ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา

ชื่อ ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา

ชุมชน บ้านเหล่าสำราญ หมู่ที่ 8 ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

บ้านเหล่าสำราญ หมู่ที่ 8 เดิมมีชื่อว่า “บ้านโนนสวรรค์แก้ว”มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน สันนิษฐานว่าก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2406 หรือ 152 ปีที่แล้ว โดยการนำของนายขุ่นศักดิ์ดา ธงยศ โดยมีการชักชวนเพื่อนในหมู่บ้านออกมาตั้งบ้านเรือนตามไร่นาของตนเอง ปี พ.ศ.2544 ได้เปลี่ยนชื่อ จาก“บ้านเหล่าตาเปียก”เป็นบ้านเหล่าสำราญ เนื่องจากคำไม่สุภาพ และในปี พ.ศ.2547 ได้มีการก่อตั้งศาลปู่ตา “ศาลปู่อ่าง” สำหรับทำพิธีกรรม ทางความเชื่อของหมู่บ้าน เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ความเชื่อเรื่องการเลี้ยงผีปู่ตา ที่เป็นศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีที่ชาวบ้านเหล่าสำราญ หมู่ 8 ได้ทำขึ้น ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ก่อนงานบุญมหาชาติของตำบลโพนทอง มาจากความเชื่อและศรัทธาของชาวบ้าน ว่าการเลี้ยงปู่ตา จะช่วยให้หมู่บ้านนั้น ปู่ตาจะช่วยปกป้อง คุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นความสุข จะทำการสิ่งใดก็อุดมสมบูรณ์ ไม่ติดขัด ราบรื่น การทำนา ฝนจะตกดี ทำสวนจะได้ผลผลิตดี โดย จะมีการลงมติในการสมทบจัดหาเครื่องเซ่นไหว้ ซื้ออาหารและเครื่องทำสักการะในพิธีเลี้ยงผีปู่ตาที่ใช้ในการเลี้ยงปู่ตา มี เนื้อวัว ซึ่งชาวบ้านจะนำไปก้อย ที่เรียกว่าก้อยเนื้อวัว และลาบเลือด และมีไก่ต้ม 1 ตัว เหล้าขาว 1 ขวด พานดอกไม้ ยาสูบ รวมทั้งอาหารหวาน คาว ถวายเป็นเครื่องสักระปู่ตา (ที่ศาลปู่อ่าง) บ้านเหล่าสำราญ

พิธีเลี้ยงผีปู่ตา คนที่พาทำพิธีจะเรียกว่า “ เจ้าจ้ำ ” เป็นผู้ที่สื่อสารระหว่างปู่ตากับผู้คนในชุมชน เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่ได้ สืบต่อกันมา

ผู้ให้ข้อมูล นายหรรษา มิสงอน ผู้ใหญ่บ้านเหล่าสำราญ หมู่ที่ 8 ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

นางสาวนิดหน่อย ศรียะวงษ์ ครูอาสาสมัครประจำตำบล

ผู้เรียบเรียง นางสาวรัศมี มาแพง