iSAI-NLP 2017 Special Session:

AI and NLP Session for Thai Students (Thai Track)

co-located with iSAI-NLP 2017,

August 27-29, 2017, Huahin, Thailand

Scope of the Special Session: Artificial Intelligence (AI) and Natural Language Processing (NLP) research has provided fundamental theory and resources to support wide range of intelligent applications. It is important that this research field must be promoted among Thai graduate and undergraduate students (or high schools, if applicable). This special session provides a forum for Thai students who start doing research in the AI and NLP-related fields. It provides a good opportunity for the students to gain early academic conference experience and receive constructive comments and feedbacks from experienced researchers. This special session can provide a national stage that would embark the students to the academic environment and prepare them for future international conference experience. Preliminary and ongoing research as well as application papers are also welcome. Submitted papers (4-6 pages) and presentations will be in Thai language. Accepted papers will be published and distributed to the conference participants in the conference proceedings thumbdrive and on a Website. English abstracts will be published in the conference abstract book.

ที่มาและความสำคัญของการจัดงานประชุม

งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence -- AI) และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing – NLP) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดทฤษฎีและทรัพยากรพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มีความชาญฉลาด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมการทำวิจัยในสาขาดังกล่าวให้มากขึ้นในกลุ่มนักศึกษาไทยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป (หรือ แม้กระทั่งระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) หัวข้องานประชุมพิเศษ (special session) นี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาไทยได้มีเวทีนำเสนอผลงานวิจัยในสาขาดังกล่าวที่เป็นภาษาไทย โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีที่ช่วยสร้างประสบการณ์การนำเสนอผลงานวิชาการให้กับนักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์ไม่มาก และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะก้าวไปสู่เวทีการนำเสนอผลงานวิชาการในระดับนานาชาติได้ในอนาคตต่อไป หัวข้องานประชุมพิเศษนี้ยอมรับบทความที่นำเสนองานวิจัยที่มีผลลัพธ์เพียงบางส่วน และบทความวิจัยในเชิงการประยุกต์ใช้งานนอกเหนือไปจากบทความวิจัยในเชิงวิชาการ

ขอบเขตของหัวข้อวิจัย

ขอบเขตของหัวข้อวิจัยที่อยู่ในความสนใจของงานประชุมนี้ จะเป็นขอบเขตเดียวกับงานประชุมหลัก คือ iSAI-NLP 2017 ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ (หัวข้ออื่นที่ไม่อยู่ในรายการนี้ แต่มีความเกี่ยวข้องใกล้เคียงก็สามารถส่งได้เช่นเดียวกัน)

  • Artificial Intelligence
  • Automated reasoning and inference
  • Corpus and language resources
  • Computer vision
  • Data analytics
  • Human computer interaction
  • Image processing
  • Intelligent interfaces
  • Information retrieval and extraction
  • Internet of things
  • Knowledge representation
  • Language engineering
  • Machine learning
  • Machine translation and translation aids
  • NLP-based knowledge science
  • Pattern recognition
  • Ontology engineering
  • Text and speech processing
  • Text mining
  • NLP applications
  • Tools and resources for NLP

ปฏิทินงานประชุม

  • วันสุดท้ายที่รับบทความ: 7 มิ.ย. 2560 (Submission Deadline : June 7, 2017) - Extended
  • วันประกาศผลตอบรับ: 17 มิ.ย. 2560 (Acceptance Notification: June 17, 2017)
  • วันส่งบทความสำหรับตีพิมพ์: 27 มิ.ย. 2560 (Camera-ready Submission: June 27, 2017)

การส่งบทความ

นักศึกษาที่สนใจส่งบทความเข้าพิจารณาจะต้องเขียนบทความมีความยาวประมาณ 4-6 หน้าเป็นภาษาไทย ตามรูปแบบที่กำหนดตามตัวอย่างบทความของ ICSEC2016 Thai Track Template และนำเสนอผลงานเป็นภาษาไทย (หากได้รับการตอบรับ) โดยส่งไฟล์บทความในแบบ PDF ที่ระบบ EasyChair (https://easychair.org/conferences/?conf=isainlp2017 ) โดยเลือกส่งในกลุ่ม "AI and NLP Session for Thai Students (Thai Track)" ทั้งนี้บทความจะต้องระบุชื่อบทความและบทคัดย่อภาษาอังกฤษด้วย

บทความที่ได้รับการตอบรับจะถูกตีพิมพ์ในแบบ electronic proceedings (ไม่รวมอยู่กับ proceedings ของ main conference) และแจกให้กับผู้ร่วมงานประชุมในไดร์ฟแบบพกพาและบนเว็บไซต์ของงานประชุม โดยบทคัดย่อภาษาอังกฤษจะตีพิมพ์ในเอกสารสูจิบัตรที่แจกให้กับผู้เข้าประชุม

คณะกรรมการจัดงาน

  • มารุต บูรณรัช (NECTEC)
  • ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์ (NECTEC)
  • ทัศนีย์ เจริญพร (มหาวิทยาลัยบูรพา)

คณะกรรมการประเมินบทความ

  • กฤษณ์ โกสวัสดิ์ (NECTEC)
  • รัชต พีชวณิชย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • รัฐชัย ชาวอุทัย (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
  • นิชากรณ์ พันธ์คง (มหาวิทยาลัยทักษิณ)
  • นพดล ชลอธรรม (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  • ปรัชญา บุญขวัญ (NECTEC)
  • สิรยา สิทธิสาร (มหาวิทยาลัยทักษิณ)
  • อานนท์ แปลงประสพโชค (NECTEC)
  • อาทิตยา นิตย์โชติ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

บทความที่ได้รับการตอบรับ

1. การประยุกต์การใช้ตรรกะแบบฟัชซี่สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจับคู่โครงร่างตาราง

Applying Fuzzy Logic to Enhance Automatic Schema Matching Process

อัครจิต ตัญจนะ และ Jian Qu


2. การศึกษาค่าความสนใจที่เหมาะสมเพื่อใช้ควบคุมเตียงผู้ป่วยอัมพาตอัตโนมัติ

Controlling automatic bed by using attention value

วิชยา วิเชียรฉาย, เจนจิรา นัยสุภาพ, ธนวิชญ์ ธนทวีโรจน์, ภูรี พิมพ์ทองงาม และ ปกป้อง ส่องเมือง


3. ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยคินเน็คท์ (Kinect)

Computer control system with Kinect

ธนกร สว่างโลก, ศุภัชณา กุสดิษฐ, สุรัชนี แจ้งศิลป์, นิภากร วรรณรังษี, หทัยรัตน์ กิ่งรุ้งเพชร์ และ ปกป้อง ส่องเมือง


4. การค้นคืนข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานด้วยเทคนิคออนโทโลยี

Information Retrieval for Diabetics Care Based on Ontology

รุจิรดา อุษณพงศ์, ภัทรวัตร รัตนมา, ประทีป พึ่งวัฒนาพงศ์ และ ธนัชพรรณ เพ็ชรรัตน์


5. การพัฒนาแอปพลิเคชันและการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ผ่านโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับชั้น

A Design of a Searching Application for Hierarchically Relational Data

วิชวร มั่นคง, ณัฐพล กฤษสุทธิกุล, วสันต์ ณ ชัย และ เทพชัย ทรัพย์นิธิ


6. ระบบแปลงข้อมูลจาก MySQL เพื่อนำเข้าและแสดงข้อมูลในรูปแบบกราฟด้วย Elasticsearch ภายใต้ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าว

Data mapping and visualization system for Rice Seed Production Information System using Elasticsearch

วราชินี แสงขาว, อัศรา บัวอ่อน, ธีระวัฒน์ วุฒิตะสาร, จรูญ พรมบุตร, มารุต บูรณรัช และ ธนัชพรรณ เพ็ชรรัตน์