ข้อมูลสถานศึกษา

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา


ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระที่สำคัญ ดังนี้

1.1 ข้อมูลพื้นเกี่ยวกับสถานศึกษา

   ที่อยู่ วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช 214 ม.1 ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80000

   โทรศัพท์ 075-531500  โทรสาร 075-531501

   E-mail nspc_College@hotmail.com  Website www.nkpc.ac.th

   ประวัติสถานศึกษา

   วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ที่ 214 หมู่ที่ 1 ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชรหัสไปรษณีย์ 80000 โทรศัพท์ 075 - 531500 โทรสาร. 075 - 501500

เดิมชื่อโรงเรียนสารพัดช่างนครศรีธรรมราช ประกาศจัดตั้งวันที่ 22 มกราคม 2531 ซึ่งมี นายอำนาจ เต็มสงสัย เป็นผู้ประสานงานก่อตั้งและเป็นผู้บริหารคนแรก เปิดสอนครั้งแรกในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2533 โดยใช้สถานที่ (ชั่วคราว) ภายในโรงเรียนอำมาตย์ - พิทยานุสรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนของ อาจารย์สมบูรณ์ ภารพบ

พ.ศ.2535 ได้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 1 ตำบลปากพูน ในพื้นที่ 11 ไร่ 2 งาน 2.70 ตารางวา โดยการบริจาคของนางเคล้า ผลาวรรณ และนายคล้อย นางจริยา บุญสิน ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2535 พร้อมกับโรงเรียนสารพัดช่างอื่นๆ ทั่วประเทศ

วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช มีผู้บริหารตราบถึงปัจจุบัน 12 ท่าน เรียงตามลำดับดังนี้

1. นายอำนาจ เต็มสงสัย พ.ศ.2531 - 2534

2. นายณรงค์ แก่นแท่น พ.ศ.2534 - 2537

3. นายสมหมาย พลเดช พ.ศ.2537 - 2539

4. นางรอยพิมพ์ใจ เพชรกุล พ.ศ.2539 - 2541

5. นายประเสริฐ ชูแสง พ.ศ.2541 - 2542

6. นายบุญสม พึ่งปาน พ.ศ.2542 - 2547

7. นางพงศ์ทิพย์ รัตนวิชา พ.ศ.2547 - 2550

8. นายมาโนชญ์ เนาว์สินธ์ พ.ศ.2550 - 2551

9. นายสุรศักดิ์ รอดสุวรรณน้อย พ.ศ.2551 - 2556

10. นายสมบูรณ์ ชดช้อย พ.ศ.2556 - 2561

11. นายสายันต์ แสงสุริยันต์ พ.ศ.2561 – 2563

12. นายสุรศักดิ์ นาคาลักษณ์ พ.ศ.2563 – ปัจจุบัน

  

1.2 การจัดการศึกษา

   วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราชเริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีการศึกษา 2537 และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีการศึกษา 2543 ปัจจุบันเปิดสอนสาขาวิชาชีพดังนี้

1.2.1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

1.2.1.1 สาขางานยานยนต์ (ระบบปกติและทวิภาคี)

1.2.2.2 สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ระบบปกติรวมทั้งผู้ด้อยโอกาสและทวิภาคี)

1.3.2.3 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบปกติ)

1.4.2.4 สาขางานการขาย (ระบบทวิภาคี)

1.5.2.5 สาขางานบัญชี (ระบบปกติ)

1.6.2.6 สาขางานการโรงแรม (ระบบปกติ)

1.7.2.7 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ระบบทวิภาคี)

1.2.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

1.2.2.1 สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ระบบทวิภาคี)

1.2.2.2 สาขางานไฟฟ้า (ระบบทวิภาคี)

1.2.2.3 สาขางานคอมพิวเตอร์ฮาร์แวร์ (ระบบทวิภาคี)

1.2.2.4 สาขงานการบัญชี (ระบบทวิภาคี)

1.2.2.5 สาขางานธุรกิจปลีกทั่วไป (ระบบทวิภาคี)

1.2.2.6 สาขางานบริการอาหารและเครื่องดื่ม (ระบบทวิภาคี)

1.2.3 หลักสูตรระยะสั้น

1.2.3.1 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม

1.2.3.2 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

1.2.3.3 ประเภทวิชาศิลปกรรม

1.2.3.4 ประเภทวิชาคหกรรมศาสตร์

  1.3 สภาพชุมชน

   ตำบลปากพูน ในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำจากอ่าวไทยเข้ามายังใจกลางเมืองนครศรีธรรมราช เดิมชื่อ "ปากน้ำปากพูน" กลุ่มคนที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมมีทั้งชาวไทยและมุสลิม โดยชาวมุสลิมอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ส่วนใหญ่เดินทางมาจากหนองจอก ส่วนคนไทยบางส่วนอพยพมาจากเมืองเพชรบุรี มีชุมชนที่สำคัญในอดีต คือ "ชุมชนโมคลาน" ตำบลปากพูนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านไสม่วงหัส หมู่ที่ 2 บ้านดอนทะเล หมู่ที่ 3 บ้านสักงาม หมู่ที่ 4 บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 5 บ้านแสงจันทร์ หมู่ที่ 6 บ้านท่าเตียน หมู่ที่ 7 บ้านบ่อโพธิ์ หมู่ที่ 8 บ้านปากพูน หมู่ที่ 9 บ้านตลาดพฤหัสฯ หมู่ที่ 10 บ้านศาลาบางปู หมู่ที่ 11 บ้านปากพยิง หมู่ที่ 12 บ้านปากน้ำเก่

1.4 สภาพทั่วไปของตำบล

มีเนื้อที่ทั้งหมด 69.34 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,335 ไร่ ภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ลักษณะเป็นดินทราย เทศบาลเมืองปากพูน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

1.5 อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดกับ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ทิศใต้ ติดกับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันออก ติดกับ อ่าวไทย

ทิศตะวันตก ติดกับ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

1.6 จำนวนประชากรของตำบล

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองปากพูน จำนวน 32,398 คน และจำนวนหลังคาเรือน 11,202 ครัวเรือน มีความหนาแน่น 467.23 คนต่อตารางกิโลเมตร

   1.7 สภาพเศรษฐกิจ

   อาชีพหลัก การประมง ทำสวน ทำนา

อาชีพเสริม ก่อสร้าง รับจ้างทั่วไป ทำหนังตะลุง

   1.8 สภาพสังคม

   การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วผ่านทางโลกเสมือนจริงทำให้ผู้คนมีความรู้มากขึ้น เกิดเครือข่ายทางสังคมในโลกเสมือนจริงซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตมากขึ้นทุกขณะ อีกทั้งเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย แต่การปฏิสัมพันธ์ในโลกแห่งความเป็นจริงมีน้อยลง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จะมีการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการสื่อสารได้อย่างสะดวกรวดเร็วทุกที่ทุกเวลา สำหรับคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและไม่สามารถเลือกสิ่งดี ๆ ได้ด้วยตนเอง จะเป็นกลุ่มที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ประกอบกับหากพ่อแม่ไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงโลกเสมือนจริง จะมองกิจกรรมที่เด็กเข้าไปร่วมออนไลน์ในทางลบเท่านั้น ทำให้เกิดช่องว่างครอบครัว และเกิดความเหลื่อมล่ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี