ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การทำปุ๋ยหมัก

นายเปลี่ยน สีเสียดค้า เคยเป็นพ่อหลวงบ้านมาก่อนในปีพ.ศ. 2522 ในระหว่างอยู่ในหน้าที่พ่อหลวงบ้าน ก็ได้รับผิดชอบงานในทุกๆด้าน จนถึงปีพ.ศ. 2543 หลังจากนั้นจึงออกจากการเป็นพ่อหลวงบ้าน มาเป็น ส.อบต.อีก 4 ปี และก็มีความมุ่งมั่นในด้านนี้อยู่ จนมาถึงปีพ.ศ. 2547 ได้เริ่มมีความสนใจในเรื่องของการทำปุ๋ยหมัก จึงได้ริเริ่มพัฒนาเรื่องการทำปุ๋ย รวมไปถึงศึกษาหาความรู้จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และหาประสบการณ์เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก เรื่องของดิน รวมไปถึงเรื่องพืช จนนำความรู้ที่ได้จากการเรียน นำมาพัฒนาปรับปรุงเรื่องของปุ๋ย ดิน พืชภายในพื้นที่ จนสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องของการทำปุ๋ยหมักภายในพื้นที่ตำบลสันโค้ง เพื่อให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน จากนั้นนายเปลี่ยน สีเสียดค้า จึงได้กลายเป็นหมอดินประจำตำบลสันโค้ง และได้เลื่อนขั้นเป็นหมอดินประจำอำเภอในปีพ.ศ. 2557 โดยหน้าที่ส่วนใหญ่คือการรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการทำปุ๋ยหมัก รวมไปถึงเรื่องดินและพืช การตรวจดิน และการทำปุ๋ย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับเกษตรกรภายในพื้นที่ เมื่อประชาชนต้องการสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตร นายเปลี่ยน ก็จะยินดีให้ความช่วยเหลือโดยตลอด

จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น

การทำปุ๋ยหมักจะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ ซึ่งจุดเด่นของปุ๋ยหมักเหล่านี้ เกิดจากการที่นายเปลี่ยนนั้นพยายามศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญา ซึ่งพื้นที่อื่นไม่มี ได้แก่

ในการทำปุ๋ยหมัก นายเปลี่ยนจะใช้วัตถุดิบที่อยู่ภายในพื้นที่ชุมชน ที่สามารถหาได้ง่าย ได้แก่ มูลสัตว์ เศษฟาง เป็นต้น