เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วย มีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน

ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรม ไว้ ๔ นัย ดังนี้คือ

1. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ

2. วิถีชีวิตของหมู่คณะ

3. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน

4. พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

ในเอกสารของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แสดงความหมายของวัฒนธรรมไว้ต่างกัน เช่น

วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและชาบชึ้งร่วมกันยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ

วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมมีทั้งสาระและรูปแบบที่เป็นระบบความคิด วิธีการ โครงสร้างของสังคม สถาบัน ตลอดจนแบบแผนและทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์ลาว ซึ่งร่วมถึงชาวลาวอีสานที่ปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็น เอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติด ารงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ ได้แก่ ฮีต คือคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดีและ สิบสอง หมายถึง สิบสองเดือน ดังนั้นฮีตสิบสองจึงหมายถึง ประเพณีที่ชาวลาวในภาคอีสานและประเทศลาวปฏิบัติกันมาในโอกาสต่างๆทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา นักปราชญ์ โบราณได้วางฮีตสิบสองไว้ดังนี้

เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม

เดือนยี่ - บุญคูณลาน

เดือนสาม - บุญข้าวจี่

เดือนสี่ - บุญผะเหวด

เดือนห้า - บุญสงกรานต์

เดือนหก - บุญบั้งไฟ

เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ

เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา

เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน

เดือนสิบ - บุญข้าวสาก

เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา

เดือนสิบสอง – บุญกฐิน