Suan Dusit Poll

New dimension Poll

Insight Poll : เป็นให้มากกว่า Poll

จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นร้อนของสังคม โดย "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วยทีมนักวิจัยจากสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อให้เกิดมูลค่าทางความรู้ที่ เป็นได้มากกว่าโพล

INSIGHT POLL : เปิดประเทศ 1 พ.ย. 64

......เมื่อสอบถามถึง “ผลเสีย” ของการเปิดประเทศ กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับ “การเปิดประเทศ” มีความคิดเห็นว่า อาจเกิดผลเสียในสามอันดับแรกคือ อาจเกิดการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 89.55 ต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง ร้อยละ 85.49 และ กระทบต่อความพร้อมด้านสาธารณสุข เช่น จำนวนเตียง บุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 66.33 ตามลำดับ ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับมุมมองของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายที่มีความกังวลเกี่ยวกับประชาชนในประเทศที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็มเป็นส่วนน้อย และมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 รวมถึงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความพร้อมของระบบสาธารณสุขของไทยว่ามีความพร้อมเพียงใดที่จะรับมือกับการเปิดประเทศในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด...

INSIGHT POLL : “คนไทย” ที่ได้รับผลกระทบจาก “น้ำท่วม” 2564

.....ภายหลังจากการเกิดสถานการณ์น้ำท่วมประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมโดยตรงมองว่า ก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญใน 3 ประเด็นหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมากเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 88.73 รองลงมาคือ เดินทางไม่ได้ เส้นทางถูกตัดขาด ชำรุด ร้อยละ 83.10 และพืชผลทางการเกษตรเสียหาย ร้อยละ 82.39 ตามลำดับ ทั้งนี้ จากผลสำรวจความเสียหายของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) อุทกภัยในปี 2564 จากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ในพื้นที่เกิดอุทกภัย 30 จังหวัดทั่วประเทศพบว่า ความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีน้ำที่ท่วมขังบ้านเรือนพื้นที่ทำการเกษตรเป็นระยะเวลานานโดยที่ไม่สามารถระบายออกไปได้ ทำให้การสัญจรไปมาถูกตัดขาดหรือเป็นไปด้วยความยากลำบาก ...

INSIGHT POLL : การฉีดวัคซีนให้กับเยาวชนอายุ 12-17 ปี

......จากผลสำรวจพบว่า มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการฉีดวัคซีนให้เยาวชนอายุ 12-17 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.56 จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร ตลอดจนวัคซีนสำหรับเด็กในขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการศึกษาวิจัยเท่านั้น โดยหากพบว่ามีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยจึงจะมีการนำมาใช้ในกลุ่มเด็กต่อไป เนื่องจากส่วนใหญ่รู้สึกไม่เชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่ร้อยละ 91.32 โดยมองว่าอาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ร้อยละ 55.85 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ YouGov เมื่อต้นเดือน พ.ค. 2564 พบว่า ประชาชนไทยร้อยละ 40 ที่ยังลังเลหรือไม่ต้องการฉีดวัคซีนเนื่องจากยังขาดความเชื่อมั่นถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามาให้ ดังนั้นนอกจากจะต้องทำหน้าที่จัดหาวัคซีนให้เพียงพอต่อประชาชนแล้ว รัฐบาลยังต้องเร่งแก้ไขเรื่องการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ลดความลังเล และพร้อมรับวัคซีนที่จัดหามาให้อีกด้วย ...

INSIGHT POLL : “สมุนไพรไทย” ในสายตาคนไทย

......ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มีข้อมูลสนับสนุนว่า สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยรักษาอาการของโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ และสามารถลดความรุนแรงของไวรัส “โควิด-19” โดยช่วยไม่ให้ถึงขั้นมีปอดอักเสบได้ จากประเด็นดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า แม้จะมีฐานองค์ความรู้และภูมิปัญญาเดิมผนวกกับการพิสูจน์ฤทธิ์วิทยาการสมัยใหม่มายืนยันแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ได้ทำให้ความเชื่อมั่นในการรักษาไวรัสโควิด-19 ด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรของคนไทยสูงมากนัก ซึ่งเป็นสิ่งน่าคิดว่า นี้เป็นเพราะสาเหตุใด และหากต้องการส่งเสริมการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาโรคดังกล่าว ควรมีแนวทางอย่างไรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ...

