ระบบโครงกระดูก

ระบบโครงกระดูกมีหน้าที่ค้ำจุนร่างกายให้อยู่คงรูปร่างอยู่ได้ กระดูกของมนุษย์ทั้งร่างกายมีอยู่ทั้งสิ้น 206 ชิ้น

แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.กระดูกแกน (Axial Skeleton) เป็นกระดูกที่เป็นแกนกลางของร่างกาย ทำหน้าที่ค้ำจุนและป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะสำคัญภายในร่างกาย มีจำนวนทั้งสิ้น 80 ชิ้น ประกอบด้วย

1.กะโหลกศรีษะ (Skull) มีจำนวน 29 ชิ้น

2.กระดูกสันหลัง (Vertebrae) มีจำนวน 26 ชิ้น

3.กระดูกซี่โครง (Ribs) มีจำนวนทั้งหมด 24 ชิ้น

4.กระดูกอก (Sternum) มีจำนวนทั้งหมด 1 ชิ้น

2.กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) เป็นกระดูกที่เชื่อมต่อกับกระดูกแกน ทำหน้าที่ค้ำจุนและเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีจำนวนทั้งสิ้น 126 ชิ้น ประกอบด้วย

1.กระดูกแขน มีจำนวน 64 ชิ้น (ข้างละ 32 ชิ้น)

2.กระดูกขา มีจำนวน 62 ชิ้น (ข้างละ 31 ชิ้น)

เมื่อศึกษาถึงโครงสร้างของกระดูกพบว่า กระดูกของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.กระดูกอ่อน (Caitilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งประกอบด้วยเซลล์กระดูกอ่อน(Chondrocyte)สารระหว่างเซลล์ และเส้นใยชนิดต่างๆ โดยทั่งไปกระดูกอ่อนแทรกซึมสารระหว่างเซลล์มา เนื่องจากไม่มีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงกระดูกอ่อน

2.กระดูก (Bone) เป็นโครงสร้างที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือกระดูกอ่อนก็ได้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูก เส้นใยชนิดต่างๆและสารระหว่างเซลล์ ซึ่งมีผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ มาเสริมทำให้กระดูกกระดูกมีความแข็งแรงมากกว่ากระดูกอ่อน

โครงกระดูกของมนุษย์จะเชื่อมกันด้วยข้อต่อซึ่งจะทำให้ร่างกายของมนุษย์เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จากการศึกษาพบว่า ข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแต่ละชิ้นในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (Immovable Joint) เป็นข้อต่อที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกเอาไว้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย เช่น ข้อต่อกระดูกศีรษะ เรียกว่า ซูเจอร์ (Suture) เป็นต้น

ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้

2.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (Movable Joint)เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแล้วทำให้เคลื่อนไหวได้ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ข้อต่อที่กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น

ข้อต่อกระดูกที่เคลื่อนไหวได้

ความสำคัญของระบบโครงกระดูก

1.ประกอบเป็นโครงร่างส่วนที่แข็งของร่างกาย

2.เป็นที่รองรับอวัยวะต่างๆของร่างกาย

3.เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อทำให้มีการเคลื่อนไหวได้

4.เป็นที่สร้างเม็ดเลือด

5.เป็นที่เก็บและจ่ายแคลเซียม ฟอสเฟต และแมกนีเซียม

6.ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ปอด หัวใจ ตับ สมอง และประสาท

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบโครงกระดูก

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น เนื้อสัตว์ นม และผลไม้ต่างๆ

2.ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง