พระพุธศาสนา

หน่วยการเรียนรู้ที่6

วัฒนธรรมหาศสนาที่สำคัญ ได้แก่ ศาสนพิธี และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยมีลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์สืบเนื่องมาจกการที่มีวัฒนธรรมไทยเข้าไปผสมอยู่ด้วย แม้วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาจะมิใช่แก่นของศาสนาเหมือนศาสนธรรม แต่ก็เป็นที่ประจักษ์แก่สายตา ทำให้ผู้ที่พบเห็นสามารถน้อมนำไปใช้ในการประพฤติปฏิบัติศาสนธรรมได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงควรศึกษาวัฒนธรรมทางพระพุทรศสนา เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญและศาสนพิธิให้ถูกต้องเหมาะสม ถือเป็นการอนุรักษ์มรดกที่มีค่ายิ่งของชาติให้ดำรงอยู่

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1.หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญมาบรรจบกัน คือ

1. เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย

2. เป็นวันตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองราชคฤห์

3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สาละโนทยาน เมืองกุสินารา

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เป็นเหตุการณ์ในวันตรัสรู้ ที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ 4 โดยละเอียด จนสามารถหมดกิเลสและอาสวะอย่างสิ้นเชิง หลักธรรมข้ออริยสัจ 4 หรืออริยมรรคมีองค์ 8

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมข้อสำคัญที่เป็นหัวใจหลักของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน


อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

  1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

  2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

  3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

  4. มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ


2.หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ

1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ

2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์

4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น

ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ

1. ไม่ทำความชั่ว

2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม

3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป


โอวาท 3 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นหัวใจในทางพระพุทธศาสนา 3 ประการ อันเป็นพุทธโอวาทที่สอนให้เราละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี และหมั่นฝึกจิตให้บริสุทธิ์ เบิกบาน มีศรัทธา และเชื่อในเรื่องของกรรมของตน (การกระทำ)

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธพึงยึดปฏิบัตินั้นมีมากมาย และหลักธรรมแต่ละหมวดก็เหมาะสมสำหรับบุคคล และเหตุการณ์ต่างๆ แต่พุทธโอวาท 3 เป็นหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีหลักอยู่ 3 ประการ ที่ให้พึงถือปฏิบัติ 3 ประการ เปรียบเสมือนหัวใจของพุทธศาสนา


โอวาท 3 ของพระพุทธเจ้า คือ

1. พึงเว้นจากทุจริต คือ ไม่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจา ใจ (ไม่ทำชั่ว)

2. พึงประพฤติด้วยการสุจริต คือ ประพฤติโดยชอบด้วยทั้งทางกาย วาจา ใจ (ทำแต่ความดี)

3. พึงทำใจของตนให้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสทั้งปวง อันได้แก่ โลภ โกรธ หลง เป็นต้น (ทำจิตให้บริสุทธิ์)


ความสำคัญของโอวาท 3

1. ช่วยให้ปุถุชนทั้งหลายไม่ทำความชั่ว เช่น ไม่ประพฤติในการลักขโมย ไม่ฉ้อโกงผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในงาม ไม่ยุแย่ให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะ และพึงละเว้นจากการกระทำความชั่วทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และใจ

2. ช่วยให้ปุถุชนทั้งหลายรู้จักทำความดี เช่น การให้ทาน การรักษาศีล 5 การมีเมตตาจิตต่อเพื่อมนุษย์ และสรรพสัตว์ รวมถึงพึงประพฤติตามหลักธรรมอื่นอย่างเป็นนิจ

3. ช่วยให้ปุถุชนทั้งหลายมีจิตใจให้ผ่องใส บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกจิตให้มีสติ มีสมาธิ และจิตที่สงบเพื่อทำให้จิตใจไม่เกิดความทุกขเวทนา จิตไม่เศร้าหมองต่อสิ่งใดๆที่มากระทบทั้งปวง ผู้ที่ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมเป็นผู้มีจิตที่สงบ มีสมาธิ นำไปสู่การงานที่สำเร็จรุร่วง และเกิดความสุขต่อตนเอง และคนรอบข้าง

โอวาท 3 ประการ

1. เว้นจากการทำชั่ว

ความชั่ว แห่งโอวาท 3 คือ การกระทำที่ไม่ดี การกระทำที่เป็นปาบ เป็นสิ่งเลวร้าย ย่อมมีผลทำให้เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ รวมถึงเกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง และผู้อื่น ดังนั้น จึงพึงละเว้น และหลีกเลี่ยงจากการระทำความชั่วทั้งปวง ทั้งทางด้านกาย วาจา และจิตใจ

2. ให้ทำความดี ความดี แห่งโอวาท 3 คือ การกระทำที่ดีงาม เป็นบุญแก่ตัวเอง มีผลทำให้เกิดความสุขความสบายใจ เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่น โดยพึงต้องหมั่นกระทำแต่ทำความดี ซึ่งเป็นการพัฒนาตนให้มีความประพฤติที่งดงาม เรียกว่า คุณธรรม และจริยธรรม

3. มีจิตใจบริสุทธิ์

จิตใจบริสุทธิ์ แห่งโอวาท 3 หมายถึง พึงตั้งมั่นในจิตที่งดงาม คนที่มีจิตใจดีงาม มีการกระทำ และคำพูดที่ดี ด้วยการฝึกใจของเราให้มีความบริสุทธิ์ มีสติ และมีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน คิดในสิ่งที่ดี ไม่คิดร้าย ไม่คิดอิจฉาริษยาคนอื่น เราหมั่นฝึกทำสมาธิจะทำให้ใจเราสงบ และมีสติ

ดังนั้น โอวาท 3 จึงเปรียบเสมือนหัวใจของพุทธศาสนา เป็นหลักการประพฤติ ปฏิบัติ มี 3 ข้อ คือ

1. การละเว้นจากการกระทำความชั่วทั้งปวง

2. พึงกระทำแต่ความดี

3. พึงฝึกจิตให้ผ่องใส และบริสุทธิ์

โอวาท 3 ประการนี้ เป็นหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ควรยึดปฏิบัติ


3.หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือเป็นวันสำคัญที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก เรียกว่า ปฐมเทศนา

2. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

3. เป็นวันที่พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นในโลก ครบทั้ง 3 ประการบริบูรณ์

วันอาสาฬหบูชา มีหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง คือ การแสดงปฐมเทศนาพระพุทธเจ้าโดยพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ได้กล่าวถึงหลักอริยสัจ 4 ที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีหลักสัจธรรมที่ทำให้พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา สัจธรรมข้อนี้ทำให้โกณฑัญญะเข้าใจแจ่มแจ้งในพระธรรม จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

การที่พระพุทธองค์ตรัสปฏิเสธแนวทางสองอย่างดังกล่าวมาในขณะเริ่มปฐมเทศนา เพื่อแสดงให้รู้ว่า พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้พ้นจากทุกข์ด้วยการแก้ปัญหานอกกายคือ หนีความทุกข์ด้วยการมัวแต่แสวงหาความสุข (หนีความทุกข์อย่างไม่ยั่งยืน เพราะต้องแสวงหามาปรนเปรอตัณหาไม่สิ้นสุด) หรือหาทางพ้นทุกข์ด้วยการกระทำตนให้ลำบาก (สู้หรืออยู่กับความทุกข์อย่างโง่เขลา ขาดปัญญา ทำตนให้ลำบากโดยใช่เหตุ) เพื่อที่จะทรงขับเน้นหลักการที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงต่อไปว่า มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากแนวคิดพ้นทุกข์เดิม ๆ ซึ่ง เป็นการประกาศแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก อันได้แก่การแก้ทุกข์ที่ตัวต้นเหตุ คือ แก้ที่ภายในใจของเราเอง คือ มัชฌิมาปฏิปทา ของพระพุทธองค์

มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)

สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมเทศนาต่อมาคือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ หลังจากทรงกล่าวปฏิเสธแนวทางพ้นทุกข์แบบเดิม ๆ แล้ว ได้ทรงแสดงเสนอแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติที่ไม่สุดตึงด้านใดด้านหนึ่ง อันได้แก่การดำเนินตามมรรคมีองค์ 8 ซึ่งควรพิจารณาจากข้อความจากพระโอษฐ์โดยตรง ดังนี้

"ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ 8 นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1"

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น

ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้

  1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4

  2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน

  3. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ

  4. สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม

  5. สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ

  6. สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

  7. สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4

  8. สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4

ในจูฬเวทัลลสูตร พระพุทธเจ้าทรงจัดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เข้าในสีลขันธ์ ทรงจัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์ และทรงจัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าในเป็นปัญญาขันธ์