ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กระเป๋าเตยหนาม

กระเป๋าเตยหนามเป็นการรวมกลุ่มแม่บ้านบ้านบาโง โดยมีนางสาวกาย๊ะ สี่สตางค์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันให้มีการสานกระเป๋าจากเตยหนามเพื่อหารายได้เสริมให้กับกลุ่ม จนได้มีโอกาสในการฝึกวิชาชีพระยะสั้นกับทางกศน.ซึ่งทาง กศน.ได้มาเปิดเรียนวิชาชีพจึงได้ฝึกฝน จนชำนาญและมีการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน เมื่อฝึกฝนจนชำนาญและก็ได้มีโอกาสในการเป็นวิทยากรสอนให้กับกลุ่มสตรีในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย โดย มารวมตัวเป็นกลุ่มสมาชิกที่ปัจจุบันมาสมาชิก 15 คนได้ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับกลุ่มสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากผลกระทบของเหตุการณ์ความรุนแรงตามที่ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับด้วยวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวนยางพาราเป็นทุนเดิม ทำให้ไม่มีเวลามากนักที่จะนัดพบรวมตัว กระทั่งเกิดแนวคิดนำใบเตยหนามมาแปรสภาพจากเครื่องจักสานที่ส่วนใหญ่นำมาสานทำเสื่อและของใช้ภายในบ้านซึ่งเป็นชิ้นงานที่เห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานที่มีมูลค่าสร้างรายได้ให้ครอบครัวโดยไม่ต้องลงทุนมากมาย จนในที่สุดตัดสินใจทดลองนำมาผลิตเป็นสินค้าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื่อ กระเป๋า หมวก กล่องใส่ทิชชูและของที่ระลึกต่างๆ ฯลฯ จนท้ายที่สุดได้ค้นพบว่าใบเตยมีคุณสมบัติเส้นใยเหนียวนุ่มเหมาะแก่การนำมาถักสานเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในรูปแบบของกระเป๋าสามารถทำออกมาได้ดีที่สุด

ทุกชิ้นงานที่ผลิตออกมาล้วนเป็นงานแฮนเมด 100% ปัจจุบันเราผลิตกระเป๋าเพียงอย่างเดียวเฉลี่ยประมาณ 30-50 ชิ้นต่อเดือน โดยมีราคาตั้งแต่ 400-1,000 บาทขึ้นอยู่กับความยากง่ายของรูปแบบและลวดลายของกระเป๋าซึ่งมีให้เลือก 4 แบบหลัก คือกระเป๋าทรงกลม ยาวเหลี่ยมและทรงรี โดยเฉพาะกระเป๋าทรงรีที่กำลังได้รับความนิยมจากกลุ่มสตรีวัยทำงานทั่วไป"

ก๊ะย๊ะ กล่าวจากการลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 1ปี ทำให้ได้เรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการผลิตและการจัดระบบการทำงานไปด้วยในตัว ปัจจุบัน "ก๊ะย๊ะ" จึงมีการแบ่งระบบการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ แผนกตัดต้นเตย แผนกจักสาร แผนกตัดเย็บ และแผนกจัดจำหน่าย ทำให้การทำงานภายใต้สมาชิกเพียง 15 คนสามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้เร็วและมีประสิทธิภาพครบครัน