ผลการสำรวจ

Suan Dusit Poll 

TwitterFacebook

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี คนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566 

“คนไทยกับการเมืองไทยหลังจากได้ประธานสภา” 

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “คนไทยกับการเมืองไทยหลังจากได้ประธานสภา” พบว่า ความเห็นต่อการเมืองไทยในช่วงนี้ คือ อยากเห็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่และรัฐบาลใหม่โดยเร็ว โดยมองว่าปัญหาและอุปสรรคของ “รัฐบาลใหม่” คือ การจัดสรรตำแหน่งไม่ลงตัว มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ทั้งนี้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ควรคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของพรรคการเมือง นอกจากนี้ คาดว่า “การเลือกนายกรัฐมนตรี” ไม่น่าจะราบรื่น และหากได้รัฐบาลใหม่แล้ว ก็อยากให้เร่งแก้ไขปัญหาปากท้อง ค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพ ส่วนความในใจของประชาชนที่อยากบอก “รัฐบาลใหม่” คือ ขอให้ตั้งใจทำงาน ร่วมมือกันพัฒนาประเทศ สร้างผลงานให้เป็นรูปธรรม  

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

“พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้”  จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22  มิถุนายน 2566 พบว่า ประชาชนคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมประชาธิปไตยระดับมาก ร้อยละ 50.78 โดยมองว่าประเทศไทย ณ วันนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยระดับปานกลาง ร้อยละ 48.54  ทั้งนี้เห็นว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยแสดงออกได้โดยการเคารพในสิทธิ หน้าที่ และความเห็นของผู้อื่น ร้อยละ 92.69 ความสำคัญของพฤติกรรมประชาธิปไตยทำให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็น มุมมอง และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ร้อยละ 75.29 อุปสรรคของการมีพฤติกรรมประชาธิปไตย คือ การถูกแทรกแซง ควบคุมอำนาจ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 70.57 ส่วนการส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง ร้อยละ 72.27 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทย กับ 

ความหลากหลายทางเพศ 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “คนไทยกับความหลากหลายทางเพศ” จำนวนทั้งสิ้น 1,017 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 พบว่า  ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างรู้ว่าเดือนมิถุนายนเป็นเดือน Pride Month ร้อยละ 54.28 และไม่รู้ ร้อยละ 45.72 โดยมองว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้าง ยอมรับในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ร้อยละ 54.92 และให้การยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศ ร้อยละ 84.56 โดยมองว่าสังคมไทยตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับ “กลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)” ในระดับมาก ร้อยละ 49.95 ทั้งนี้เคยพบเห็นปัญหาการเหยียด ทำร้ายร่างกายและจิตใจต่อบุคคลกลุ่มหลากหลายทางเพศ ร้อยละ 47.00 โดยร้อยละ 75.41 เห็นด้วยว่าสังคมไทยปัจจุบันควรมีกฎหมายรับรองกลุ่มหลากหลายทางเพศ  

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

"คนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ 

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี คนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566 พบว่า จากการเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนสนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 72.63  ณ วันนี้ ประชาชนรู้สึกเครียดกับเรื่องปากท้อง/ค่าใช้จ่ายมากที่สุด ร้อยละ 52.14 รองลงมาคือ การจัดตั้งรัฐบาล ร้อยละ 51.90 ทั้งนี้เมื่อมีความรู้สึกเครียดจะแก้ปัญหาด้วยการคุยกับเพื่อน คนรัก คนที่ไว้ใจได้ ร้อยละ 46.38 เมื่อสอบถามว่าประชาชนมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่ พบว่า กังวล ร้อยละ 67.83 เนื่องจากกลัวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน พรรคที่ได้เสียงข้างมากอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน มีการเล่นเกมการเมืองมากเกินไป และกังวลการโหวตของ ส.ส. และ ส.ว. ส่วนความเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นไปด้วยความราบรื่น พบว่า ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 58.33 และเชื่อมั่น ร้อยละ 41.67 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

"คนไทยกับการเลือกตั้งใหญ่ 

14 พ.ค. 2566

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สรุปคาดการณ์จำนวนที่นั่ง ส.ส. ในศึกเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างวันที่ 1 – 6 พฤษภาคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น 162,487 ตัวอย่าง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลทางภาคสนามด้วยแบบสอบถามแบบปลายปิดที่ระบุชื่อผู้สมัครและพรรค และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละเขตเลือกตั้งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 


 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

"คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด" (ก่อนเลือกตั้ง) 

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด" (ก่อนเลือกตั้ง) โดยสำรวจจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 162,454 คน พบ พรรคการเมืองที่นิยมมากที่สุดในช่วงก่อนเลือกตั้ง คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 41.37 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 19.32 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 9.55 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.48 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.49 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 7.30 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 2.41 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.74 พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 1.25 และพรรค อื่น ๆ ร้อยละ 1.09 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

“นายกรัฐมนตรีคนใหม่” 

ในสายตาประชาชน  

สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “นายกรัฐมนตรีคนใหม่” ในสายตาประชาชน พบว่า เมื่อพิจารณาตามประเด็นต่าง ๆ คนที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีในความเห็นของประชาชน คือ

1 ) ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คือ แพทองธาร ชินวัตร   25.35%

2 ) ช่วยสร้างสังคมให้มีความสุข คือ แพทองธาร ชินวัตร   22.29%

3 ) ช่วยปราบปรามยาเสพติด คือ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส   34.90%

4 ) ช่วยการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์   20.91%

5 ) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการประชาชน คือ แพทองธาร ชินวัตร   25.36%

6 ) ช่วยส่งเสริมพัฒนาด้านการศึกษา คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์   22.24%

7 ) ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ   19.42%

8 ) ช่วยประสานงานจัดตั้งรัฐบาลได้ราบรื่น คือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ   19.24%

9 ) ประสานระหว่างประชาชนกับทหาร คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา   20.19%

10 ) ช่วยจรรโลงศาสนา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา   16.24%

11 ) ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับอารยประเทศ คือ แพทองธาร ชินวัตร   24.38%

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

“คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด” (ก่อนยุบสภา)  

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ กรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด” (ก่อนยุบสภา) พบว่า พรรคที่คนไทยนิยมเป็นอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 46.16 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 15.43 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.12 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.73 และพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 7.71 เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 18 – 30 ปี นิยมพรรคก้าวไกลมากที่สุด ร้อยละ 37.85 ส่วนกลุ่มอายุ อื่น ๆ นิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด ส่วนภาคใต้นิยมพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด ร้อยละ 24.71 ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 21.72     

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทยกับ “ข่าวการเมือง” ณ วันนี้  

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณี “คนไทยกับข่าวการเมือง ณ วันนี้” พบในช่วงนี้ประชาชนสนใจข่าวการเมืองเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ คือ การเลือกตั้ง รองลงมาคือ การเปิดโปงข้อมูลหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง โดยข่าวการเมืองที่ไม่ชอบหรือเบื่อ คือ การใส่ร้ายป้ายสี ทะเลาะกันไปมา ทั้งนี้ข่าวการเมืองในช่วงนี้มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. และเชื่อถือข่าวการเมืองจากโซเชียลมีเดียมากที่สุด    

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

ประชาชนคิดอย่างไร กับ ศึกเลือกตั้ง 2566 

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณี “ประชาชนคิดอย่างไร กับ ศึกเลือกตั้ง 2566” พบประชาชนคิดว่า คุณสมบัติของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่อยากได้ อันดับ 1 คือ เป็นคนที่เข้าถึงประชาชน ช่วยเหลือประชาชน รองลงมาคือ ความคิดทันสมัย วิสัยทัศน์กว้างไกล  ในด้านนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่โดนใจประชาชน อันดับ 1 คือ เน้นเศรษฐกิจ ค่าแรง 600 บาทต่อวัน ปริญญาตรีเงินเดือน 25,000 บาท บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีทั่วประเทศ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ยาเสพติดหมดไป ฯลฯ  รองลงมาคือ รื้อ ลด ปลด สร้าง  โดยผลงาน/โครงการของพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ครั้งนี้ คือ สิทธิสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ รองลงมาคือ การขึ้นค่าแรง  และการปรับโครงสร้างหนี้ ลดหนี้   

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

มุมมองความรักของคนไทย ณ วันนี้

สวนดุสิตโพล ร่วมกับ หลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำการศึกษาในหัวข้อ “มุมมองความรักของคนไทย ณ วันนี้” เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแบบผสมผสานระหว่างการสำรวจข้อมูลทางออนไลน์และการเสวนากลุ่ม โดยผลการสำรวจทางออนไลน์  พบปัจจุบันคนไทยมีทัศนคติ มุมมองต่อความรักแตกต่างจากสมัยก่อน โดยมองว่าการมี “ความรักแบบคนรัก” เป็นสิ่งจำเป็นมาก ทั้งนี้ส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์หรือเคยเจอความสัมพันธ์แบบแย่ ๆ (Toxic relationship) ส่วนการแสดงความรัก ปกติแล้วมักแสดงความรักด้วยการใช้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกัน  วิธีการรักษา/ถนอมความรัก คือ เข้าใจกัน รับฟังอย่างมีเหตุผล  ในวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรักที่จะถึงนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,528.95 บาท/ต่อคน ของขวัญที่อยากได้ในวันวาเลนไทน์อันดับ 1 คือ ดอกไม้ ช่อดอกไม้ รองลงมาคือ รับประทานอาหารด้วยกัน  และเงิน  

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

เยาวชนไทยกับอนาคต

การพัฒนาประเทศ 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ศูนย์การศึกษาลำปาง ทำการศึกษาในหัวข้อ “เยาวชนไทยกับอนาคตการพัฒนาประเทศ”  พบว่า “เยาวชนไทยคนรุ่นใหม่” ณ วันนี้ มีความเป็นตัวเองสูง มั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก  จุดเด่นของเยาวชนไทย คือ เก่งเทคโนโลยี การใช้สื่อโซเชียลต่าง ๆ  สิ่งที่เป็นห่วง/กังวลเกี่ยวกับเยาวชนไทย คือ การใช้สื่อในทางที่ไม่เหมาะสม ใช้ในทางที่ผิด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนไทย คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว สิ่งที่อยากบอกกับเยาวชนไทย คือ เป็นคนดี ทำในสิ่งที่รักและเป็นสิ่งที่ดี สุดท้ายประชาชนเชื่อมั่นว่าเยาวชนไทย ณ วันนี้จะเป็นอนาคตของชาติในการพัฒนาประเทศ 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

“ดัชนีครูไทย ปี 2565”

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ดัชนีครูไทย ปี 2565 เป็นปีที่ 18 พบว่า ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2565 ที่ 7.52 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บุคลิกภาพดี แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ เฉลี่ย 7.82 คะแนน รองลงมาคือ มนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ เฉลี่ย 7.73 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้สิน เฉลี่ย 6.50 คะแนน จุดเด่นของครูไทย ในปีนี้ คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีทักษะใหม่ๆ ส่วนจุดด้อย คือ การมีภาระงานมาก ทั้งนี้ประชาชนมองว่า “ครูไทย” จะต้อง “ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ปรับตัวเร็ว แก้ปัญหาไว” จึงจะพลิกโฉมการศึกษาไทยได้

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

“ที่สุดแห่งปี 2565”

"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี “ที่สุดแห่งปี 2565” โดยได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 7,239 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) พบว่า #เหตุการณ์ที่สุดแห่งปี2565 คือ เรื่องของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง  #นักร้องเพลงไทยสากลชายที่สุดแห่งปี คือ นนท์ ธนนท์  #นักร้องเพลงไทยสากลหญิงที่สุดแห่งปี คือ โบกี้ไลอ้อน  #นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี คือ ก้อง ห้วยไร่  #นักร้องลูกทุ่งหญิงที่สุดแห่งปี คือ ต่าย อรทัย  #ดาราชายที่สุดแห่งปี คือ นาย ณภัท #ดาราหญิงที่สุดแห่งปี คือ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก  #นักกีฬาชายที่สุดแห่งปี คือ บัวขาว บัญชาเมฆ  #นักกีฬาหญิงที่สุดแห่งปี  คือ เทนนิส พาณิภัค  #นักการเมืองชายที่สุดแห่งปี คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  #นักการเมืองหญิงที่สุดแห่งปี คือ แพทองธาร ชินวัตรร #นักการศึกษาที่สุดแห่งปี คือ รศ.สุขุม นวลสกุลร #ผู้ทรงอิทธิพลของไทยแห่งปี คือ สรยุทธ สุทัศนะจินดา  และ #ความหวังในปี2566 คือ อยากให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

นักการเมืองไทย... 

ไปทางไหนดี

 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง นักการเมืองไทย... ไปทางไหนดี พบกลุ่มตัวอย่างมองว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังเหมือนเดิม และแย่ลง โดยนักการเมืองที่ประชาชน "อยากได้" คือ มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว

ส่วนพฤติกรรมนักการเมืองแบบที่ "เบื่อหน่าย" หรือ "อยากให้หมดไป" คือ การพูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี

ในส่วน “พรรคการเมือง” ที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข คือ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

สุดท้ายแนวทางที่คิดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

อาหารไทย...