INSIGHT POLL : คนไทยได้อะไร? จากการ “อภิปรายไม่ไว้วางใจ”

......จากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะด้านอาชีพพบว่า ประชาชนกลุ่มที่คิดว่า “หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ การเมืองไทยจะแย่ลง”นั้น จัดอยู่ในกลุ่มอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 54.70 พนักงานบริษัท ร้อยละ 41.88 และครู/อาจารย์ ร้อยละ 40.50 เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่ประชาชนกลุ่มนี้ต้องการสะท้อนไปยังรัฐบาลและฝ่ายค้านในการดำเนินงานพบว่า มีความสอดคล้องกับมุมมองของประชาชน ในภาพรวม จึงแสดงให้เห็นว่า แม้ประชาชนจะมีมุมมองที่แตกต่างกันต่ออนาคตทางการเมืองของไทยภายหลังสิ้นสุดการอภิปราย

ไปแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ประชาชนต้องการที่จะเห็นเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายค้านกลับไม่มีความแตกต่างกัน ...

INSIGHT POLL : ความต้องการของคนไทยในยุคโควิด - 19

......ความต้องการอันดับ 1 ได้แก่ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ/ประชาชนได้ฉีดวัคซีนครบ 100% เมื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ ประชาชนคิดว่าน่าจะผิดหวังมากกว่าสมหวัง ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาการจองและจัดซื้อวัคซีนที่มีความล่าช้า มีปริมาณน้อยเกินไป และไม่หลากหลายเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นผลมาจากกฎระเบียบที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ และความล่าช้าในกระบวนการต่าง ๆ ของระบบราชการ.......

INSIGHT POLL : การใช้จ่ายของคนไทยในยุคโควิด-19

..........กลุ่มผู้ว่างงาน อาชีพรับจ้าง กลุ่มอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย คาดว่าจะประคองการใช้จ่ายต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนในยุคโควิด-19 สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจจำนวนมากต้องปิดตัวลง ส่วนธุรกิจที่ยังเปิดอยู่หลายแห่งก็ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดโดยการลดจำนวนพนักงาน เพราะสู้กับสถานการณ์ที่เลวร้ายไม่ไหว ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา โดยช่องทางที่่ใช้แสวงหาเงินมาใช้จ่ายในช่วงวิกฤติสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 พบว่า ใน 3 อันดับแรก คือ รายได้จากการทำงานหลักและงานเสริม, มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น คนละครึ่ง เงินเยียวยา และนำเงินออมออกมาใช้ ..........

INSIGHT POLL : “คนไทย” กับ “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19

.......... กลุ่มพนักงานบริษัท กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย มีความคิดว่า ข้อมูลการรายงาน “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 ในปัจจุบันมีความน่าเชื่อถือน้อยและไม่มีความน่าเชื่อถือ โดยให้ความสนใจในการติดตามการรายงานข้อมูล “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 ในประเด็นของ ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้เสียชีวิตรายวัน จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีน และเปรียบเทียบยอดผู้ป่วยรายใหม่และผู้ที่รักษาหาย ตามลำดับ .......


INSIGHT POLL : กู้วิกฤติท่องเที่ยวไทย ยุคโควิด-19

.......... กลุ่มพนักงานบริษัท ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้างมีความคิดเห็นว่าไม่พร้อมจะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี หากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อการท่องเที่ยวในประเทศนั้น เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เช่น การพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เป็นจำนวนมาก/ไม่สามารถควบคุมโรคได้ในบางพื้นที่ มาตรการการป้องกันที่ยังไม่เข้มงวดพอ รวมถึงการไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง .......



INSIGHT POLL : การแสดงความคิดเห็นของประชาชนในยามวิกฤติ โควิด-19

.......... กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา และผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องการแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันคือ โควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น และประชาชนทำมาหากินลำบาก สภาพจิตใจย่ำแย่ ร้อยละ 89.70 เท่ากัน อันดับที่ 2 ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ร้อยละ 82.93 และอันดับที่ 3 รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ร้อยละ 80.82 ตามลำดับ .......

INSIGHT POLL : ข่าวสารในช่วงวิกฤติ โควิด-19

.......... ประชาชนกลุ่มที่มีความวิตกกังวลมากที่สุดจนเกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำและหวาดกลัว ร้อยละ 22.17 โดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาชีพกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา , ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวลนั้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากความสับสนในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ได้รับจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ที่ขาดความชัดเจนและไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ โดยข่าวสารที่ประชาชนทั้ง 3 กลุ่ม รู้สึกสับสนมากที่สุด คือ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ อาการข้างเคียงของวัคซีน .......


INSIGHT POLL : คนไทยในยุควิกฤติ โควิด-19

..... กลุ่มพนักงานบริษัท , ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และครู/อาจารย์ มีสิ่งที่อยากให้ข้อเสนอแนะในการฝ่าวิกฤติโควิด-19 สำหรับประเทศไทย พบว่ามีความสอดคล้องกับประชาชนในภาพรวมเช่นเดียวกัน หากแต่ให้ความสำคัญกับการตรวจหาเชื้อเชิงรุก กักพื้นที่การแพร่ระบาด มากเป็นอันดับ 1 ที่ร้อยละ 80.99 รัฐบาลต้องจริงใจ ไม่แสวงหากำไรจากประชาชน ร้อยละ 78.17 และ ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้บุคลากรทางการแพทย์โดยเร็ว ร้อยละ 77.82 ตามลำดับ .....


INSIGHT POLL : บทเรียนจากเหตุระเบิดโรงงาน กิ่งแก้ว

..... กลุ่มลูกจ้าง/แรงงานอยากฝากถึงรัฐบาลจากเหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้ คือ อันดับ 1 มีมาตรการเยียวยาผู้เสียหาย ตรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ รองลงมาคือ ตรวจสอบโรงงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ และอันดับ 3 ควรมีระบบเตือนภัยที่รวดเร็วและแนวทางการอพยพในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยบทเรียนจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนี้ที่กลุ่มลูกจ้าง/แรงงานมอง 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ควรให้ความสำคัญกับงานบรรเทาและป้องกันสาธารณภัยมากขึ้น อันดับ 2 ควรทำงานประสานกันทุกภาคส่วน ทั้งระดับรัฐบาลและท้องถิ่น และอันดับ 3 ควรมีแผนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่พร้อมใช้งาน .....


INSIGHT POLL : ทำอย่างไรคนไทยจึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้

..... ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น ประเทศไทยควรเดินหน้าอย่างไรจึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้นั้น ประชาชนกลุ่มที่มองว่ารัฐบาลแก้ปัญหาได้ถูกทางแล้วคิดว่า อันดับแรก รัฐบาลควรเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และควรให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ .....



INSIGHT POLL : “เปิดประเทศใน 120 วัน”

..... สำหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการดำเนินการเพื่อให้สามารถเปิดประเทศภายใน 120 วันตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้นั้นพบว่า กลุ่มผู้สนับสนุนมีความเห็นสอดคล้องกับผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมคือ เร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ร้อยละ 88.26 เข้มงวดเรื่องการกักตัวและการลักลอบเข้าประเทศตามแนวชายแดน ร้อยละ 77.67 และปรับแผนการบริหารจัดการวัคซีน นำเข้าวัคซีนให้หลายยี่ห้อมากขึ้น ร้อยละ 70.12 ทั้งนี้ จากข้อเสนอแนะดังกล่าวพบว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีการดำเนินการอยู่แล้ว หากแต่อาจจะยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนมากเพียงพอ จึงยังคงมีความคาดหวังที่จะให้รัฐบาลเร่งดำเนินการด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การเร่งฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชน 50 ล้านคนภายในตุลาคม 2564 .....


INSIGHT POLL : หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียนกับการเรียนออนไลน์

สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้คนไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิตใหม่ หรือที่เรียกว่า New Normal ไม่ว่าจะเป็น การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การปรับรูปแบบพฤติกรรมการกิน การเที่ยว การทำงาน หรือแม้กระทั่งการเรียนการสอนก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยกำหนดเป็นมาตรการต่าง ๆ ตามบริบท ระดับชั้น และที่ตั้งของสถานศึกษานั้น ๆ ประกอบด้วย 5 รูปแบบหลัก ๆ คือ

1) การเรียนการสอนผ่านทีวี (On-air)

2) การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online)

3) การเรียนผ่านทางเว็บไซต์ DLTV (On–demand)

4) การนำเอกสารประกอบการสอน หนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้านภายใต้ความช่วยเหลือของผู้ปกครอง (On-hand)

5) การเรียนยังที่ตั้งของสถานศึกษานั้น (On-site)

ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์นับเป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีการสื่อสารสองทาง โดยครูผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้โดยตรง ....

INSIGHT POLL : ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อสอบถามถึงปัญหาการฉีดวัคซีนของไทยในปัจจุบัน ประชาชนกลุ่มนัักเรียน/นักศึกษามีความเห็นว่า ปัญหาอันดับ 1 คือ จำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ ไม่หลากหลายยี่ห้อ ร้อยละ 84.40 อันดับ 2 บุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ ร้อยละ 73.09 และอันดับ 3 การกระจายวัคซีนล่าช้า ร้อยละ 69.11 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้ชี้ถึงปัญหาของจำนวนวัคซีนที่ไม่พอเพียงต่อจำนวนประชากรในประเทศ การกระจายวัคซีนไม่ทั่วถึง และการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์และสถานที่ในการฉีดวัคซีนมีไม่พอเพียง สอดคล้องกับนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์5 ที่ได้กล่าวความเห็นในประเด็นนี้ว่า เดิมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติมีความมั่นใจที่จะกระจายวัคซีนได้ในปริมาณ 10 ล้านโดสต่อเดือน แต่เมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่ ทำให้ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนแผน เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากถูกระดมไปรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และทรัพยากรทางการแพทย์ถูกลดทอนเพื่อนำไปแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าว จึงทำให้แผนการกระจายวัคซีนของรัฐบาลไม่เป็นไปตามที่วางเอาไว้ ......

INSIGHT POLL: ข้อมูลข่าวสารในยุคโควิด-19

ประชาชนที่เลือกติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียมีความรู้สึกเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารจาก เฟซบุ๊ก (Facebook) มากเป็นอันดับ 1 ที่ร้อยละ 52.38 รองลงมาคือ ไลน์ (Line) ร้อยละ 45.08 และทวิตเตอร์ (Twitter) ร้อยละ 35.54 ตามลำดับ เหตุผลที่เฟซบุ๊กเป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่ได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุดนั้น เนื่องมาจากปัจจุบันสำนักข่าว หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการปรับตัว โดยการหันมานำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านทางเฟซบุ๊กมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงประชาชนได้มากกว่าสื่อโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทางเฟซบุ๊กได้มากกว่าการติดตามข้อมูลข่าวสารจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น ไลน์ หรือทวิตเตอร์ ที่มีรูปแบบของการใช้งานเพื่อการส่งต่อข้อมูล หรือแชร์ข้อความระหว่างกันมากกว่าใช้เพื่อติดตามข่าวสารบ้านเมืองจากสำนักข่าว หรือหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น ........

INSIGHT POLL : สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิค-19

จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็น "สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิค-19" พบประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านสภาพจิตใจค่อนข้างรุนแรงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จำนวนค่อนข้างมาก โดยคิดเป็นร้อยละ 19.38 โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่มีความรู้สึกทนแทบไม่ได้ ร้อยละ 9.46 ไม่อยากทนและท้อถอย ร้อยละ 6.13 และท้อถอยที่สุด/เกินจะรับมือได้ ร้อยละ 3.79 ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงคุณลักษณะของประชาชนกลุ่มนี้พบว่า เป็นประชาชนที่มาจาก 3 กลุ่มอาชีพดังต่อไปนี้ อาชีพพนักงานบริษัท ร้อยละ 23.80 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 18.67 และอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 18.37 ทั้งนี้เนื่องมาจากภาวะเครียดจากการที่ต้องทำงานที่บ้านเนื่องจากต้องตื่นตัวตลอดเวลา กลัวการผิดพลาดในการติดต่องานที่อาจเข้ามาได้ตลอดเวลาผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล หรือข้อความ ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานหายไป ไม่สามารถแบ่งเวลาทำงานกับเวลาส่วนตัวได้ ทำให้รู้สึกว่าต้องทำงานตลอดเวลา ในขณะที่บางส่วนเกิดความเครียดเพราะนายจ้างลดการจ้างงาน หรือค้าขายไม่ได้ เป็นต้น .........

INSIGHT POLL : “การฉีดวัคซีนโควิด-19”

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้พบประเด็นที่น่าสนใจคือ กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา มีความรู้สึกไม่แน่ใจหรือไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ภาครัฐจัดหาให้ ซึ่งสูงกว่าประชาชนในภาพรวม โดยกลุ่มนักเรียน/นักศึกษามีความกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ใน 3 อันดับแรก คือ

  • กังวลเรื่องผลข้างเคียง

  • ไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน

  • ต้องการศึกษาผลดีผลเสียให้ละเอียดก่อนการไปฉีดวัคซีน

ทั้งนี้ สอดคล้องกับข้อมูลของกรมควบคุมโรคที่ระบุว่า การที่ประชาชนได้รัข่าวสารเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 และการวิพากษ์วิจารณ์ยี่ห้อของวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ........

INSIGHT POLL : พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home)

เมื่อพิจารณาถึงประเด็นคำถามเกี่ยวกับข้อดีของการทำงานที่บ้านพบว่า กลุ่มอาชีพครู/อาจารย์ และ นักเรียน/นักศึกษา มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับประชาชนในภาพรวม โดยมีความเชื่อว่า การทำงานที่บ้านจะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ สอดคล้องตามการคาดการณ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกมาขอความร่วมมือหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ ในการจัดรูปแบบการทำงานที่บ้านอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เพื่อช่วยลดและควบคุมการแพร่เชื้อโควิด 19 ...........

INSIGHT POLL : คนไทยกับการเอาชนะโควิด-19

เมื่อพิจารณาที่มาของเหตุผลที่กลุ่มผู้สูงอายุคิดว่าตนเองไม่ใช่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ตลอดจนไม่รู้สึกกังวลต่อข่าวสารที่ได้รับ อาจเนื่องมาจากกลุ่มผู้สูงอายุค่อนข้างให้ความสำคัญกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างสูงกว่าประชาชนในภาพรวมในทุก ๆ แนวทางการปฏิบัติตนทั้งอันดับ 5 ดังนี้

อันดับที่ 1 ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง

อันดับที่ 2 งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง/สถานที่แออัด

อันดับที่ 3 ล้างมือบ่อย ๆ

อันดับที่ 4 อยู่บ้าน/ออกข้างนอกเท่าที่จำเป็น

อันดับที่ 5 ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ

INSIGHT POLL : อาหารไทยในยุค โควิด-19

อาหารไทยส่วนใหญ่มักมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบเป็นเมนูต่าง ๆ ล้วนมาจากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพแทบทั้งสิ้น จึงเป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นในคุณค่าของ “อาหารไทย” อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมมาอย่างยาวนาน ที่นอกจากจะมีรสชาติและความอร่อยในระดับโลกแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพ สามารถป้องกันและรักษาโรคได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารเสริมสุขภาพหรือสมุนไพรนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง โดยเฉพาะในยามวิกฤติที่ผู้คนต่างเฝ้ารอความหวังจากยาแผนปัจจุบันดังเช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ณ ขณะนี้ การดูแลรักษาสุขภาพผ่านการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนคนไทยควรต้องตระหนักและหันมาให้ความสำคัญในการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพของตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า “You are What you eat...รับประทานอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” นั่นเอง ...........

INSIGHT POLL : คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ หมายถึง ประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 29 ปี และประชาชนที่มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ว่า มีความรุนแรงมากกว่าระลอกอื่น ร้อยละ 60.60 ซึ่งต่ำกว่าประชาชนในภาพรวมที่มีความคิดเห็นต่อประเด็นเดียวกันที่ร้อยละ 70.51 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่จะมีความคิดเห็นต่อความรุนแรงในการระบาดค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลกลับพบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่รู้สึกไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะรับมือได้ หรือคิดว่าไม่น่าจะรับมือสูงเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 76.72 ในขณะที่ประชาชนในภาพรวมกลับมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเดียวกันที่ร้อยละ 60.81 จึงอาจสรุปได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อมั่นต่อการทำงานของรัฐบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้ ตลอดจนอาจหมายความรวมไปถึงไม่เชื่อมั่นต่อการทำงานของรัฐบาลในด้านอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน .............

INSIGHT POLL : วันหยุดของคนไทย

จากการสำรวจพบข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ กิจกรรมอันดับ 1 ที่ประชาชนยังคงยึดถือและปฏิบัติในช่วงเทศกาลสงกรานต์แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 คือ การรดน้ำดำหัวเฉพาะผู้ใหญ่ในครอบครัว ร้อยละ 64.82 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่รัฐบาลได้ดำเนินการรณรงค์ให้ใช้มาตรการ D-M-H-T อย่างเคร่งครัด ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะดำเนินการเจาะลึกลงไปในข้อมูลดังกล่าวว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อประเมินสถานการณ์และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะใกล้เข้ามาถึงนี้

INSIGHT POLL : สงกรานต์ ในยุคโควิด - 19

จากการสำรวจพบข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ กิจกรรมอันดับ 1 ที่ประชาชนยังคงยึดถือและปฏิบัติในช่วงเทศกาลสงกรานต์แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 คือ การรดน้ำดำหัวเฉพาะผู้ใหญ่ในครอบครัว ร้อยละ 64.82 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่รัฐบาลได้ดำเนินการรณรงค์ให้ใช้มาตรการ D-M-H-T อย่างเคร่งครัด ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะดำเนินการเจาะลึกลงไปในข้อมูลดังกล่าวว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อประเมินสถานการณ์และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะใกล้เข้ามาถึงนี้

INSIGHT POLL : “การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19”

เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกในประเด็นข้อคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการ/มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐใน 5 โครงการ/มาตรการ พบว่า ประชาชนไม่มีข้อมูล/ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ/มาตรการดังกล่าวใน 3 อันดับแรก คือ

- “แพ็คเกจกำลังใจ” ร้อยละ 21.98

- “ทัวร์เที่ยวไทย” ร้อยละ 17.08

- “ชิมช้อปใช้” ร้อยละ 9.72

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในกรณี “แพ็คเกจกำลังใจ” ซึ่งเป็นโครงการ/มาตรการที่ประชาชนไม่ทราบข้อมูลมากที่สุดจะเห็นได้ว่า มีลักษณะเป็นโครงการ/มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม อสม. อสส. และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวนประมาณ 1.2 ล้านคน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเนื่องจากเป็นกลุ่มบุคลากรที่ต้องทำงานหนักมาโดยตลอดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19

INSIGHT POLL : “ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณี แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย

เมื่อพิจารณาจาะลึกลงไปในมุมมองของประชาชนต่อประเด็น “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในเรื่องใด” ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนกลุ่มผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไปค่อนข้างมีความกังวลต่อผลกระทบที่เกิดจากการอพยพของแรงงานข้ามชาติในด้านการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีความคิดเห็นในประเด็นนี้สูงมากถึง ร้อยละ 93.40 เมื่อเทียบกับความคิดเห็นของประชาชนในภาพรวมต่อประเด็นเดียวกันนี้ที่ ร้อยละ 81.41 ทั้งนี้ เนื่องมาจากประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยและมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ดังนั้น หากมีการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น

INSIGHT POLL : “ตกงาน” ปัญหาใหญ่ ของคนไทย ณ วันนี้

เมื่อพิจารณาในคุณลักษณะของกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจที่ตกงานพบว่า ส่วนใหญ่เคยประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 54.47 รองลงมา คือ พนักงานบริษัท ร้อยละ 20.79 และประกอบธุรกิจส่วนตัว/ ค้าขาย ร้อยละ 10.89 ตามลำดับ โดยสังเกตได้ว่าคนที่ตกงานส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 35.64 ซึ่งอยู่ในวัยที่เป็นเสาหลักที่สำคัญของครอบครัว ทั้งนี้จากผลการสำรวจพบว่า การตกงานได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มนี้ทั้งในด้านภาวะจิตใจและด้านเศรษฐกิจ คือทำให้เกิดความเครียด/วิตกกังวล ร้อยละ 65.35 เนื่องจากการตกงานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดสูงและเป็นที่มาของความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งหากตกอยู่ในภาวะเครียด กดดัน เป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านอารมณ์ และอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

ติดตามบทวิเคาระห์ INSIGHT POLL : “ตกงาน” ปัญหาใหญ่ ของคนไทย ณ วันนี้

ติดตามบทวิเคาระห์ INSIGHT POLL : ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19

INSIGHT POLL : ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19

ภายหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ได้พบว่า นอกจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันครอบครัวทั้งทางบวกและลบอีกด้วย ผลกระทบทางบวก อาทิเช่น ทำให้มีเวลาและทำกิจกรรมภายในครอบครัวมากขึ้น ในขณะที่ ผลกระทบทางลบ อาทิเช่น ปัญหาการว่างงานซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและทำลายความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดต่อครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าปัญหา 3 อันดับแรกที่มีผลกระทบต่อครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 มากที่สุด คือ หนี้สิน คนในครอบครัวตกงาน/ว่างงาน และความเครียด/โรคซึมเศร้า ดังนั้น เมื่อทำ

การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวในเชิงลึกต่อไป พบว่า กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัวจากปัญหาดังกล่าว

INSIGHT POLL : จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล

นับตั้งแต่เหตุการณ์ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 63 กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ออกมาแสดงออกทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านการชุมนุมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การชุมนุมทางการเมืองดังกล่าว มีหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเฉพาะเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเป็นห่วงกังวลว่า สถานการณ์จะยืดเยื้อต่อไป “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในประเด็น จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะประชาชนที่เห็นด้วยกับการชุมนุม พบว่ากลุ่มคนดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีอายุต่ำกว่า 20 ไปจนถึง 29 ปี โดยประชาชนกลุ่มที่เห็นด้วยกับการชุมนุมรู้สึก “ไม่เห็นด้วย” ต่อท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อการชุมนุม

ทั้งนี้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมีความเห็นเกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อการชุมนุม

3 อันดับ

อันดับที่ 1 มีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ/ใช้มาตรการที่รุนแรง

อันดับที่ 2 ไม่รับฟัง/ไม่ให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม

อันดับที่ 3 เน้นการสกัดกั้นการชุมนุม/จับกุมแกนนำ

ติดตามบทวิเคาระห์ INSIGHT POLL : จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล

ติดตามบทวิเคาระห์ INSIGHT POLL : มาตรการเยียวยาโควิด-19ระลอกใหม่ของรัฐบาล

INSIGHT POLL : มาตรการเยียวยาโควิด-19ระลอกใหม่ของรัฐบาล


นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการเยียวยาโควิด-19 ผ่านโครงการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่ง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน

ทั่วประเทศ แล้วนั้น หากเลือกพิจารณาเฉพาะประเด็นความไม่พึงพอใจของประชาชน เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะพบว่า ประชาชนรู้สึกไม่พึงพอใจต่อมาตรการเยียวยา คิดเป็นร้อยละ 12.05 โดยกลุ่มคนที่รู้สึกไม่พึงพอใจ 3 ลำดับแรก คือ กลุ่มเพศทางเลือก กลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพครู และกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย


INSIGHT POLL : “ประชาชนคิดอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 10 รัฐมนตรี”


“สวนดุสิตโพล” สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ มีประเด็นผลการสำรวจที่น่าสนใจ จากประเด็นคำถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ “รัฐบาล” หลังจากผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่า ประชาชนรู้สึกไม่เชื่อมั่นหรือเชื่อมั่นต่อรัฐบาลน้อยลง ซึ่งเมื่อพิจารณาตามคุณลักษณะของประชาชนกลุ่มนี้พบว่า เป็นกลุ่มคน “อายุน้อยกว่า 29 ปี” และ เป็น “นักเรียน/นักศึกษา”


ติดตามบทวิเคาระห์ INSIGHT POLL : ประชาชนคิดอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 10 รัฐมนตรี

ติดตามบทวิเคราะห์ Insight Poll : แรงงานเถื่อนกับโควิด-19

INSIGHT POLL : แรงงานเถื่อนกับโควิด - 19


ปัจจุบัน ประมาณการว่ามีแรงงานต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยแบบถูกกฎหมายประมาณ 2.5 ล้านคน ส่วนอีก 5 แสนคน เข้ามาโดยผิดกฎหมาย ทำให้หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถตรวจสอบและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้โดยง่าย จากปัญหาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “แรงงานเถื่อนกับโควิด-19”

โดยผลจากการสำรวจพบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

- ประเด็นที่ 1 ประชาชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมองถึงสาเหตุของปัญหาแรงงานเถื่อนลักลอบเข้าประเทศจนทำให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แตกต่างจากประชาชนในภาพรวม

