ดอนปู่ตา



ตำนานและที่มาของดอนปู่ตา

การตั้งชื่อบ้านหรือนามบ้านในชุมชนอีสานจะยึดธรรมชาติเป็นสำคัญ เช่น โพน โนน หนอง เลิง ห้วย และกุด เป็นต้นคำว่า “กุด” หมายถึง สายน้ำที่เปลี่ยนทิศทางเดินจนเกิดเป็นแอ่งหรือหนองคำว่า “รัง” หมายถึง “ฮัง” ในภาษาอีสาน หมายถึง ที่อยู่ที่อาศัยซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับสัตว์ถ้าเป็น “กุดรัง” หนองน้ำที่มีรังอยู่

ตำนานเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เจ้าเมืองท่า (ท่าขอนยาง) มีธิดาสาวที่มีโฉมงดงามพระองค์หนึ่ง เป็นที่รักและโปรดปรานของเจ้าเมืองมาก และธิดาองค์นี้ทรงโปรดปรานจระเข้เป็นพิเศษจนกระทั้งเจ้าเมืองได้แสวงหาจระเข้มาเลี้ยงไว้ในสระหลวง เพื่อให้ธิดาหยอกล้อและเล่นน้ำเป็นเพื่อนโดยการขี่หลังตระเวนไปตามสระรอบๆเมืองอยู่เสมอๆ

อยู่มาวันหนึ่งขณะที่พระธิดาเจ้าเมืองท่า หยอกล้อกับจระเข้ จระเข้โกรธให้ จึงคาบเอานางไปกินในน้ำลึก แล้วจระเข้ตัวนั้นก็หนีไป เมื่อท่านเจ้าเมืองทราบข่าวก็รู้สึกเสียพระทัยและโกรธเป็นอันมาก จึงได้ประกาศหาหมอปราบจระเข้นี้ให้ได้ จระเข้ตัวนั้นได้หนีมาบึงใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองที่พบเห็นจระเข้ตัวนี้และได้กลิ่นเหม็นสาบ หรือ “กุย” จระเข้ตัวนี้อย่างมากเลยให้ชื่อบึงแห่งนี้ว่า “บึงกุย” ปัจจุบันอยู่ทิศตะวันออกของอำเภอโกสุมพิสัย อย่างไรก็ตามหมอปราบจระเข้ก็ไม่สามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้ จึงติดตามไปเรื่อยๆและได้พบกับ “ขี้” (มูลของจระเข้) ที่บริเวณห้วยแห่งหนึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกห้วยแหล่งนี้ว่า “ห้วยขี้เหล็ก”(“แข้” หมายถึง จระเข้ เป็นภาษาอีสาน) แต่ก็ยังไม่จระเข้ตัวนั้น จนกระทั่งพวกหมอปราบจระเข้ตามมาทันที่ ปัจจุบันคือหมู่บ้าน “ทัน” อยู่ในเขตอำเภอโกสุมพิสัย (เพราะตามมาทันที่นั้นแต่ยังฆ่ามิได้)

การปราบจระเข้ก็ไม่ลดละความพยายามได้ตามมาที่ห้วยแห่งหนึ่ง ได้ขับไล่จระเข้ตัวนั้นจนกระทั้งลำห้วยนั้น “แปน” (โล่งเตียน) และเรียกหนองแห่งนั้นหนองแปน จนกระทั่งปัจจุบันต่อมาพวกหมอจระเข้ได้ตามมาถึงกุดแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่พบจระเข้ตัวนั้น คงพบแต่รังของจระเข้ซึ่งอยู่บริเวณกุดแห่งนั้น จึงได้เรียกกุดแห่งนั้นว่า “กุดฮัง” (ภาษากลางเรียกว่ารัง) ซึ่งเป็นนามตั้งบ้านกุดรัง กุดแห่งนี้อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ตั้งหมู่บ้าน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามพวกหมอปราบจระเข้ก็ไม่ลดละฆ่าจระเข้ตัวนี้ให้ได้ แต่ก็ไม่สามารถฆ่าได้มิหนำซ้ำยังถูกจระเข้กัดตายอีก จนกระทั่งเจ้าเมืองท่าต้องไปตามหมอปราบจระเข้จากบ้านสามหมอ จังหวัดชัยภูมิ มาปราบ ซึ่งหมอปราบ 2 ท่านแรกที่เป็นชายต้องตายเพราะสู้แรงจระเข้ตัวนี้ไม่ไหว แต่หมอปราบคนที่ 3 เป็นหญิงที่ฉลาด จึงได้คิดกลอุบายที่จะปราบจระเข้ตัวนี้ และได้ส่งให้ช่างตีเหล็ก ตีเหล็กง่ามสองง่ามผิวข้างนอกของง่ามทำเป็นฟันปลา เพื่อที่ว่าจระเข้อ้าปาก จะเอาง่ามเหล็กนี้เข้าไปในปากของจระเข้ เมื่อจระเข้รู้ว่ามีอะไรอยู่ในปากมันจะรีบหุบปากมันทันที แล้วง่ามก็ติดค้างอยู่ที่ปากไม่สามารถถอนออกได้เพราะผิวง่ามด้านนอกเป็นฟันปลา จระเข้จึงตายตั้งแต่นั้นมา(ทุกวันที่ 20 เมษายน ของทุกปี) เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2517เป็นต้นมาเมื่อถึงเดือนหกของทุกๆปี ชาวบ้านหลายๆ หมู่บ้านในตำบลกุดรัง

(ซึ่งสมัยนั้นยังไม่ได้แบ่งเป็นตำบลนาโพธิ์,ห้วยเตย,เลิงแฝก,และหนองแวง) จะมาเข้าร่วมพิธีกรรมกันที่กู่กุดรัง เป็นจำนวนมาก รวมทั้งหนุ่มสาวจะรอวันนี้เพื่อจะมาพบปะหน้ากัน (ภาษาอีสานเรียกว่าจีบสาว)เพื่อที่จะได้ร่วมกันละเล่นกิจกรรมพื้นบ้านและเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517

จึงได้มีการบูรณสถาน อันเชิญพระประธานถ้าสังเกตบริเวณกุดรังจะมีศาล 2 หลัง ซึ่งศาล 2 หลังนั้นสำคัญอย่างยิ่งในการจะอัญเชิญพระประธาน เป็นของศาลเพียงตา ศาลเพียงตานั้น เป็นการเชิญด้านดิน ฟ้า อากาศ มาอยู่ที่ศาล ถึงจะหล่อพระประธานได้ การหล่อพระประธานได้ ต้องมีการหล่อพระประกุดก่อน(เป็นคำเชิญ) คำว่าพระประกุดนั้นเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก ท่านจะอยู่ที่หอกลางน้ำ ต้องขออัญเชิญท่านออกจากน้ำเพื่อมาปราบมาร (มารที่จะมาบังเบียด) ปราบโดยเนรมิตซากหมาเน่าแขวนคอมาร เพื่อที่อย่าได้มาบังเบียด


ในการจัดงานครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าจะทำอะไรก็ตาม งานขึ้นบ้านใหม่, ทำบุญต่างๆ ก็จะเชิญพระประกุดก่อนเสมอ (ซึ่งมีภาษาบาลีเป็นคำกล่าว) จากนั้นจึงได้หล่อพระประธาน หรือที่เรียกกันว่า “เจ้าปู่กุดรัง” ขึ้นเมื่อ วันที่ 6 ตุลาคม 2517 ซึ่งปัจจุบันนี้ประชาชนชาวตำบลกุดรัง จะใช้สถานที่นี้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของประเพณีหมู่บ้านทุกปี