ประวัติวัดหมื่นเงินกอง

ประวัติวัดหมื่นเงินกอง

วัดหมื่นเงินกอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากือนา (พ.ศ.1882-1916) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งในราชวงศ์มังราย "หมื่นเงินกอง" เป็นชื่อของมหาอำมาตย์ตำแหน่ง "ขุนคลัง" ท่านหนึ่งในรัชกาลพระเจ้ากือนา เป็นที่เข้าใจกันว่า มหาอำมาตย์หมื่นเงินกอง หรือ ทิดเมธัง ผู้สร้างวัดเมธัง และ วัดช่างลาน เป็นผู้สร้างวัด "หมื่น เงินกอง" เพื่อเป็นอนุสรณ์ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ตนเองได้รับ ต่อมาชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดมะยมกอง แต่ก็มีชื่อที่รู้จักกันทั่วไปว่า วัดหมื่นเงินกอง ตราบเท่าทุกวันนี้

ประวัติสร้างวิหาร

วิหาร วัดหมื่นเงินกอง เป็นวิหารโบราณกึ่งตึกกึ่งไม้ จะสร้างมานานเพียงไหน ใครเป็นนายช่าง ไม่ปรากฏประวัติ เข้าใจกันว่ามหาอำมาตย์หมื่นเงินกอง และ ภริยาลูกหลานเป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระเจ้ากือนา

ต่อมาในปี พ.ศ.2502 พระ ครูศีลสังวร เจ้าอาวาสขณะนั้น พร้อมทั้งศรัทธาร่วมกันบูรณะ โดยมีนายสม ฤทธิ์ปัญจะ นายคำแสน อุปวรรณ์ นายพวง สุภาราษฏร์ นายตั๋น แก้วมูล เป็นนายช่าง ใช้เวลาบูรณะ 3 เดือน ก็แล้วเสร็จ

ปี พ.ศ. 2532 พระครูมงคลสิริวงศ์ เจ้าอาวาสพร้อมคณะกรรมการวัดได้พิจารณาเห็นว่า วิหารได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก ควรได้รับการบูรณะอย่างใหญ่หลวง
วัน ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532ได้ เริ่มประกอบพิธีบูรณะปฏิสังขรณ์ มีนายดวงดี ฤทธิ์ปัญจะ นายบญศรี ณ.เชียงใหม่ นายสุรสิทธิ์ อินต๊ะวัง นายประสิทธิ์ เพียรผล นายหนิด ขันหาญ พร้อมคณะ เป็นนายช่าง

มี นางสมศรี วังทองคำ นางตวงรัตน์ โกเมศ ร.อ.อ.สุขุม สิงคาลวณิชย์ นางเหรียญ+นางฉลวย สมบัติสุข นางจันทรา โพธิมา และ คณะศรัทธาทุกคนอุปถัมภ์

ทำพิธียกช่อฟ้า วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2535 มีพระธรรมปัญญาบดี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธาน

ปอยหลวงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2535

สิ้นทุนทรัพย์ 3,000,000 บาท (สามล้านบาท)

รวมบูรณะ 3 ปี 1 เดือน 27 วัน

วิหารวัดหมื่นเงินกอง

สาระน่ารู้

วิหารวัดหมื่นเงินกองมีวิหารเป็นทรงล้านนาหอคำหลวง.....ซึ่งใน....จังหวัดเชียงใหม่วัดที่มีวิหารล้านนาหอคำหลวงมีอีกไม่กี่วัด วัดหมื่นเงินกองจึงถือเป็นอีกหนึ่งวัดในจังหวัดเชียงใหม่


ที่วัดหมื่นเงินกองแวะสักการะพระพุทธไสยาสน์ เพราะเชื่อกันว่าเป็นองค์เดียวกับที่วัดหมื่นเงินกอง โดยตั้งจิตอธิษฐานขณะที่สูญเสียทรัพย์ไป กระทั่งได้ทรัพย์กลับคืนมา จึงถือเป็นเหตุการณ์มงคลสำหรับผู้ที่อาจมีปัญหาทางด้านทรัพย์สินทางการเงิน




วิหาร โครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องบ้านแบบโบราณ สังเกตได้จากการเข้าไม้แบบล้านนาโบราณจะไม่ใช้ตะปู แต่จะใช้ไม้แทน และไม้ก็จะใช้ไม้เนื้อแข็งภายในวิหารด้านบนเพดานเขียนลายคำ

ภาพหนังสือประวัติวัดหมื่นเงินกอง