- ประเด็นที่ 2 ประชาชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมองถึงสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาแรงงานเถื่อนแตกต่างจากประชาชน

ในภาพรวม

- ประเด็นที่ 3 ประชาชนมองถึงผลลัพธ์ของโครงการเปิดลงทะเบียนผ่อนผันแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเป็นกรณีพิเศษไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กระทรวงแรงงานตั้งไว้

INSIGHT POLL : คนไทยคิดอย่างไรกับการเปิด “บ่อนพนัน”


“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเปิดบ่อนพนัน โดยทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 27 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชนในกรณีคนไทยคิดอย่างไรกับการเปิด “บ่อนพนัน” โดยพบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

- ประเด็นที่ 1 ประชาชนเพศชายเห็นด้วยกับการเปิดบ่อนพนันถูกกฎหมายสูงกว่าประชาชนเพศอื่น ๆ ค่อนข้างมาก

- ประเด็นที่ 2 ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนพนันถูกกฎหมายมองเห็นผลดีของการเปิดบ่อนพนันถูกกฎหมายสอดคล้องกับประชาชนในภาพรวม

- ประเด็นที่ 3 ประชาชนกลุ่มที่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนพนันถูกกฎหมาย เป็นกลุ่มที่ไม่สนใจจะไปใช้บริการหากมีบ่อนพนันถูกกฏหมายมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

ติดตามบทวิเคราะห์ Insight Poll : คนไทยคิดอย่างไรกับการเปิด “บ่อนพนัน”

INSIGHT POLL : คนไทยกับวัคซีนโควิด-19


จากสถานการณ์ด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ภายในประเทศ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อคนไทยกับวัคซีนโควิด-19 โดยพบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

- ประเด็นที่ 1 ประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับบริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 มากกว่าประชาชนในต่างจังหวัด

- ประเด็นที่ 2 ประชาชนกลุ่มที่ไม่เชื่อมั่นว่าวัคซีนจะสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ มีความต้องการที่จะฉีดวัคซีนเช่นเดียวกันกับผู้ตอแบบสอบถามในภาพรวม

- ประเด็นที่ 3 ประชาชนกลุ่มที่ไม่เชื่อมั่นว่าวัคซีนจะสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ มีความกังวลในเรื่องเดียวกันกับผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวม

ติดตามบทวิเคราะห์ Insight Poll : คนไทยกับวัคซีนโควิด-19

INSIGHT POLL : "ความสุขในยุคโควิด-19"

จากประเด็นความสำคัญของความสุขในยุคโควิด-19 ดังกล่าว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความสุขจากความทุกข์ในช่วงโควิด-19 ซึ่งพบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

- ประเด็นที่ 1 กลุ่มนักเรียน นักศึกษามีความสุขจากการที่มีเวลาให้ตัวเอง ได้ปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ และพัฒนาทักษะเทคโนโลยี

- ประเด็นที่ 2 กลุ่มอาชีพลูกจ้าง/แรงงานมีความสุขที่ตนเองยังมีงานทำและไม่ถูกเลิกจ้าง

- ประเด็นที่ 3 ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลกับประชาชนในต่างจังหวัดมีมุมมองในประเด็นที่ทำให้เกิดความสุขแตกต่างกัน

ติดตามบทวิเคราะห์ Insight Poll : "ความสุขในยุคโควิด-19"

INSIGHT POLL : "ดัชนีครูไทย ปี 2563 ครูไทยในยุคโควิด-19"

จากการสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่ครูควรต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในสังคมที่ต้องการให้ครูเรียนรู้ทักษะด้านเทคโนโลยี การใช้สื่อการสอน หรือวิธีการสอนใหม่ ๆ รวมทั้งการเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ ให้ความรักและความเข้าใจกับนักเรียน

ติดตามบทวิเคราะห์ Insight Poll : "ดัชนีครูไทย ปี 2563 ครูไทยในยุคโควิด-19"

INSIGHT POLL : เด็กไทยในสายตาประชาชน

INSIGHT POLL : ที่สุดแห่งปี 2563

INSIGHT POLL : สิ่งที่ประชาชนได้รับจากการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2563

INSIGHT POLL : การดูแลสุขภาพของคนไทยในปี 2020