Call for paper

Call for Papers

กองบรรณาธิการวารสารการยศาสตร์ไทย ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการยศาสตร์ไทย โดยที่บทความของท่านต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างรอพิจารณาจากวารสารอื่น และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์

ประเภทของเนื้อหา :

วารสารการยศาสตร์ไทย แบ่งคอลัมน์ของวารสารออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. รายงานการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เรื่องละประมาณ 7-10 หน้ากระดาษ A4

2. บทความทางวิชาการ พร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งคำสำคัญ เรื่องละประมาณ 7-10 หน้า กระดาษ A4

3. สรุปการอภิปราย สัมมนา บทความพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีโดยใช้หลักการทางการยศาสตร์ (Ergonomic Best Practice) เรื่องละประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4

4. บทความแนะนำหนังสือทางการยศาสตร์ (Ergonomics Book Review) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4

การเตรียมต้นฉบับและส่งต้นฉบับ:

  • เนื้อหาต้นฉบับ (ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ) ให้ใช้ไฟล์ตัวอย่างรูปแบบบทความ (Template) ในการจัดพิมพ์ โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสมาคมการยศาสตร์ไทย www.est.or.th/Journal
  • ชื่อเรื่อง พิมพ์ไว้หน้าแรกชิดขอบขวาของกระดาษ ชื่อผู้เขียนอยู่ใต้ชื่อเรื่อง (ระบุสถานที่ติดต่อ โทรศัพท์ที่ทางาน/ โทรศัพท์มือถือ/โทรสาร และ E-mail Address ของผู้เขียนให้พิมพ์ไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก)
  • การใช้ภาษาอังกฤษ ควรใช้เฉพาะคาที่ยังไม่มีคาแปลภาษาไทยหรือแปลแล้วไม่ได้มีความหมายชัดเจน แล้วเขียนภาษาไทยทับศัพท์ และวงเล็บภาษาอังกฤษกากับ
  • ส่วนประกอบสาคัญของบทความวิจัย ควรเขียนเรียงลาดับดังนี้
    • ชื่อเรื่อง (Title)
    • ชื่อผู้ทางานวิจัย (Author)
    • บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • คำสำคัญ (Key Word) ระบุคาสาคัญหรือวลีสั้นๆ เพียง 2 –5 คำ
    • บทนำ (Introduction)
    • วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)
    • วิธีดำเนินงานวิจัย (Method)
    • ผลการวิจัย (Results)
    • การอภิปรายผล (Discussion) และข้อเสนอแนะ
    • การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง (Citation and Reference)
    • การอ้างอิง (Citation) ใช้ระบบตัวเลข
    • เอกสารอ้างอิง (Reference) ให้เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเนื้อหา โดยเขียนในรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style)

การส่งต้นฉบับ:

ส่งต้นฉบับทั้งไฟล์ word และ pdf. ทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ (e-mail) มายัง journal@est.or.th

การอ้างอิง:

ให้ใช้การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาแบบตัวเลข ในวงเล็บ [1] โดยเรียงตามลาดับเนื้อหา

เอกสารอ้างอิง:

การพิมพ์รายการเอกสารอ้างอิง ให้ใช้วิธีการแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ตัวเลขแสดงลาดับเอกสารอ้างอิงให้ใช้ตัวเลขอารบิกในวงเล็บปีกกาเหลี่ยมและเรียงลาดับตามการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ ขอให้ผู้เขียนสังเกตข้อแตกต่างของวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงเพื่อให้เขียนได้ถูกต้อง เช่น หนังสือหรือตารา [1] หนังสือที่มีผู้เขียนเฉพาะบทและมีบรรณาธิการของหนังสือ [2], วิทยานิพนธ์ [3], วารสารวิชาการ [4-5] เว็บไซด์ [7] ดังรายละเอียดและตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. หนังสือหรือตำรำทั้งเล่ม มีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง (Author).//ชื่อหนังสือ (Title of the book).//ครั้งที่พิมพ์ (Edition).//สถานที่พิมพ์ (Place of Publication)://สานักพิมพ์ (Publisher);//ปีที่พิมพ์. ตัวอย่าง

[1] Jacobs K. Ergonomics for therapist. 3rd edition. United States: Mosby Elsevier; 2008.

