ภารกิจของศึกษานิเทศก์

1. การนิเทศการศึกษา  ได้แก่  หลักการและรูปแบบการนิเทศ   วิธีการและกระบวนการนิเทศ  กลยุทธ์การนิเทศการศึกษาใน เรื่องการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศการศึกษา การสร้างทักษะในการนิเทศการใช้กลยุทธ์ในการนิเทศ การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ การควบคุมและการประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  การนิเทศภายใน  โดย สามารถวิเคราะห์ วิจัย ส่งเสริมให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาได้ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดกระบวนการเรียนรู้การสอนและการบริหารจัดการการศึกษา   ประสาน สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานด้านการนิเทศการศึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ใช้เทคนิคการนิเทศได้อย่างหลากหลายด้านความเป็นกัลยาณมิตร

2. นโยบายและการวางแผนการศึกษา ได้แก่  ระบบและทฤษฎีการวางแผน  บริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา  แผนการศึกษาระดับชาติและระดับต่าง ๆ   การวิเคราะห์และกำหนดนโยบายการศึกษา  การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา   การพัฒนาและประเมินนโยบายการศึกษา  โดย สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลเพื่อจัดทำนโยบาย แผนและการติดตามประเมินผลด้านการศึกษา   ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและการวางแผนดำเนินงานและการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา   ให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งให้เกิดผลดี คุ้มค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม

3. การพัฒนาหลักสูตรและการสอน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร   การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หลักการพัฒนาหลักสูตร   การจัดการเรียนรู้    จิตวิทยาการศึกษา   การวัดและการประเมินผล   การจัดการศึกษาพิเศษ   โดย สามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษา เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  สาธิตแนะนำครูให้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน     ประเมินหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้

4. การประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่  การบริหารคุณภาพ     การประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานคุณภาพการศึกษา   กระบวนการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา  สามารถศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การจัดทำมาตรฐาน และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  โดยนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลกาประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและการวางระบบการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและพร้อมรับการประเมินภายนอก

5. การบริหารจัดการการศึกษา ได้แก่ หลักและระบบขอบข่ายการจัดการศึกษา   หลักการบริหารจัดการ การศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การปฏิรูปการศึกษา   กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา โดยสามารถให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของการศึกษา   นิเทศการบริหารจัดการสถานศึกษาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้   บริหารจัดการศึกษาโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน

6. การวิจัยทางการศึกษา ได้แก่  ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการวิจัย การนำผลการวิจัยไปใช้   โดยสามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน   ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการจัดการศึกษา

7. กลวิธีการถ่ายทอดความรู้  แนวคิด ทฤษฎี และผลงานทางวิชาการ  ได้แก่ กลวิธีการนำเสนอความรู้แนวคิดทฤษฎีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้   การเขียนรายงาน บทความ ผลงาน ผลการศึกษาค้นคว้า ฯลฯ    การวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิชาการอย่างสร้างสรรค์ โดย สามารถเขียนเอกสารทางวิชาการประเภทต่าง ๆ    แนะนำและให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารทางวิชาการ แก่คุณครูและบุคลากรทางการศึกษา   นำเสนอความรู้ แนวคิด ทฤษฎีด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเหมาะสมต่อการเรียนรู้

8. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ระบบมัลติมีเดียแบบ  ปฏิสัมพันธ์     สำนักงานอัตโนมัติ  โดย สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาตนและการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสม ให้คำปรึกษา แนะนำ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษา

9.คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ ได้แก่  คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์  จรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์   การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) โดย ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์   มีหลักธรรมในการนิเทศและประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี