ปลูกข้าวที่สูง
ชื่อเรื่อง การปลูกข้าวที่สูง
ชุมชน ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
อาชีพหลักโดยส่วนใหญ๋ในตำบลท่าสองยาง เป็นอาชีพทางเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวไร่ ทำไร่ ทำสวน และยังมีอาชีพอื่นๆ ในการดำรงชีวิตของชุมชน ยกตัวอย่างเช่น เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย แต่ตำบลท่าสองยางนั้น การทำนาเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีวิตของผู้คน โดยลักษณะในพื้นส่วนใหญ๋เป็นพื้นที่สูง ติดภูเขา จะเป็นการทำนาจึงเป็นลักษณะของการทำในพื้นที่สูง
ข้าวที่สูง ข้าวบนพื้นที่สูง หรือข้าวดอยมีลักษณะการปลูก 2 แบบ คือ การปลูกแบบสภาพไร่ หรือที่เรียกว่าข้าวไร่ ปลูกตามไหล่เขา ไม่มีคันนาสำหรับเก็บกักน้ำในแปลงปลูก ส่วนมากมักเตรียมดินโดยการถางวัชพืชหรือพืชอื่นออกก่อนแล้วเตรียมดิน หลังจากนั้นจึงทำการปลูกข้าว พื้นที่ปลูกข้าวไร่ส่วนใหญ่ มักมีความลาดชันอาศัยความชื้นในการเจริญเติบโตจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว และอีกสภาพหนึ่งคือการปลูกในสภาพนาพื้นที่ปลูกจะอยู่ระหว่างหุบเขา มีการทำคันนาสำหรับกักเก็บน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนาขั้นบันไดการเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวบนที่สูงจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะการปลูกข้าวไร่ จะเริ่มถางกำจัดวัชพืชนำออกไปไว้ข้างแปลงหรือวางเป็นแนวขวางทางลาดชันเพื่อดักตะกอนดิน ไม่แนะนำให้เผาเศษซากพืช ถ้าในพื้นที่ที่มีหินสามารถนำไปขวางลาดชันดักตะกอนดิน และทำให้เกิดลักษณะขั้นบันไดในระยะต่อไป พื้นที่ที่มี ความลาดชันสูงไม่ควรไถเพราะจะทำให้เร่งการชะล้างหน้าดินเมื่อฝนตก การเตรียมพื้นที่จะทำ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในเดือนมีนาคม ครั้งที่สองในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม การเตรียมพื้นที่ครั้งที่สองเป็นการเตรียมแบบประณีตเพื่อปลูกข้าว ส่วนข้าวนาที่สูงจะเริ่มเตรียมดินตกกล้าในเดือนพฤษภาคม มีการเตรียม 2 แบบ คือ เตรียมดินเพื่อตกกล้าสภาพไร่ โดยการถางวัชพืชออกแล้วสับดินให้ละเอียดก่อนหว่านเมล็ดข้าวลงไป และเตรียมดินเพื่อตกกล้าสภาพนาที่มีน้ำขัง เริ่มจากหลังที่ฝนตกมีน้ำขังในนาอยู่บ้าง
การเก็บเกี่ยว จะสามารถเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกข้าวได้ประมาณ 4 เดือน โดยในการเก็บเกี่ยวข้าวชาวบ้านจะเกี่ยวข้าวด้วย วิธีการลงแขก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า การเอามื้อ คือ การที่ทุกคน ในชุมชนช่วยกันเกี่ยวข้าวในแต่ละไร่ และจะทำสลับกันเช่นนี้จนครบทุกไร่ ข้าวเป็นพื้นที่ภูเขา มีพื้นผิวที่ไม่เรียบ และเป็นทางราดชันเสียส่วนใหญ่ ทำให้ต้องใช้แรงงานคนเป็นกำลังหลักในการเก็บเกี่ยวข้าว
เกษตรกรบนที่สูงไม่นิยมปลูกโดยวิธีหว่าน ทั้งนี้เพราะไม่มั่นใจปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมา ซึ่งอาจทิ้งช่วงจนเกิดสภาวะแห้งแล้ง หรือมากจนไม่สามารถระบายน้ำออกได้ทัน จนทำให้น้ำท่วมไหลบ่าพัดพาเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านไว้เสียหาย