[2] กันยารัตน์ เกตุขา. ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนรายงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

2. บทความในหนังสือ โดยอ้างเพียงบางบท บางเรื่อง หรือบางตอนของหนังสือเท่านั้น มีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง (Author).//"ชื่อบท ชื่อเรื่อง ชื่อตอน (Title of a chapter).//ใน/In:// ชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม/editor(s).//ชื่อหนังสือ (Title of the book).//ครั้งที่พิมพ์ (Edition).//สถานที่พิมพ์ (Place of publication)://สานักพิมพ์ (Publisher);//ปีที่พิมพ์ (Year). หน้า/pp. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. ตัวอย่าง

[1] Marras WS. Task analysis. In: Nordin M, Andersson GBJ, Pope MH, editors. Musculoskeletal disorders in workplace: principles and practice. United stated of America: Mosby-Year Book; 1997. p. 191-204.

[2] Stammers RB. and Shephard A. Task analysis. In: Wilson JR and Corlett EN, editors. Evaluation of human work: A practical ergonomics methodology. Bristol: Taylor & Francis; 1995. p 144-68.

3. วิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation) มีรูปแบบดังนี้ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ชื่อเรื่อง [ประเภท/ปริญญา}.//สถานที่ตั้งสถาบันการศึกษา/:/ชื่อสถาบันการศึกษา;//ปีที่ได้ปริญญา.

ตัวอย่าง

[1] ณัฎฐพร ประดิษฐพจน์. ผลของการปรับปรุงทางการยศาสตร์ในพนักงานโรงพิมพ์ต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทางานและความล้าทางการมองเห็น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขากายภาพบาบัด]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

[2] สุมาลี เบือนสันเทียะ. การศึกษาความเหมาะสมของแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สาหรับงานประกอบชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ: กรณีศึกษา บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรม]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2553; หน้า 23-45

4. บทความในวารสาร (Articles in Journals) มีรูปแบบดังนี้

ชื่อผู้แต่ง (Author).//ชื่อบทความ (Title of the article).//ชื่อย่อวารสาร (Title of the Journal).//ปีที่พิมพ์ (Year); ฉบับที่ (Volume)/:/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (Page). | 67

ตัวอย่าง

[1] Donatelli R: Normal biomechanics of the foot and ankle. J Orthop Sports Ther 1987;9:11-16.

[2] จิราภรณ์ วิชัย และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. ขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 19(5): หน้า 710-9.

5. บทความในวำรสำรเล่มผนวกที่มีฉบับพิเศษ (Issue with Supplement)

ตัวอย่าง

[1] Kurustien N, Mekhora K, Jalayondeja W, Nanthavanij S. Trunk stabilizer muscle activity during manual lifting with and without back belt use in experienced workers. J Med Assoc Thai 2014; Suppl 97:S75-9.

6. กำรอ้ำงอิงเอกสำรที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ หรือรอตีพิมพ์ (Unpublished Material)

ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามประเภทของเอกสาร และระบุว่า In press หรือ รอตีพิมพ์

ตัวอย่าง

[1] Kurustien N, Mekhora K, Jalayondeja W, Nanthavanij S. Trunk muscle performance and work-related musculoskeletal dDisorders among manual lLifting with back belt wearing workers. J Med Assoc Thai. In press 2015.

7. การอ้างอิงเอกสารอิเลคทรอนิกส์

ให้ใช้รูปแบบตามประเภทของเอกสารดังที่กล่าวข้างต้น แต่เพิ่มข้อมูลประเภทของวัสดุหรือเอกสารที่นาอ้างอิง วันที่สืบค้นข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูล มีรูปแบบดังนี้

ชื่อผู้แต่ง (Author).ชื่อบทความ (Title of the article [ประเภทของสื่อ/วัสดุ]. ปีพิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ/cited ปี เดือน วันที่]. เข้าถึงได้จาก/ Available from: http://......................................

[1] National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). Ergonomic guideline for manual material handling. Published 2007 by the California Department of Industrial Relations Revised NIOSH Lifting Equation [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558] เข้าถึงได้จาก http://www.cdc.gov/niosh/docs/94-110/pdfs/94-110.pdf. 2007; หน้า 2-75


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.est.or.th

journal@est.or.th

ลิขสิทธิ์

หลังจากที่บทความของท่านได้ตีพิมพ์ในวารสารการยศาสตร์ไทย ผู้เขียนจะต้องเซ็นแบบฟอร์มยินยอมสิทธิ์โดยกรอกแบบฟอร์ม