เอกลักษณ์ไทย

 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย พบเอกลักษณ์ของอาหารไทย คือ ความพิถีพิถัน ความประณีตสวยงาม รองลงมาคือ อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ส่วนเมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย อันดับ 1 คือ “ต้มยำกุ้ง” รองลงมาคือ "ผัดไทย"ร ซึ่งสิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย คือ การรักษาสูตรต้นตำรับและรสชาติดั้งเดิม โดยมองว่าภาครัฐควรส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft Power  ทั้งนี้หน่วยงานที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทย คือ คนไทยทุกคน รองลงมาคือ กระทรวงวัฒนธรรม สุดท้ายมองว่าการประชุมเอเปค 2022 ที่จบไปนั้นช่วยส่งเสริม “อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย” ได้ค่อนข้างมาก   

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทยกับเทศกาล

ลอยกระทง

 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ (ออนไลน์) เรื่อง คนไทยกับเทศกาลลอยกระทง พบว่า ในปีนี้ประชาชนส่วนใหญ่สนใจร่วมงานลอยกระทง โดยจะไปร่วมงานเทศกาลลอยกระทงตามสถานที่ท่องเที่ยวหรือที่มีการจัดงาน โดยสิ่งที่ประชาชนจะอธิษฐานในวันลอยกระทง คือ ขอให้ครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ทั้งนี้มองว่าเทศกาลลอยกระทงในปัจจุบันยังเป็นการช่วยสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยได้ และคิดว่าเทศกาลลอยกระทงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้  ซึ่งจากเหตุการณ์ “อิแทวอน” เกาหลีใต้ บทเรียนที่ควรนำมาใช้ในการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ของไทย คือ ควรมีการจัดระเบียบ กำหนดพื้นที่และจำนวนคนให้เหมาะสม รองลงมาคือ มีการเตรียมพร้อมรับมือ มีการแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็ว  

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คำตอบท่องเที่ยวไทย

หลังโควิด-19     

 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ (สำรวจทางออนไลน์) พบสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยในช่วงสิ้นปีนี้จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จังหวัดที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุดในช่วงสิ้นปี-ปีใหม่นี้  คือ เชียงใหม่ ส่วนใหญ่สนใจการท่องเที่ยวแบบเน้นการพักผ่อน พักโรงแรมที่สวยงาม สะดวกสบาย ปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น คือ ค่าใช้จ่ายเหมาะสม คุ้มค่า  ทั้งนี้รัฐบาลควรเร่งดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ กระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ  ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง ทั้งนี้ ประชาชนมากกว่าครึ่งมีการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายปีในประเทศ (คาดการณ์ ใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยประมาณ 11,977 บาท) มากกว่าต่างประเทศ (คาดการณ์ใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยประมาณ 75,900 บาท) 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

ของแพงกับคนจน    

 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในหัวข้อ "ของแพง" กับ "คนจน" พบ ณ วันนี้รายได้ของประชาชนไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยสินค้าที่คิดว่า “แพง” เกินกว่าที่จะรับได้ อันดับ 1 คือ ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง รองลงมาคือ ค่าน้ำ ค่าไฟ สิ่งที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการ คือ ควบคุมราคาสินค้า ลดราคาสินค้า รองลงมาคือ ลดภาษีน้ำมัน กรณี “คนจน” เพิ่มเป็น 20 ล้านคน มองว่าเพราะของแพงทำให้คนมีเงินไม่พอใช้ รองลงมาคือ คนตกงานมากขึ้น ไม่มีรายได้ สิ่งที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ คือ สร้างโอกาส สร้างรายได้ เน้นการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว รองลงมาคือ ควรแก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในภาพรวมประชาชนคิดว่ารัฐบาลไม่น่าจะแก้ปัญหา “คนจน” ได้ และปัญหา “ของแพง” ก็ไม่น่าจะแก้ไขได้เช่นกัน 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทยกับการควบคุมอารมณ์    

 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง คนไทยกับการควบคุมอารมณ์  พบ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงและต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ประชาชนมักจะใช้วิธีการทำใจยอมรับ เรื่องที่มักทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ คือ การมีปัญหาสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ไม่สบาย  รองลงมา คือ ปัญหาเรื่องเงิน  เวลาที่เครียด โกรธ โมโห สิ่งที่จะทำ คือ ตั้งสติ รองลงมาคือ ยอมรับและเผชิญกับความเป็นจริง  จากข่าวความรุนแรงในสังคมปัจจุบัน ประชาชนมองว่าน่าจะเกิดจากการถูกกดดัน เครียด ขาดสติ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ รองลงมาคือมองว่าสุขภาพจิตของคนในสังคมแย่ลง และจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมองว่าตนเองยังทนได้

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

ประชาชนคิดอย่างไร กับ บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชัน  

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เรื่องประชาชนคิดอย่างไร กับ บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชัน พบว่า การให้บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันในปัจจุบัน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชน บริการหลากหลายมากขึ้น รองลงมาคือ สะดวกสบาย สามารถเรียกใช้บริการจากที่ไหนหรือเวลาไหนก็ได้ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เห็นด้วยหากกรมการขนส่งทางบกจะมีการจัดระเบียบให้บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันสามารถดำเนินการได้อย่างถูกกฎหมาย ผู้ให้บริการจะเป็นใครก็ได้ เปิดโอกาสให้ทั้ง 2 กลุ่ม (วินมอเตอร์ไซค์ป้ายเหลืองและบุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชันป้ายดำ) สามารถให้บริการได้อย่างเสรี สิ่งที่คาดหวังต่อบริการรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชัน คือ การพัฒนา ปรับปรุงบริการและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ มีจำนวนคนขับให้บริการเพียงพอกับความต้องการ โดยอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกกฎหมายคุ้มครองดูแลทั้งผู้ขับขี่และผู้ใช้บริการ รองลงมาคือ กวดขันเรื่องการขับขี่ปลอดภัย มีวินัย เคารพกฎจราจร

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

สัญญาณเลือกตั้งใหญ่ 

ปี 2566 

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องสัญญาณการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 พบว่าจากกระแสข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงนี้ ทำให้ประชาชนสนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น และมองว่าข่าวที่อาจจะมีการ “ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่” น่าจะเป็นไปได้ คิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้สมัครในพรรคฝ่ายค้านน่าจะได้เปรียบ เรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงก็น่าจะมากขึ้นร สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือก ส.ส. ครั้งต่อไป คือ พรรคที่สังกัด รองลงมาคือ ตัวผู้สมัคร ทั้งนี้ประชาชนคิดว่าการทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ของพรรคการเมืองและ ส.ส. มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไปอย่างมากสูง และสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากนี้จะร้อนแรงมากขึ้น โดยการเมืองเชิงสร้างสรรค์ที่ประชาชนอยากเห็นคือ นักการเมืองต้องทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและประชาชน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

โลกยุคใหม่ ครูไทย...

ไปทางไหนดี ?

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง โลกยุคใหม่ ครูไทย...ไปทางไหนดี ?  พบประชาชนคิดว่าปัญหาการศึกษาไทย ณ วันนี้ เกิดจาก ความเหลื่อมล้ำทางสังคม รองลงมาคือ การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเห็นด้วยว่าในช่วงโควิด-19 “ครูไทย” ปรับตัวได้ดีทันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา “ครูไทย”  คือ เงินเดือนและค่าตอบแทน  รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โควิด-19  ทั้งนี้ครูไทยที่ดีควรรักในอาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู  รองลงมาคือ กล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ  ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการแบบเดิม ๆ  และประชาชนมองว่าอาชีพครูยังเป็นอาชีพที่คนอยากเป็น  

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

"คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง"

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศในประเด็น "คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง" พบประชาชนกว่าร้อยละ 50 ค่อนข้างวิตกกังวล โดยมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงอยู่บ้าง แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด คือ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลทั้ง 2 โรค พอ ๆ กัน ทั้งนี้มองว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้  โดยอยากให้รัฐบาลประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือแนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน  

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

การดูแลสุขภาพของคนไทย ณ วันนี้ 

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในประเด็น "การดูแลสุขภาพของคนไทย ณ วันนี้" พบ โควิด-19 ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น ส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ , กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่  ทั้งนี้คิดว่าการมีสุขภาพดีควรเริ่มต้นด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการดูแลสุขภาพเพื่อการชะลอวัย (Anti-Aging) มีความจำเป็น  ส่วนในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของตนเองมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 2,129.07 บาท สิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอันดับ 1 คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ รองลงมาคือ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม  

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทา

ประชาชนคิดอย่างไร กับ 

การจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องประชาชนคิดอย่างไร กับการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วาางใจพบส่วนใหญ่มองว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยสนใจติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมีขึ้น ทั้งนี้อยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจประเด็นผลงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด  สิ่งที่อยากเห็นจากการอภิปราย คือ เนื้อหาที่นำมาอภิปรายไม่ซ้ำ ค้านอย่างมีเหตุผล มีหลักฐาน  ส่วนสิ่งที่ไม่อยากเห็น คือ การโต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้ง การประท้วงบ่อยครั้ง และมองว่าการอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้นอาจจะมีผลให้เกิดการยุบสภา โดยรัฐมนตรีที่ควรจะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ อันดับ 1 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รองลงมา คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  อันดับ 3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทย กับ “กัญชาเสรี”  

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในประเด็น คนไทย กับ "กัญชาเสรี" พบหลังจากมีการปลดล็อกกัญชาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ประชาชนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวล  โดยมองว่าการปลดล็อกกัญชามีผลเสียมากกว่าผลดี  ผลดี คือ เป็นการใช้ประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์, มูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่วนความกังวล คือ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ที่เหมาะสม, เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้ง่าย อยากรู้อยากลอง สิ่งที่ควรดำเนินการ ณ วันนี้ คือ จำกัดการใช้โดยเฉพาะเยาวชน สถานศึกษาควรเป็นแหล่งปลอดกัญชา, มีมาตรการเฝ้าระวัง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้ในอาหาร  ทั้งนี้ประชาชนคิดว่าการปลดล็อกกัญชาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองแน่นอน

#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll  #กัญชาเสรี #สายเขียว

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทยกับ Soft Power

  “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในประเด็น "คนไทยกับ Soft Power" พบประชาชนมองว่าการผลักดันนโยบาย Soft Power ของไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง Soft Power ที่ควรส่งเสริม คือ ท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณีไทย รองลงมา คือ  อาหารไทย ขนมไทย ทั้งนี้คาดว่า Soft Power น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้  จุดเด่นของ Soft Power ไทย คือ หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง ปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญ วางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง

#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #SoftPower #ท่องเที่ยวไทย #อาหารไทย #ขนมไทย #ประเพณีไทย #ชุดไทย #ผ้าไทย #นวดแผนไทย #มวยไทย #polltalkexclusive

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทย กับ

 "โลกดิจิทัล" 

  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วเรื่อง “คนไทยกับโลกดิจิทัล” พบส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียมากที่สุด รองลงมาคือชำระเงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยมองว่า “โลกดิจิทัล” ไม่ได้สร้างความลำบากและวุ่นวาย ในโลกออนไลน์เคยพบปัญหาการส่งต่อเฟคนิวส์ คลิปหรือข้อมูลความเชื่อผิด ๆ มากที่สุด รองลงมาคือมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน วิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล คือ ต้องมีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ สิ่งที่คาดหวังโลกดิจิทัลสำหรับคนไทย คือ ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ระบบไม่ล่ม ไม่ติดขัด รองลงมาคือ คนไทยเข้าถึงโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในภาพรวมประชาชนพร้อมแล้วกับการเป็นคนไทยในโลกดิจิทัล


#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #โลกดิจิทัล #ดิจิทัล

#DigitalTechnologo #digilife #fintech #socialmedia 

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

ควันหลงเลือกตั้ง

ผู้ว่าฯ กทม.   

   สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ กรณี ควันหลงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบคนกรุงเทพฯ มองว่าการที่คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยคะแนนเสียงจำนวนมาก เพราะคนกรุงเทพฯ ต้องการการเปลี่ยนแปลง รองลงมาคือ นโยบายดี น่าจะทำได้จริง โดยมองว่า ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่จะเปลี่ยนเมืองหลวงกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นได้ ซึ่งผลการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.ครั้งนี้ค่อนข้างมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในภาพใหญ่  ภาพรวมค่อนข้างพอใจต่อการจัดการเลือกตั้งของ กกต. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากถึง ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่  คือ ขอให้ทำตามที่หาเสียงไว้ รักษาสัญญา รองลงมาคือ แก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น จราจร น้ำท่วม


#สวนดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #ดุสิตโพล #เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม #การเลือกตั้ง #เลือกตั้งกทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพ #เลือกตั้งกรุงเทพ #คนกรุงเทพ #ชัชชาติสิทธิพันธุ์

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

โค้งสุดท้ายการเลือกตั้ง

ผู้ว่าฯ กทม.  

   สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า คนกรุงเทพฯ มากกว่า 80% จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยจะตัดสินใจเลือกจากนโยบาย รองลงมาคือ ขยัน ตั้งใจทำงาน ทั้งนี้คนกรุงเทพฯ ยังคงให้ความสนใจผู้สมัครอิสระ การที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เข้าร่วมดีเบตค่อนข้างมีผลต่อการตัดสินใจ  ส่วน 5 อันดับ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่ชื่นชอบมากที่สุด ณ วันนี้ คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รองลงมา คือ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  / อัศวิน ขวัญเมือง / วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และสกลธี ภัททิยกุล ตามลำดับ โดยมองว่าคะแนนนิยมจากการทำโพลสำนักต่าง ๆ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ และในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งจะไม่เปลี่ยนใจจากผู้สมัครที่เลือกไว้ 


#สวนดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #ดุสิตโพล #เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม #การเลือกตั้ง #เลือกตั้งกทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพ #เลือกตั้งกรุงเทพ #คนกรุงเทพ

 

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

ในสายตาคนกรุงเทพฯ 

   สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสายตาคนกรุงเทพฯ  พบคนกรุงเทพฯ จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งแแน่นอน ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จากโทรทัศน์ รองลงมาคือ ป้ายโปสเตอร์ ป้ายประกาศ ป้ายหาเสียง โดยให้ความสนใจผู้สมัครอิสระ รองลงมาคือ ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง ทั้งนี้จะตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ จากนโยบาย รองลงมาคือ ขยัน ตั้งใจทำงาน การหาเสียงของผู้สมัครในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจมาก  ณ วันนี้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่ชื่นชอบ คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รองลงมาคือ อัศวิน ขวัญเมือง,  สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  และมองว่าคะแนนนิยมจากการทำโพลสำนักต่าง ๆ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. 

#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #การเลือกตั้ง #ผู้ว่าฯกทม #คนกรุงเทพ

 #สังคมไทย

ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 

    สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี "การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19" พบในยุคโควิด-19 คนไทยพูดคุยกับคนในครอบครัวเป็นประจำทุกวัน  เวลาที่มีปัญหาคนที่อยากพูดคุยด้วยมากที่สุด คือ สามี/ภรรยา รองลงมาคือ เพื่อน/แฟน  เรื่องที่มักจะพูดคุยคือเรื่องทั่วไป สารทุกข์สุขดิบ ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยกับคนในครอบครัวทำให้รู้สึกสบายใจมาก, ทำให้เกิดความห่วงใยผูกพันกันมากขึ้น โดยมองว่าการที่คนในครอบครัวไม่ค่อยได้พูดคุยกันเป็นเพราะไม่มีเวลา เวลาไม่ตรงกัน วิธีการที่จะทำให้คนในครอบครัวพูดคุยสื่อสารเข้าใจกันได้มากขึ้น คือ ต้องเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รองลงมาคือ ทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยกัน


#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #ครอบครัวไทย #สังคมไทย #การสื่อสารในครอบครัว #การพูดคุยในครอบครัว


ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทย กับ "หวย"

    สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง คนไทย กับ "หวย" พบประชาชนส่วนใหญ่ชอบเสี่ยงโชค ซื้อหวย นิยมซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล มากที่สุด รองลงมาคือ หวยใต้ดิน  โดย สาเหตุที่ซื้อ คือ หวังถูกรางวัล หวังรวย  ปัญหาที่พบจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ ผู้ขายขายเกินราคา  สิ่งที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการคือ แก้ปัญหายี่ปั๊ว ซาปั๊ว รองลงมาคือ เพิ่มบทลงโทษให้หนักกรณีขายเกินราคา  ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหากมีการขายสลาก 80 บาท ผ่านแอปเป๋าตัง ในภาพรวมคิดว่ารัฐบาลไม่น่าจะแก้ปัญหาหวยแพงได้สำเร็จ


#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #หวย #หวยแพง #สลากกินแบ่งรัฐบาล #ลอตเตอรี่  #เสียงโชค #พรุ่งนี้รวย


ติดตามผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลได้ทาง

ความหนักใจของคนไทย ณ วันนี้

    สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ความหนักใจของคนไทย ณ วันนี้ พบว่า เรื่องที่ประชาชนหนักใจมากที่สุด อันดับ 1 คือ ของแพง น้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง โดยรู้สึกค่อนข้างหนักใจกับปัญหาต่าง ๆ  สาเหตุที่ทำให้หนักใจ คือ ทุกอย่างขึ้นราคา รองลงมาคือ การแก้ปัญหาของรัฐบาล ทั้งนี้ประชาชนรับมือกับปัญหาด้วยการตั้งสติ อดทน ให้กำลังใจตัวเอง โดยอยากให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็น ช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้น ในภาพรวมรายได้ของประชาชน ณ วันนี้ไม่พอใช้และมีหนี้สิน 

#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #SuanDusitPoll #ความหนักใจ #ปัญหาเศรษฐกิจ #ปัญหาสังคม  #นโยบายภาครัฐ 

  ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

การเมืองไทย...

วุ่นวายจริงหรือ?

    สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง การเมืองไทย...วุ่นวายจริงหรือ? พบ ประชาชนมองว่าการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ณ วันนี้สะท้อนให้เห็นถึงการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง  โดยมองว่าการนัดรับประทานอาหารร่วมกันของพรรคการเมืองในช่วงนี้ไม่เหมาะสม อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาบ้านเมืองโดยเฉพาะน้ำมันแพง สินค้าแพง, รายได้ไม่พอกับรายจ่าย คิดว่านักการเมืองไทย (ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน) ไม่ค่อยดูแลทุกข์สุขของประชาชน  ทั้งนี้ไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของรัฐบาล มองว่ารัฐบาลไม่ค่อยมีเสถียรภาพ และในภาพรวมมองการเมืองไทย ณ วันนี้ ค่อนข้างวุ่นวาย

#สวนดุสิตโพล #suandusitpoll #SuanDusitPoll #การเมืองไทย #พรรคการเมือง #นักการเมือง #ฝ่ายรัฐบาล #ฝ่ายค้าน

  ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทยคิดอย่างไร? กับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน  

    สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง คนไทยคิดอย่างไร? กับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน  พบประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างสนใจติดตามข่าวสงคราม รัสเซีย-ยูเครน โดยติดตามข่าวจากสื่อโซเชียลมากที่สุด (ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป ฯลฯ) ซึ่งค่อนข้างรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสงคราม รัสเซีย-ยูเครน  ผลกระทบต่อประเทศไทย คือ น้ำมันแพงขึ้น  ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้าแพงขึ้น  มองว่าไทยควรมีบทบาทต่อสงครามครั้งนี้ด้วยการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่เกิดขึ้น รองลงมาคือ แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม  ทั้งนี้มองว่าทางออกคือ ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศควรเจรจาตกลงกันอีกครั้ง และจากกรณี ประเทศไทยร่วมโหวตเห็นด้วยให้รัสเซียถอนทัพจากยูเครนนั้นมองว่าอยากให้สงครามจบลงโดยเร็ว และเหมาะสม เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม 

ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

“มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์”

ภัยสังคม ณ วันนี้  

    สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์” ภัยสังคม ณ วันนี้ พบส่วนใหญ่เห็นจากข่าวทางสื่อต่าง ๆ รองลงมาคือ ญาติพี่น้อง/คนรู้จักเคยพบ โดยคิดว่าเป็นภัยต่อสังคมอย่างมาก สาเหตุที่ระบาดหนักและแก้ไขยาก คือ มีวิธีการหลอกลวงที่ทันสมัย ไม่ต้องแสดงตัวตน รองลงมาคือ มีเครือข่ายรายใหญ่ข้ามชาติ วิธีป้องกันแก้ไขปัญหา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องจัดการกับต้นตอ กวาดล้างให้สิ้นซาก รองลงมาคือ ประชาชนต้องมีสติ ไม่หลงเชื่อ ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยด่วน รองลงมาคือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)

ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

คนไทยกับพิษเศรษฐกิจ  

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง "คนไทยกับพิษเศรษฐกิจ" พบวิกฤติเศรษฐกิจ ณ วันนี้ ทำให้ประชาชนต้องประหยัดและวางแผนการใช้จ่ายมากขึ้น โดยมองว่ามาตรการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฯลฯ ช่วยลดภาระได้บ้าง ซึ่งวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้มีความเครียดในระดับมาก  สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการคือควบคุมราคาสินค้า ลดค่าครองชีพ  และมองว่าปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้ทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ อาจยุบสภา  ทั้งนี้จากข่าว “ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่” น่าจะเป็นไปได้ และหากได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้น  


ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19   

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียน เรื่อง “หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19” พบว่า ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเทอม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนมากที่สุด รองลงมาคือค่าอาหารการกิน ในเรื่องที่หนักใจคือเรื่องสุขภาพของบุตรหลาน การฉีดวัคซีนโควิด-19 รองลงมาคือการเรียนออนไลน์  ซึ่งส่วนมากไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อคุณภาพของการเรียนการสอนออนไลน์  โดยอยากให้โรงเรียน/สถานศึกษาออกแบบการเรียนการสอนที่สนุกและได้สาระความรู้ ไม่เครียด บรรยากาศการเรียนดี  ทั้งนี้ค่อนข้างมีความกังวลกับการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก (อายุ 5 ปีขึ้นไป) สิ่งที่กังวลใจคือเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน และมองว่าสำหรับการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มบุตรหลานนั้นต้องฉีดวัคซีนและป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวดควบคู่กัน   

ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

ควันหลงเลือกตั้งซ่อมกับการเมืองไทย  

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ พบประชาชนมองว่าการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 กทม. ครั้งนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการเมือง มีแพ้มีชนะ  รองลงมาคือ มองว่าคนไปใช้สิทธิน้อยกว่าที่คาดไว้  ซึ่งจากผลการเลือกตั้งซ่อมรู้สึกเฉย ๆ โดยมองว่าผลการเลือกตั้งซ่อมส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในด้านผู้สมัครที่จะต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน ขยันลงพื้นที่ และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการเมืองไทยในภาพรวม ทั้งนี้การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ ประชาชนจับตาดูผลงานของนักการเมืองมากขึ้นรองลงมาคือ การหาเสียงดุเดือด บรรยากาศทางการเมืองร้อนแรงมากขึ้น  

ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี การใช้ชีวิตของคนไทยในยุคข้าวของแพง  พบว่าประชาชนพบเห็นหรือซื้อสินค้าที่แพงกว่าปกติ อันดับ 1 คือ เนื้อหมู รองลงมาคือ ข้าวแกง กับข้าวถุง อาหารตามสั่ง คิดว่าสาเหตุที่ทำให้สินค้าแพง คือ เกิดโรคระบาดในสัตว์  มีการกักตุนและปั่นราคาสินค้า  ประชาชนแก้ปัญหาด้วยการควบคุมการใช้จ่าย ประหยัด  รองลงมาคือ ใช้สินค้าชนิดนั้นลดลง  สิ่งที่อยากให้รัฐบาลเข้ามแก้ไขคือพูดความจริง ไม่ปิดบังข้อมูล ตรึงราคา  โดยหน่วยงานที่ควรเข้ามาแก้ปัญหาสินค้าแพง คือ กระทรวงพาณิชย์   ประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาสินค้าแพงของรัฐบาล  และภาพรวมประชาชนคาดว่าจะแบกรับภาระราคาสินค้าแพงไปได้อีกประมาณไม่เกิน 3 เดือน 

ติดตามผลกรสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลได้ทาง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ดัชนีครูไทย ปี 2564 ครูไทยในยุคโควิด-19” พบว่าประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2564 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 7.75 คะแนน โดยดัชนีที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ 7.98 คะแนน ดัชนีที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านการประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน 6.75 คะแนน โดยประชาชนมองว่าจุดเด่นของครูไทย คือ การใช้เทคโนโลยี มีทักษะใหม่ ๆ มีเทคนิคการสอนที่ดี ร้อยละ 82.29 จุดด้อยคือ มีภาระงานมาก ไม่มีเวลา ร้อยละ 74.99 โดยครูไทยในยุคโควิด-19 ต้องปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ให้น่าสนใจ ปรับรูปแบบการสอน ร้อยละ 85.38 รองลงมาคือ ใช้สื่อโซเชียลให้เป็นประโยชน์ พัฒนาด้านภาษาและเทคโนโลยี ร้อยละ 84.46 

“เด็กไทย 2022” ในสายตาประชาชน

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "เด็กไทย 2022" ในสายตาประชาชน พบเด็กไทย ณ วันนี้ฉลาด เรียนรู้เร็ว ใช้เทคโนโลยีเก่งรองลงมาคือ กล้าแสดงออก มั่นใจ เชื่อมั่นในตัวเอง จุดเด่นของเด็กไทย คือ ใช้สื่อโซเชียลได้ดี สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมคือ การเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อาวุโสกว่า สิ่งที่กระทบต่อการพัฒนาเด็กไทย คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19  และ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19 คือส่งผลให้เด็กต้องกักตัว เรียนออนไลน์ สวนดุสิตโพล 

“ที่สุดแห่งปี” 

2564

"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี “ที่สุดแห่งปี” 2564 พบว่า  เหตุการณ์ที่สุดแห่งปี 2564 คือ การระบาดของโควิด-19 รองลงมาคือ การใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม นักร้องเพลงไทยสากลชายที่สุดแห่งปี คือ นนท์ ธนนท์  ฝ่ายหญิง คือ ดา เอ็นโดรฟิน  นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี คือ ก้อง ห้วยไร่  ฝ่ายหญิง คือ ต่าย อรทัย  ดาราชายที่สุดแห่งปี คือ ก๊อต จิรายุ ฝ่ายหญิง คือ เบลล่า ราณี  นักกีฬาชายที่สุดแห่งปี คือ เจ ชนาธิป ฝ่ายหญิง คือ น้องเทนนิส  นักการเมืองชายที่สุดแห่งปี คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  ฝ่ายหญิง คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  นักการศึกษาที่สุดแห่งปี  คือ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี  คือ กรรชัย กำเนิดพลอย  และความหวังในปีหน้า 2565 อยากให้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ 

“คนไทย” กับ ปีใหม่ในยุคโควิด-19 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยกับปีใหม่ในยุคโควิด-19” พบเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้จะฉลองปีใหม่กับครอบครัว 51.13% โดย “เมนูอาหาร” ที่จะกินเลี้ยงฉลองปีใหม่ คือ หมูกระทะ รองลงมาคือ อาหารทะเล (ซีฟู้ด) ในช่วงปีใหม่จะพาบุตรหลานทำกิจกรรมต่าง ๆ เล่นสนุกร่วมกัน สำหรับกิจกรรมที่จะทำร่วมกันกับผู้สูงอายุ คือ ทำอาหารรับประทานร่วมกัน โดยการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้จัดสรรเตรียมเงินไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ค่อนข้างวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน และไม่สนใจไปร่วมงานเคาท์ดาวน์ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่จัดไว้

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2739/

#SuanDusitPoll #สวนดุสิตโพล #Dusitpoll #ดุสิตโพล #สวัสดีปีใหม่ #ปีใหม่2565 #หมูกระทะ #เคาท์ดาวน์2021

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 

ในสายตาคนกรุงเทพฯ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบคนกรุงเทพฯ 90.57% คิดว่าถึงเวลาเลือกตั้ง “ผู้ว่าฯ กทม.” แล้ว  โดยการเลือกตั้งครั้งนี้น่าสนใจเพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง มีความสำคัญ ซึ่งเรื่องที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ การจราจร ระบบขนส่งสาธารณะ  ทั้งนี้ “ผู้ว่าฯ กทม.” ควรมีคุณสมบัติทำงานเร็ว แก้ปัญหาไว พร้อมที่จะทำงาน และว่าที่ผู้สมัคร ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รองลงมาคือ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2738/

#SuanDusitPoll #สวนดุสิตโพล #Dusitpoll #ดุสิตโพล #เลือกตั้งผู้ว่ากทม #ผู้ว่ากทม #กรุงเทพมหานคร #การเมืองไทย

คนไทยกับการท่องเที่ยว

ส่งท้ายปี 2021

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยกับการท่องเที่ยวส่งท้าย ปี 2021” พบในช่วงวันหยุดยาวและปีใหม่นี้ประชาชนร้อยละ 34.35 คิดว่าจะออกไปท่องเที่ยว เพราะฉีดวัคซีนแล้ว มั่นใจว่าดูแลตัวเองได้ ซึ่งจังหวัดที่อยากไปเที่ยวมากที่สุด คือ เชียงใหม่ รองลงมาคือ เชียงราย  โดยจะเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่อากาศดี ถ่ายเทสะดวก ไม่คับแคบ และสิ่งที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวและปีใหม่นี้ คือ กำหนดมาตรฐานสุขภาพให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว มีการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข และเร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยจากโควิด-19 ในสถานที่ท่องเที่ยว

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2737/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #การท่องเที่ยว #ส่งท้ายปี2564 #เที่ยวเมืองไทย #เที่ยวปีใหม่ #travel #เชียงใหม่ #เชียงราย #ประจวบคีรีขันธ์ #น่าน #ชลบุรี

การชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตของคนไทย

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของคนไทย”  พบประชาชนเคยชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะสะดวก ใช้งานง่าย ลดการใช้เงินสด ป้องกันโควิด-19  โดยส่วนใหญ่ใช้บริการซื้อของออนไลน์ รองลงมาคือ ชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ประชาชนชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น  ปัญหาที่พบบ่อย คือ ระบบล่ม โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างเชื่อมั่นในความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2736/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #การชำระเงิน #ช้อปออนไลน์ #ชำระเงินออนไลน์ #epayment #cashlesssociety #สังคมไร้เงินสด

ภาระหนี้สินของคนไทย ณ วันนี้

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีหนี้สินทั่วประเทศต่อกรณี “ภาวะหนี้สินของคนไทย” พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 1,248,847.03 บาท  เมื่อมีหนี้สินจึงวางแผนการใช้จ่ายให้รัดกุมมากขึ้น ทั้งนี้การแก้ปัญหาหนี้สินต้องแก้ด้วยตนเอง มีวินัย วางแผนการใช้จ่าย อดออม รองลงมาคือ รัฐปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้  และมองว่า “ตนเอง” ที่จะช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้ รองลงมาคือ ครอบครัว คนใกล้ชิด

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2735/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #หนี้สิน #หนี้ครัวเรือน #มาตรการช่วยเหลือ #มาตรการเยียวยา

การเลี้ยงดูเด็ก

ในยุคโควิด-19

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีบุตรหลานอายุ 0-15 ปี ต่อกรณี “การเลี้ยงดูเด็กในยุคโควิด-19” พบปัจจุบันคนในครอบครัว ปู่ย่า ตายาย เป็นคนเลี้ยงดูเด็ก เมื่อเปรียบเทียบยุคสมัยก่อนกับยุคสมัยนี้การเลี้ยงดูบุตรหลานยากขึ้น วิธีดูแลบุตรหลานในยุคโควิด-19 คือ ใช้เวลาร่วมกัน หากิจกรรมทำร่วมกัน รองลงมาคือ เน้นดูแลสุขอนามัย สิ่งที่หนักใจคือกังวลการติดเชื้อโควิด-19 รองลงมาคือเรื่องการเรียน  โดยมองว่าบุตรหลานค่อนข้างสามารถดูแลรับผิดชอบตัวเองได้ สิ่งที่อยากให้ภาครัฐดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลเด็ก คือ ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสทางสังคม เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2734/


