การสานเข่งปลาทู

กลุ่มสานเข่งปลาทู หมู่ที่ 2 บ้านโคกสว่าง ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มจักสานเข่งปลาทู เริ่มจัดตั้งประมาณปลายปี 2557 จากทุนเดิมทางสังคมที่สมัยก่อน ปู่ ย่า ตา ยายได้จักสานของใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต โดยนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการจักสานจนก่อให้เกิดงานอาชีพสืบต่อมาเป็นภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน ปลายปี 2554 เริ่มมีพ่อค้ามาบอกให้ชาวบ้านสานเข่งปลาทูให้ แต่ชาวบ้านเขาสานไม่เป็นก็เลยมาการสอนวิธีสานเข่งปลาทูให้ชาวบ้าน พร้อมกับรับซื้อจากชาวบ้าน เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว จึงได้มีการจักตั้งกลุ่มสานเข่งปลาทูขึ้นในเริ่มแรกสมาชิก 30 คน การสานเข่งปลาทูจะผลิตในรูปอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยซื้อไม้ไผ่จากพ่อค้าคนกลาง แล้วนำมาสานเป็นรูปแบบตามที่ตลาดต้องการ เมื่อผลิตเรียบร้อยแล้วจึงขายให้แก่พ่อค้าเพื่อขายให้ผู้ประกอบการค้าปลาทูนึ่ง เป็นแหล่งการศึกษาเรียนรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน ด้านการจักสานไม้ไผ่ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้จากการทำหัตถกรรมจากไม้ไผ่ได้


ขั้นตอนการผลิต

1.นำไม้ไผ่มาตัดเป็นปล้อง ยาว 30x4 ซม. ใช้มีดถากให้แบน หรือ เข้าเครื่องปั่นขอบ

2.นำไม้ขอบมาวาง ทับกัน 1 นิ้ว ดัดให้โค้ง เพื่อทำเป็นขอบวงนอกของเข่ง

3.นำตอกยาว 25 x1 ซม. 18 เส้น มาสานแผ่น 6 เหลี่ยม ส่วนเส้นกลางเรียก ไม้ขัดจะแข็งกว่ายาว 12 ซม. ใช้ 3 อัน

4.นำแผ่นตอกสานมาปั๊มกับแม่แบบเพื่อเข้าขอบรูปวงกลม เพื่อให้ตอกสานเข้ารูปเป็นวงกลม เพื่อง่ายต่อการเย็บเข่ง

5 .นำแผ่นตอกสานมาสวมขอบเข่งที่ทำไว้แล้ว และใช้ไม้อัดเข้ารูปวงกลมอัดแผ่นตอกสานให้สนิท

6.ใช้กรรไกรตัดแผ่นที่เลยจากขอบให้เรียบ และสวยงามจะได้ลายตอกสานพอดีกับขอบเข่งและนำมายึดติดขอบเพื่อยึดตอกสานกับขอบเข่ง

7.ทำขอบในโดยนำขอบเข่งที่ยังไม่ติดขอบมาต่อกันในขอบวงใน

8 . ใช้แบบรูปวงกลมตัวในกดทับให้สนิท จะได้เข่งปลาทูที่แข็งแรง จากนั้นนำไปตากแดด เพื่อที่จะทำให้เข่งปลาทูมัดง่ายและก็แน่นมากขึ้น

ผู้เขียน นายภาคภูมิ คำพันธุ์

ผู้ถ่ายภาพ นายภาคภูมิ คำพันธุ์