หลักสูตร


การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม (TH)

หลักสูตร


หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม (หลักสูตร 4 ปี)

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม

ภาษาอังกฤษ Bachelor of Business Administration (Innovative Tourism and Hospitality Management)


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม)

ชื่อย่อ บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม Bachelor of Business Administration (Innovative Tourism and Hospitality Management)

ชื่อย่อ B.B.A. (Innovative Tourism and Hospitality Management)


วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรนี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสามารถนำความรู้ในสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการที่ศึกษาไปปฏิบัติงานในตำแหน่งงานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการได้อย่างสร้างสรรค์ในระดับสากล มีความชำนาญภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ประกอบอาชีพ เช่น เจ้าหน้าที่วางแผนการท่องเที่ยว ที่ปรึกษาทางการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ประสานงานท่องเที่ยว นักการตลาด เจ้าหน้าที่จัดงานอีเวนท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต้อนรับ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการ และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานในหน่วยงานภาครัฐบาลที่มีบทบาทในการเสนอนโยบาย กำกับ ดูแล วางแผน และพัฒนาการท่องเที่ยว

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม เป็นหลักสูตรที่สนองตอบต่อความต้องการของอุตสาหกรรการท่องเที่ยวและการบริการที่นับวันยิ่งขยายตัว และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก หลักสูตรนี้มีลักษณะบูรณาการเชิงประยุกต์ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ทันสมัย เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ครอบคลุมการวางแผนและการพัฒนา การบริหาร การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาต่างประเทศ กฎหมาย และการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจ สังคม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มีทักษะการสื่อสารด้านภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้ และสามารถ แข่งขันในตลาดแรงงานสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนในการสอน การบริการวิชาการ และงานวิจัย


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม ให้มีลักษณะดังนี้

  • มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตบริการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

  • มีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพในศาสตร์ทางการท่องเที่ยว

  • มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้บริการ และบริหารจัดการเทียบเท่ากับมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพในภูมิภาคอื่นของโลก

  • มีทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เหตุผลและวิจารณญาณอย่างเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ

  • มีความสามารถในการทำงานกับผู้อื่นได้ทุกระดับอย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง

  • มีประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1ภาษารวมทั้งสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม

  • มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน การจัดการ และการพัฒนา


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีปกติ

  • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าหรือสำเร็จการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะแล้ว

  • เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ปฏิบัติตนเหมาะสมกับสภาพความเป็นนักศึกษาและสามารถ ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบของสถาบันฯ และสังคม

  • เป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือติดยาเสพติด

  • มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่สถาบันฯ จะได้ประกาศได้ทราบเป็นปีๆ ไป



ครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

โครงสร้างของหลักสูตร


หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต)

  • กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาภาษา 33 หน่วยกิต



หมวดวิชาเฉพาะ (ไม่น้อยกว่า 97 หน่วยกิต)

  • กลุ่มวิชาพื้นฐาน 24 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

– แผนสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต

– แผนฝึกงาน 1 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาเลือก

– แผนสหกิจศึกษา 30 หน่วยกิต

– แผนฝึกงาน 36 หน่วยกิต


หมวดวิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)





ข้อมูลจาก Business Administration | Sep 17, 2018