การทำงานระบบใหญ่ๆ 3 ระบบ

1.ระบบผิวหนัง

ระบบผิวหนังเป็นระบบที่ห่อหุ้มร่างกาย เซลล์ชั้นบนมีการเปลี่ยนแปลงมี่สำคัญ คือ มีเคอราทิน(keratin) ใสและหนา มีความสำคัญคือ ป้องกันน้ำเข้าสู่ร่างกาย การเปลี่ยนที่ทำให้เกิด เคอราทิน เรียกว่า เคอราทีทีไนเซซัน (keratinization)


ผิวหนังประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่บนพื้นผิว เรียกว่า หนังกำพร้า (epidermis)

ส่วนที่ลึกไป เรียกว่าหนังแท้

1.หนังกำพร้า (epidermis) เป็นผิวบนสุด ที่ประกอบด้วยเซลล์บางๆ ตรงพื้นผิวไม่มีนิวเคลียส เป็นส่วนที่หลุดลอกเป็นขี้ไคล แล้วสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนอยู่เสมอ ส่วนต่างที่เกิดจากหนังกำพร้า ได้แก่ เล็บมือ เล็บเท้า รูขุมขนในชั้นหนังแท้ ส่วนเซลล์ชั้นในสุดที่ทำหน้าผลิตสีผิว(melanin) เรียกว่า สเตรตัมเจอร์มินาทิวัม (stratum germinativum)

2.(dermis) หนังแท้อยู่ใต้หนังกำพร้า หนาประมาณ 1-2 มิลิเมตร ประกอบด้วยเยื่อเกี่ยวพัน 2 ชั้น คือ

2.1 ชั้นบนหรือชั้นตื้น (papillary layer) เป็นที่นูนมาแทรกหนังกำพร้า เรียกว่า เพ็บพิลลารี (papillary) มีหลอดเลือด และปลายเส้นประสาทฝอย

2.2 ชั้นล่างหรือชั้นลึกลงไป (reticular layer) มีไขมันอยู่ มีรากผมหรือขนและต่อมไขมัน(sebaceous glands)

ความสำคัญของของระบบผิวหนัง

1.เป็นส่วนที่ห่อหุ้มร่างกาย สำหรับป้องกันอันตรายต่างๆ หรืออาจเกิดขึ้นกับอวัยวะใต้ผิวหนัง

2.เป็นอวัยวะรับสัมผัสความรู้สึกต่างๆ เช่น ร้อน หนาว

3.เป็นอวัยวะขับถ่ายของเสีย เช่น เหงื่อ

4.เป็นอวัยวะที่ช่วยขับสิ่งต่างๆที่อยู่ใต้ต่อมผิวหนังให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ขับไขมันไปหล่อเลี้ยงเส้นขนหรือผมให้เงางาม

5.ช่วยเป็นส่วนป้องกันรังสีต่างๆไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

6.ช่วยควบคุมความร้อนในร่างกายให้อยู่คงที่อยู่เสมอ ร่างกายคนเราขณะปกติมีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส หรือถ้าอากาศอบอ้าวร้อนเกินไปก็จะระบายความร้อนออกทางรูขุมขน