ข้อมูลผู้ประเมิน

ชื่อ - สกุล นางสาวศิมาภรณ์  อุบัติ      

ตำแหน่ง ครู          

กลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์

โรงเรียน    ลาดยาววิทยาคม             

สังกัด      สพม.นครสวรรค์                                          

สอนรายวิชา  คณิตศาสตร์          

ครูที่ปรึกษาชั้น     มัธยมศึกษาปีที่ 6/7       

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู วิทยฐานะ - ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2/2566

1. ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวม จำนวน 21 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้


2. งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์


3. งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา   จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์


4. งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1/2567

1. ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวม จำนวน 21 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้


2. งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์


3. งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา   จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์


4. งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ตารางสอน ภาคเรียนที่ 2/2565

ตารางสอน ภาคเรียนที่ 1/2566

ภาคเรียนที่ 2/2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2566

94-คำสั่งโรงเรียนครูที่ปรึกษา หัวหน้าระดับ .pdf

คำสั่งปฏิบัติการสอน ภาคเรียนที่ 1/2566

ตารางสอนภาคเรียนที่2ปี2566.pdf

คำสั่งโรงเรียนลาดยาววิทยาคม ปีการศึกษา 2566

219-แต่งตั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่.pdf

ภาคเรียนที่ 1/2567

คำสั่งโรงเรียนลาดยาววิทยาคม ปีการศึกษา 2566

219-แต่งตั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่.pdf

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครู(ไม่มีวิทยะฐานะ) คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้) 

 ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง      

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และการเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รวมถึงการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2566 พบว่า ผู้เรียนบางส่วนยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยก อยู่ในระดับปรับปรุง เนื่องจากผู้เรียนขาดทักษะกระบวนการคิด ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและไม่สามารถค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ ซึ่งความสามารถในการคิดเป็นหนึ่งในสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียน ผู้สอนจึงสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรือง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และเกิดทักษะกระบวนการคิด ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาความสามารถในด้านต่าง ๆ และเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความสุข

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

 2.1 วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ร่วมกับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อหาแนวทางและสร้างแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหา

       2.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการค้นพบ และเน้นทักษะกระบวนการคิด เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

  2.3  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนลาดยาววิทยาคมพุทธศักราช 2564 ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง นำจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหามาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้

           2.4 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ยกกำลัง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ พร้อมเฉลยตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด ดังนี้

                          1) เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

                                2) การคูณเลขยกกำลังที่มีฐานเดียวกัน และมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

                          3) การหารเลขยกกำลังที่มีฐานเดียวกัน และมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

                             4) การคูณและการหารเลขยกกำลัง และมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

    2.5 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้ง    เสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

 2.6 ครูผู้สอนนำชุดการเรียนมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนลาดยาววิทยาคม

 2.7 นำเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค21101 ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

 2.8 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ ในโปรแกรม Microsoft Excel และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

     3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

       3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 39 คน ได้รับการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง โดยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง เลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค21101  โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง เลขยกกำลัง  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด       

  3.2 เชิงคุณภาพ

                นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 39 คน  มีความรู้ความเข้าใจในมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง
เลขยกกำลัง และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน