คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

การยืมคำจากภาษาหนึ่งไปใช้อีกภาษาหนึ่ง เป็นลักษณะของทุกภาษา ทุกภาษาในโลกนี้ย่อมมีการใช้คำภาษาอื่นปะปนกันเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากแต่ละชาติจำเป็นต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงเกิดการนำคำภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาของตนเอง

สาเหตุการยืมคำภาษาอื่น ๆ มาใช้ในภาษาไทย

๑. การตั้งถิ่นฐาน ประเทศไทยมีพื้นที่ติดต่อกับเพื่อนข้าน ทำให้คนไทยนำคำของภาษานั้น ๆ มาใช้

๒. การค้าขาย ประเทศไทยติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า

๓. ศาสนาและวัฒนธรรม การเผยแผ่ศาสนา การรับเอาศาสนา ทำให้เราใช้คำของศาสนานั้น

๔. การศึกษาและการกีฬา ทั้งในหนังสือเรียน และข่าวสาวต่าง ๆ

๕. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การแต่งงาน การเข้ารีต การสงคราม การทูต ฯลฯ

คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

๑. คำยืมภาษาจีน

๑.๑ ที่มาของการยืมคำภาษาจีน

ไทยกับจีนมีการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตมาตั้งแต่อดีต ผลของการที่ชาวจีนอพยพมาตั้งรกรากถิ่นฐานทำมาหากินในเมืองไทย มีการประกอบอาชีพต่าง ทำให้มีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ การยืมคำจีนบางคำเข้ามาใช้ในภาษาไทยส่วนใหญ่เป็นสำเนียงภาษาแต้จิ๋ว และมักเป็นคำเรียกชื่อสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน เรานิยมใช้คำจีนเป็นภาษาพูดแต่ไม่นิยมใช้เป็นภาษาเขียน

๑.๒ หลักการสังเกตคำภาษาจีน

คำยืมภาษาจีน ส่วนมากเป็นคำโดดและน้ำเสียงฟังดูแล้วจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ ใช้เสียงวรรณยุกต์ตรีและจัตวา ซึ่งมีหลักสังเกตดังนี้

๑. นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น

๒. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋งฮวงซุ้ย เป็นต้น

๓. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้า และการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง หุ้น ห้าง เป็นต้น

๔. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น กวยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น

. คำยืมภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่างๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะ ทั้งในวงการศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น

.๑ ลักษณะภาษาอังกฤษ

๑. ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำหรือเติมท้ายศัพท์ในลักษณะต่างๆ กันเพื่อแสดงลักษณะไวยากรณ์ เช่น การบอกเพศ พจน์ กาล (go-went-gone) หรือทำให้คำเปลี่ยนความหมายไป

๒. คำในภาษาอังกฤษมีการลงน้ำหนัก ศัพท์คำเดียวกันถ้าลงน้ำหนักต่างพยางค์กันก็ย่อมเปลี่ยนความหมายและหน้าที่ของคำเช่น record – record

๓. ภาษาอังกฤษมีตัวอักษร ๒๖ ตัว สระเดี่ยว(สระแท้) ๕ ตัว สระประสมมากมาย

๔. ภาษาอังกฤษมีพยัญชนะควบกล้ำมากมาย ทั้งควบกล้ำ ๒ เสียง ๓ เสียง ๔ เสียง ปรากฏได้ทั้งต้นและท้ายคำ เช่น spring, grease, strange พยัญชนะต้นควบ desk, past, text พยัญชนะท้ายควบ

๒. ตัวอย่างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทย

กราฟ การ์ตูน กิ๊บ กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซลดอลลาร์ ดีเปรสชั่น เต็นท์ ทอนซิล เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซิน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน วิตามิน ไวโอลิน

. คำยืมภาษาเขมร

เขมรเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์มานานทั้งการค้า การสงคราม การเมือง การปกครอง และ วัฒนธรรมเขมรมีอิทธิพลเหนือดินแดนสุวรรณภูมิก่อนกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาจะเรืองอำนาจ ทำให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนในภาษาไทยเป็นเวลาช้านาน

๓.๑ ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย

๑. มักเป็นคำที่มักสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เสด็จ เผด็จ อาจ อำนาจ บำเพ็ญ สราญ กำจร จราจร ตำบล บันดาล

