วัดขุนอินทประมูล

ตั้งอยู่ในเขตวัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัอ่างทองไปถนนสายอ่างทอง – โพธิ์ทอง ระยะทาง 7 กิโลเมตรวัดแห่งนี้สันนิฐานว่า น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตามพุทธลักษณะแต่ถ้าศึกษาความเป็นมาย้อนกลับไปในสมัยที่ชื่ออ่างทองไม่ปรากฏ แต่มีหลักฐานแน่ชัดว่าดินแดนแถบนี้มีมานานแล้วเนื่องจากเป็นถิ่น ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการทำเกษตรกรรม เมืองอ่างทองในสมัยทวาราวดีมีผู้คนเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมืองพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลประวัติเล่าว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 1870 สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตรงกับสมัยของพระยาเลอไทครองราชย์กรุงสุโขทัยราชธานี

ครั้งนั้นพระยาเลอไทเสด็จจากกรุงสุโขทัย เดินทางโยชลมาศ มานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอนในเขตกรุงละโว้ พักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน 5 เพลา ได้เสด็จข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาล่องมาตามแม่น้ำน้อย และได้แวะประทับโดยสร้างพลับพลา ณ โคกบางพลับขณะพักแรมอยู่ ณ โคกบาง-พลับเวลาสาม เกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้หายไปในอากาศทางทิศตะวันตกเกิดปิติโสมนัสดำริสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นเป็นพุทธบูชาด้วยคติที่ว่าพระองค์ ประทับแรมอยู่ ณ แห่งนี้ โดยมอบหมายให้นายบ้านเกณฑ์แรงงานทั่วแคว้นแดนลุ่มแม่น้ำน้อยทั้งหมด ประทับแรมอยู่ ณ ที่ โคกบางพลับแห่งนี้ สิ้นเวลานาน 5 เดือนเป็นแล้วเสร็จ เมื่อเดือน 5 ปีพ.ศ. 1870 เมื่อสร้างพระพุทธไสยาสน์แล้วขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิต

เนื่องจากพระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิต ถูกทอดทิ้งตากแดดตากฝนท่ามกลางป่ารกอยู่นาน การดูแลรักษาก็ไม่ได้กระทำต่อเนื่อง ในที่สุดก็ถูกทิ้งร้างมาจนกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ กรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นมาแทน จนในสมัยพระเจ้าบรมโกษ ในครั้งนั้นในประวัติเล่าว่ามีนายอาการตำแหน่งที่ขุนอินทประมูลเป็นคนจีนมีชื่อเดิมว่า เส็ง มีภรรยาเป็นคนไทยชื่อนาก ไม่มีบุตรสืบตระกูล เป็นนายอาการมีหน้าที่เก็บส่วยจากอาณาประชาราษฎร์ส่งเข้าพระคลังหลวง เป็นผู้ที่มีจิตใจฝาในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ปรารภว่าจะพยายามซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ และสร้างวัด ณ โคกวัดนี้ให้สำเร็จด้วยอุตสาหะแห่งตน จึงซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามขึ้นใหม่และเรียกขนานนามตามบรรดาศักดิ์ท่าขุนว่า “วัดขุนอินทประมูล”ตั้งแต่นั้นมา

วัดขุนอินทประมูล ซึ่งเป็นพุทธมณฑล จ.อ่างทอง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ทางขึ้นชั้นสองมีบันได เดินปกติพร้อมบันเลื่อน ซึ่งอยู่คนละด้านของพระอุโบสถ ส่วนลิฟต์นั้น อยู่บริเวณหน้าบันไดเลื่อน ซึ่งลิฟต์และบันไดเลื่อนนี้ สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับญาติโยม และพระที่สูงอายุ สำหรับพื้นที่ชั้น 2 นั้น เป็นส่วนของพระอุโบสถจริง ๆ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธมหามงคลจินดาพลบพิธ พระประธานของพระอุโบสถหลังนี้ บริเวณด้านข้างของโบสถ์ที่ชั้น 2 นี้ จัดให้มีเบาะที่นั่ง/ที่นอน ขนาดกว้าง 1 เมตร บุฟองน้ำอย่างดี สามารถพับเก็บเข้าช่องได้อยู่โดยรอบ ซึ่งสำหรับที่นั่ง/ที่นอนนี้ จัดทำขึ้นสำหรับไว้ให้พระหรือญาติโยมไว้สำหรับพักผ่อน ซึ่งใช้ระบบไฮโดรลิกทั้งหมด สามารถกางออกมาและเก็บเข้าไปติดผนังเหมือนเดิมและบริเวณชั้น 3 ของพระอุโบสถนั้น จัดทำขึ้นสำหรับเป็นที่พักของพระผู้ใหญ่โดยเฉพาะ