเรื่องเท่ากับ 2</h2><br>
<h3>นี่คือขนาดหัวเรื่องเท่ากับ 3</h3><br>
<h4>นี่คือขนาดหัวเรื่องเท่ากับ 4</h4><br>
<h5>นี่คือขนาดหัวเรื่องเท่ากับ 5</h5><br>
<h6>นี่คือขนาดหัวเรื่องเท่ากับ 6</h6> 


การกําหนดฟ้อนต์

การกําหนดแบบตัวอักษร (Font)ในเอกสาร HTML ถ้าเราไม่ได้กําหนดแบบตัวอักษร เมื่อแสดงบนบราวเซอร์ จะแสดงตัวอักษรที่เป็น ค่าพื้นฐาน (Default) หากเราต้องการกําหนดแบบตัวอักษรเอกสามารถทําได้โดยใช้ Tag<font>

รูปแบบคําสั่ง HTML ในการกําหนดแบบตัวอักษร
<FONT FACE="ชื่อแบบตัวอักษรที่ใช้">ข้อความ</FONT>
ตัวอย่างคําสั่งการกําหนดแบบตัวอักษร (Font)

<FONT FACE =”AngsanaUPC”>แสดงตัวอักษรแบบ AngsanaUPC</FONT>
<FONT FACE =”CordiaUPC”>แสดงตัวอักษรแบบ CordiaUPC </FONT>
<FONT FACE =”BrowallaiUPC”>แสดงตัวอักษรแบบ BrowallaiUPC </FONT>

การกําหนดลักษณะและแบบของตัวอักษร

คําอธิบาย

<B>...</B> เป็นคําสั่งที่ใช้กําหนดรูปแบบตัวหนา
<I>...</I> เป็นคําสั่งที่ใช้กําหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวเอียง
<S>...</S> เป็นคําสั่งที่ใช้กําหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวขีดฆ่า
<U>...</U> เป็นคําสั่งที่ใช้กําหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวขีดเส้นใต้
<SUP>...</SUP> เป็นคําสั่งที่ใช้กําหนดรูปแบบตัวอักษรยกขึ้น (Super Script)
<SUB>...</SUB> เป็นคําสั่งที่ใช้กําหนดรูปแบบตัวอักษรห้อยลง (Sub Script)

การกําหนดตัวอักษรให้มีความหนา มีการเอน มีขีดเส้นใต้

ตัวอย่างการใช้คําสั่ง 

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกําหนดรูปแบบตัวอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<b>กําหนดตัวอักษรให้มีความหนา</b>
<i>กําหนดตัวอักษรให้มีการเอน</i>
<u>กําหนดตัวอักษรให้มีขีดเส้นใต้</u>
<b><i><u> กําหนดให้มีทุกแบบ </u></i></b>
</BODY>
</HTML> 

การกําหนดขนาดตัวอักษร

ตัวอย่างการใช้คําสั่ง 

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกําหนดรูปแบบตัวอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<font size=”5”> ตัวอักษรนี้เท่ากับขนาด 5 </font>
<font size=”6”> ตัวอักษรนี้เท่ากับขนาด 6 </font>
</BODY>
</HTML>
**** หมายเหตุ เราสามารถใช้คําสั่งกําหนดรูปแบบตัวอักษร หลายๆรูปแบบได้ เช่น
<FONT FACE ="CordiaUPC" size="7" color = "blue">ข้อความ</FONT>