ทำธุง
ธุง (ทุง) ภาษาอีสาน ตุง ภาษาล้านนา คำว่า ตุงอีสาน อาจสะท้อนถึงอิทธิพลวัฒนธรรมการเรียกตาม ภาษาถิ่น ล้านนา ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ในปัจจุบันมีการใช้ทุง และธุงใยแมงมุม หรือแม้แต่ตุงล้านนา ในการแขวนตามงานบุญประเพณีต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูการสร้างสรรค์งาน ธุง อีสาน อันมีอยู่แล้วตามแต่ละท้องถิ่นรวมไปถึงการใช้ ธุง อีสานให้เหมาะสมตามจารีตประเพณี และปัจจุบันได้มีการนำมาประยุกต์ การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น ของที่ระลึกของฝาก ของชำร่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับตนเองครอบครัว และการสร้างอาชีพให้กับชุมชน และสามารถสืบสานความรู้ ภูมิปัญญาแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
ชุมชนตำบลโคกสะอาด บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๑๑ เล็งเห็นความสำคัญในการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพ เพื่อการมีงานทำ กำหนดหลักการไว้ดังนี้ เป็นการเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ ๕ ด้าน ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพภูมิประเทศ และทำเล ที่ตั้ง ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ มุ่งให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่วถึง สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มันคง มั่งคั่ง และยังยืนในอาชีพ ส่งเสริมให้มีความรู้และประสบการณ์ มีทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการทำธุง อีสาน และกระบวนการจัดจำหน่าย เพื่อให้มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดสังคม และชุมชนที่เข้มแข็ง