2.วิธีการส่งกำลังของเครื่องมือกล

การส่งกำลังด้วยโซ่

รู้จักโซ่ส่งกำลัง หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญของเครื่องจักรในโรงงาน

การใช้โซ่ส่งกำลัง ถือเป็นอีกทางเรื่องหนึ่งของการติดตั้งระบบส่งกำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนิยมใช้กันมากในการออกแบบเครื่องจักร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องทอผ้า เป็นต้น การส่งกำลังแบบโซ่นั้น มีวิธีการส่งกำลังที่คล้ายกับการส่งกำลังด้วยสายพาน โดยที่โซ่ (chain) จะคล้องอยู่กับเฟืองโซ่ (sprocket) ซึ่งติดตั้งอยู่บนเพลาขับและเพลาตาม อัตราทดของการขับนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเฟืองโซ่ทั้งสองฝั่ง

รูปแสดง ตำแหน่งของโซ่ (Chain) และเฟืองโซ่ (Sprocket)

ข้อดี และ ข้อเสีย ของการใช้งานโซ่ส่งกำลัง

ข้อดีข้อดี

  • ไม่มีการสลิปเกิดขึ้นระหว่างโซ่กับเฟืองโซ่ ทำให้ได้อัตราทดที่แน่นอน

  • การติดตั้งไม่ต้องการความเที่ยงตรงมากเมื่อเทียบกับการขับด้วยเฟือง

  • ติดตั้งได้ง่ายกว่าสายพาน เพียงแค่คล้องโซ่เข้ากับเฟืองโซ่ หลังจากนั้นใช้สลักสอดเข้าไปในรูเพื่อยึดโซ่เข้าด้วยกันเป็นวงปิด

  • มีขนาดเล็กกว่าสายพาน เมื่อใช้งานที่อัตราทดเท่ากัน ล้อของสายพานจะมีขนาดใหญ่กว่าเฟืองโซ่ ถ้าต้องการส่งกำลังเท่ากัน ความกว้างของโซ่ย่อมน้อยกว่าสายพาน

  • ใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูง และในบริเวณที่มีความชื้นและฝุ่นละอองได้

ข้อเสียเสียงดังในขณะใช้งาน

  • ถ้าใช้งานที่ความเร็วรอบสูงอาจเกิดอันตรายได้หากโซ่ขาด

  • เพลาต้องขนานกันเท่านั้น

  • ไม่สามารถส่งกำลังแบบ (crossed drive) ได้

  • หากไม่มีการหล่อลื่นจะส่งผลให้โซ่เกิดการสึกหรอได้ง่าย

  • ราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับการขับด้วยสายพาน