๒. มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง ปรับปรำ ปรอง

๓. มักขึ้นต้นด้วยคำที่ใช้ บัง บัน บรร บำ นำหน้า เช่น บังคับ บังคม บังเกิด บังอาจ บันได บันดาล บันลือ บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ

๔. มักขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ ดำ ตำ จำชำ สำบำรำ เช่น

กำ -กำเดากำแพง กำลัง กำไร กำจัด กำจร กำธร กำพร้า กำสรวล กำเนิด

ดำ = ดำเนิน ดำริ ดำรู ดำรง (ดำรี ดำไร แปลว่า ช้าง)

ตำ - ตำนาน ตำรวจ ตำบล ตำรา ตำลึง ตำหนัก ตำหนิ

จำ = จำนำ จำนอง จำหน่าย จำแนก

ชำ = ชำนิ ชำนาญ ชำร่วย ชำระ ชำแหละ ชำรุด

สำ - สำราญ สำรวย สำเริง สำเนา สำเภา

บำ = บำเรอ บำราบ บำนาญ บำเหน็จ บำรุง บำเพ็ญ

รำ = รำคาญ รำไร

๕. นิยมเป็นคำที่นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน สมัคร สมาน เสด็จ สมอ ถนน เฉลียว

๖. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เสวย ผนวช บรรทม เสด็จ โปรด ขนง เขนย สรวล

๗. เป็นคำแผลง เช่น ครบ > คำรบ, ขดาน > กระดาน, จ่าย > จำหน่วย, แจก > จำแนก, ชาญ > ชำนาญ, เดิน > ดำเนิน, เรียบ > ระเบียบ, รำ > ระบำ, ตริ > ดำริ, ตรวจ > ตำรวจ

. คำยืมภาษาบาลี

ภาษาบาลีเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย คือจะต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์ หรือกาล ภาษาบาลีมีถิ่นกำเนิดในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย บางทีจึงเรียกว่า "ภาษามคธ" เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย เพราะสาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ

.๑ หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี

๑. คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม

๒. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ ๑, ๓, ๕

๓. พยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๑, ๒ ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา เป็นต้น

๔. พยัญชนะแถวที่๓ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔ ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา เป็นต้น

๕. พยัญชนะแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร เป็นต้น

๖. พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา เป็นต้น

. คำยืมภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีวิภัตดิปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี ชาวอินเดียถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง คัมภีร์ และบทสวดต่าง ๆ มักจะจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเพราะคนไทยเคยยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบันทึกคำสอนด้วยภาษาสันสกฤตมาก่อน แม้จะยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม แต่คนไทยก็ยังยึดถือปฏิบัติในพิธีกรรมบางอย่างของศาสนาพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน คนไทยจึงศึกษาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตควบคู่กันไป

.๑ การสร้างคำในภาษาสันสกฤต

๑. การสมาส (ดูภาษาบาลี) เช่น ศิลป + ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์, มานุษย + วิทยา = มานุษยวิทยา

๒. การสนธิ (ดูภาษาบาลี) เช่น คณ + อาจารย์ = คณาจารย์, ภูมิ + อินทร์ = ภูมินทร์

๓. การใช้อุปสรรค คือ การเติมพยางค์ประกอบหน้าศัพท์เป็นส่วนขยายศัพท์ ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น วิ - วิเทศ, สุ - สุภาษิต, อป - อัปลักษณ์, อา - อารักษ์

๕. ข้อสังเกต

๑. ภาษาสันสกฤตจะใช้สระประสม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา คำประสมสระไอเมื่อเป็นคำไทยใช้สระแอ (ไวทย - แพทย์)

๒. ภาษาสันสกฤตจะใช้พยัญชนะ ศ ษ ฑ (บาลีใช้ ส, ฬ) เช่น กรีฑา, ศิลป, ษมา

๓. ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะประสมและ รร ใช้ เช่น ปรากฏ, กษัตริย์ ; ครรภ์, จักรวรรดิ

. คำยืมภาษาชวา

าษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาคำติดต่ออยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา เป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน

. คำยืมภาษามลายู

ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมา เป็นเวลานาน ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก