การดูแลผู้ป่วยอัมพาต

ระยะอ่อนแรง

อัมพาตประเภทต่างๆ

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

หมายถึง ผู้ป่วยที่มีภาวะการอ่อนแรงจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองหรือเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจากการแตกตีบตันของหลอดเลือดหรืออุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนทางสมอง

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน

หมายถึง ผู้ป่วยที่มีภาวะการอ่อนแรงของขาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการบาดเจ็บของไขสันหลังตั้ง แต่ระดับอกลงมาจากการตกจากที่สูงอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือการถูกยิงแทงหรือมีเนื้องอกที่ไขสันหลังเป็นต้น

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งตัว

หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของแขนขาทั้งสองข้างสาเหตุเช่นเดียวกับอัมพาตครึ่งท่อน แต่จะระดับสูงกว่าคือเป็นตั้งแต่ระดับคอลงมา

การสังเกตอาการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ใบหน้าเบี้ยวหรืออ่อนแรง

แขนขาชาหรืออ่อนแรง

พูดไม่ชัด หรือ พูดไม่ได้

หากพบอาการให้รักษาภายใน 4 ชั่วโมง

ปัญหาที่พบในระยะแรก

คือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับแขนขาหรือช่วยตนเองได้จึงเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังตามมา

การเกิดแผลกดทับ

เกิดจาก

การกดทับเป็นเวลานาน ทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์ตายจากการขาดเลือด

แผลกดทับมี 4 ระยะ

ระยะ1 : ผิวหนังจะเป็นรอยแดงถาวร กดแล้วรอยแดงไม่จาง

ระยะ2 : แผลจะลึกขึ้น พื้นแผลแดง และอาจผิวหนังพองเป็นตุ่มใส

ระยะ3 : แผลจะลึกถึงชั้นใต้ผิวหนังและแผลเริ่มเป็นโพรง

ระยะ4 : ผิวหนังถูกทำลายลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หากเกิดการยึดติดของข้อต่อและการหดรั้งของกล้ามเนื้อนานๆ จะทำให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อจนแก้ไขไม่ได้

อาการเกร็งของแขนขา

เกิดจาก

การทำงานของกล้ามเนื้อเริ่มมีการฟื้นตัว ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวมากขึ้น

ข้อดีของการเกร็ง

  1. หากมีอาการเกร็งไม่มาก จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีการฝ่อลีบช้าลง

  2. ช่วยลดการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันได้

ข้อเสียของการเกร็ง

  1. หากมีการเกร็งมาก จะทำให้มีอาการปวด ขยับแขนขาลำบาก

  2. หากมีการเกร็ง เป็นเวลานาน จะทำให้ข้อติดได้


การป้องกันภาวะแทรกซ้อน

  1. การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

  • ดูแลพลิกตะแคงตัว : เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชม.

  • จัดท่าทางกานนอนที่เหมาะสม :

ท่านอนหงาย : จัดระดับศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา หมอนสอดรองใต้เข่า

ท่านอนตะแคง : งอสะโพก 30 องศา ใช้หมอนรองตามปุ่มกระดูกและใบหู

ท่านอนคว่ำ : ท่านี้จะช่วยในการเหยียดข้อสะโพกและข้อเข่า ควรค่อยๆฝึก ครั้งละ ประมาน 10 นาที่ ความถี่ 3-4 ครั้งต่อวัน

  • จัดท่าทางของมือ : ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 ผืน ม้วนกลม ให้ผู้ป่วยกำไว้ เพื่อประคองข้อมือและนิ้วมือไม่ให้หนีบเข้าหากัน

  • ขณะนั่งเก้าอี้หรือรถเข็น : ผู้ป่วยขยับตัวขึ้นหรือยกก้นลอยพื้นทุก 30 นาที ถึง 1 ชม. และกระตุ้นให้เกิดการถ่ายน้ำหนักตัว เพื่อเปลี่ยนบริเวณที่ลงน้ำหนัก

  • มีเบาะรองก้นที่ทำจากเจล โฟม ลม น้ำ

  • ใช้ที่นอนลม หรือที่นอนไฟฟ้า เพื่อลดแรงกดทับ

  1. การป้องกันการเกร็งของแขนขา

  • เคลื่อนไหวหรือขยับ ข้อต่ออย่างสม่ำเสมอ

  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย

  • หากมีการเกร็งมาก ควรปรึกษาแพทย์ รักษาโดยการรับประทานยาหรือฉีดยา

จัดท่าในอัมพาตครึ่งซีก

ท่านอนหงาย

การจัดแขนและ

มือข้างอัมพาต

ท่านอนตะแคงทับข้างดี

ท่านอนตะแคงทับข้างอัมพาต

<<< ควรพลิกตัวเพื่อเปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมงหรือเมื่อมีผื่นแดง >>>

อัมพาตครึ่งท่อน

ท่านอนหงาย


ท่านอนตะแคง


การเคลื่อนไหวข้อต่อ โดยญาติ / ผู้ดูแล

เพื่อป้องกันการยึดติดของข้อต่อ การหดรั้งของกล้ามเนื้อ การเกร็งของกล้ามเนื้อและการเกิดการบวมของแขนและขา

ข้อควรปฏิบัติ

1. ควรทำอย่างช้าๆนิ่มนวลต่อเนื่องกันท่าละ 10-20 ครั้งวันละ 2 รอบ

2. ควรถามอาการเจ็บปวด / ดูสีหน้าเพราะความเจ็บปวดจะกระตุ้นการเกร็งต้านได้

3. ควรทำให้สุดช่วงของการเคลื่อนไหวในแต่ละท่า