#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #เลี้ยงเด็ก #วัยเรียน 

คนไทยกับเทศกาลลอยกระทงในยุคโควิด-19 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับเทศกาลลอยกระทงในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,139 คน สำรวจระหว่างวันที่ 6-12 พฤศจิกายน 2564 กรณีที่นายกฯ อนุมัติให้จัดงานลอยกระทงในปีนี้ได้ประชาชนก็ยังรู้สึกกังวลเรื่องโควิด-19 กลัวเกิดคลัสเตอร์ใหม่ และยังไม่สนใจไปร่วมเทศกาลลอยกระทง  โดยยังไม่ค่อยมั่นใจต่อมาตรการป้องกันโควิด-19 ในเทศกาลลอยกระทงปีนี้ และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด สิ่งที่แตกต่างของการลอยกระทงในปีนี้กับปีที่ผ่านๆมา คือ งดเว้นการไปสถานที่แออัด และสิ่งที่อยากลอยไปกับกระทงในปีนี้ คือ โควิด-19

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2733/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #ลอยกระทง #วันเพ็ญเดือน12 #15ค่ำเดือน12

ขนมไทยกับคนไทย

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “ขนมไทยกับคนไทย”  พบว่า คนไทยมองว่าขนมไทยมีประวัติยาวนาน เป็นเอกลักษณ์ของไทย  โดยขนมไทยที่ชอบมากที่สุด คือ ข้าวต้มมัด  รองลงมาคือ ขนมครก  ส่วนขนมที่อยากเรียนทำมากที่สุด คือ ทองหยอด รองลงมาคือ ทองหยิบ ซึ่งหากมีขนมไทยเพื่อสุขภาพก็มีความสนใจ ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐอนุรักษ์และสืบสานขนมไทยอย่างจริงจัง รองลงมาคือ ส่งเสริมเป็นสินค้าเศรษฐกิจหลักและผลักดันขนมไทยไประดับโลก

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2732/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #ขนมไทย #ThaiDessrt #ข้าวต้มมัด #ขนมครก

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ในสายตาประชาชน พบว่า ประชาชนมองว่าการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองต่าง ๆ ณ วันนี้ แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกในพรรคการเมือง คิดว่าน่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ส. ในต้นปี 2565 หากมีการเลือกตั้งใหม่จะทำให้ได้เปลี่ยนรัฐบาล ถ้ามีการเลือกตั้งคิดว่าพรรคเพื่อไทยน่าจะได้คะแนนเสียงมากที่สุด รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล  นายกรัฐมนตรีที่อยากได้ คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รองลงมาคือ ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยภาพรวมประชาชนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะเลือกตั้งใหม่

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2731/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #รัฐบาล #พรรคการเมือง #เลือกตั้ง #นักการเมือง #ความเคลื่อนไหวทางการเมือง #การเมือง

มาตรการช่วยเหลือของรัฐในช่วงโควิด-19

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี มาตรการช่วยเหลือของรัฐในช่วงโควิด-19 พบว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 ประชาชนได้เข้าร่วมมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 มากที่สุด  รองลงมาคือมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ  ซึ่งมองว่ามาตรการต่าง ๆ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้บ้าง แต่เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังมีมาตรการแล้วก็ยังใช้จ่ายรายเดือนเท่าเดิม โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างพึงพอใจมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ (พึงพอใจมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 มากที่สุด) และนอกจากมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วน คือ ควบคุมราคาสินค้าและค่าครองชีพ, ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2730/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #รัฐบาล #มาตรการช่วยเหลือ #เยียวยา #ช่วยเหลือประชาชน #คนละครึ่ง

เปิดประเทศ

 1 พฤศจิกายน 64

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “เปิดประเทศ 1 พ.ย.64” พบประชาชนมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว โดยปัจจัยที่จะทำให้เปิดประเทศได้ คือต้องฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนได้เกิน 70% และมองว่าข้อจำกัดคือ ประชาชนยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน ผลดีของการเปิดประเทศคือ กระตุ้นเศรษฐกิจ ผลเสียคือ อาจเกิดการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น และในภาพรวมประชาชนไม่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศ 1 พ.ย. 2564

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2729/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #SuanDusitPoll #Dusitpoll #เปิดประเทศ1พย64 #เปิดประเทศ #รัฐบาล #การท่องเที่ยว #นักท่องเที่ยว #กระตุ้นเศรษฐกิจ

คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2564

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2564” โดยสำรวจเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พบปัญหาและอุปสรรคของน้ำท่วมครั้งนี้ คือ ภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้  ซึ่งสิ่งที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญ คือ ควรมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน รองลงมาคือ พืชผลทางการเกษตรเสียหาย และสิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการเร่งด่วน คือ ช่วยเหลือประชาชนที่น้ำท่วม  และมองว่ารัฐบาลไม่น่าจะป้องกันน้ำท่วมได้

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2728/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #suandusitpoll #dusitpoll #น้ำท่วม2564 #ภัยธรรมชาติ #อุทกภัย #วาตภัย #สาธารณภัย

การฉีดวัคซีนให้กับ

เยาวชน 12 - 17 ปี

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีบุตรหลานในวัยเรียนต่อกรณี “การฉีดวัคซีนให้กับเยาวชนอายุ 12-17 ปี” พบว่า ประชาชนที่มีบุตรหลานส่วนใหญ่พร้อมให้บุตรหลานไปฉีดวัคซีน โดยเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพของวัคซีน และคิดว่าการฉีดวัคซีนมีผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งเรื่องที่เป็นห่วงคืออาการข้างเคียงหลังฉีด ทั้งนี้ อยากให้จัดการฉีดวัคซีนให้ที่โรงเรียน และเห็นด้วยกับการฉีดวัคซีนเพื่อให้เปิดเรียนได้ตามปกติ

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2727/

#สวนดุสิตโพล #ดุสิตโพล #suanduaitpoll #Dusitpoll #dusitpoll #วัคซีน #วัคซีนโควิด #วัคซีนเด็ก #เปิดเรียน #เปิดเรียนเทอม2