ข้อมูลทั่วไป กศน.ตำบล

** ประวัติข้อมูลตำบลสระเยาว์ **

๑.ด้านกายภาพ

๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล/แผนที่ ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ ประกอบด้วย

หมู่ที่ ๑ บ้านสระเยาว์ (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๒ บ้านบัวน้อย (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๓ บ้านปุน (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๔ บ้านบัวใหญ่ (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๕ บ้านขนาด

หมู่ที่ ๖ บ้านสลับ

หมู่ที่ ๗ บ้านบ้านตายู

หมู่ที่ ๘ บ้านกล้วย (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๙ บ้านโนนสะอาด

หมู่ที่ ๑๐ บ้านกันจาน

หมู่ที่ ๑๑ บ้านหนองโดน

หมู่ที่ ๑๒ บ้านศรีสุข

หมู่ที่ ๑๓ บ้านโนนคำแก้ว

หมู่ที่ ๑๔ บ้านศรีโพธิ์งาม

๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มี ๓ ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลตูม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเสื่องข้าว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า“พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕–๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม–ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑–๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ ๙๐๐ มิลลิเมตร

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาวอากาศแปรปรวนไม่แน่นอนอาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนองอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ ๑๕ องศา

๑.๔ ลักษณะของดิน

ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายประมาณ ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐% ในบริเวณราบลุ่มจะมีความอุดมสมบูรณ์มากเหมาะสำหรับทำนา และบริเวณที่ราบสูงเหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ พืชสวน

๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ ดังนี้

ลำห้วย - แห่ง สระน้ำ ๑๐ แห่ง

หนองน้ำ แห่ง บ่อน้ำตื้น - แห่ง

ลำคลอง แห่ง บ่อบาดาล ๑๖ แห่ง

บึง - แห่ง อ่างเก็บน้ำ - แห่ง

แม่น้ำ - แห่ง ฝาย - แห่ง

อื่นๆ (ระบุ) - แห่ง เหมือง - แห่ง

๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้นและไม้ผลัดใบ

๒. ด้านการเมือง/การปกครอง

๒.๑ เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดตั้งชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีทั้งหมด ๑๔ หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ ๑ บ้านสระเยาว์ (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๒ บ้านบัวน้อย (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๓ บ้านปุน (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๔ บ้านบัวใหญ่ (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๕ บ้านขนาด

หมู่ที่ ๖ บ้านสลับ

หมู่ที่ ๗ บ้านบ้านตายู

หมู่ที่ ๘ บ้านกล้วย (พื้นที่ส่วนมาก)

หมู่ที่ ๙ บ้านโนนสะอาด

หมู่ที่ ๑๐ บ้านกันจาน

หมู่ที่ ๑๑ บ้านหนองโดน

หมู่ที่ ๑๒ บ้านศรีสุข

หมู่ที่ ๑๓ บ้านโนนคำแก้ว

หมู่ที่ ๑๔ บ้านศรีโพธิ์งาม

๒.๒ การเลือกตั้ง มีทั้งหมด ๑๔ เขตการเลือกตั้ง

๓.ประชากร

๓.๑ จำนวนประชากรในเขตตำบลสระเยาว์

หมู่ที่ ๑ บ้านสระเยาว์ ประชากร ๗๖๑ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายวัชรพล ประเสริฐชาติ

หมู่ที่ ๒ บ้านบัวน้อย ประชากร ๖๕๘ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายเสถียร แหนงวงษ์

หมู่ที่ ๓ บ้านปุน ประชากร ๕๐๖ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายพิศาล โทศก

หมู่ที่ ๔ บ้านบัวใหญ่ ประชากร ๗๑๒ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสุนทร ชุมชื่น

หมู่ที่ ๕ บ้านขนาด ประชากร ๖๔๖ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสว่าง แก่นแก้ว

หมู่ที่ ๖ บ้านสลับ ประชากร ๖๕๘ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายพัชรพล ศรีภิรมย์

หมู่ที่ ๗ บ้านตายู ประชากร ๗๘๔ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสันภพ มณีจันทร์

หมู่ที่ ๘ บ้านกล้วย ประชากร ๕๔๗ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสิทธิ์ เทียนชัย

หมู่ที่ บ้านโนนสะอาด ประชากร ๒๔๕ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายมณีไพร ภารินทร์

หมู่ที่ ๑๐ บ้านกันจาน ประชากร ๓๓๖ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายประหยัด โทษา

หมู่ที่ ๑๑ บ้านหนองโดน ประชากร ๔๗๑ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นางนุชจรินทร์ พลประเสริฐ

หมู่ที่ ๑๒ บ้านศรีสุข ประชากร ๓๙๘ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายอภิสิทธิ์ ทุมมา

หมู่ที่ ๑๓ บ้านโนนคำแก้ว ประชากร ๖๒๒ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นางวันดี นางวงษ์

หมู่ที่ ๑๔ บ้านศรีโพธิ์งาม ประชากร ๕๖๕ คน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสมชาย หัสถา

๔. สภาพทางสังคม

๔.๑ การศึกษา เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน ๕ ศูนย์ โรงเรียนในพื้นที่ระดับประถมศึกษา จำนวน ๕ โรงเรียน และจำนวนนักเรียน ดังนี้

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕ ศูนย์

๑.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสลับ

๒.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตายู

๓.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวทอง

๔.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปุน

๕.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขนาด

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ จำนวน ๕ โรงเรียน

๑.โรงเรียนบ้านปุน ผู้บริหารสถานศึกษา นายประเวช สัตยากุล

๒.โรงเรียนบ้านหนองบัวทอง ผู้บริหารสถานศึกษา นายชัยณรงค์ หิรัญเรือง

๓.โรงเรียนบ้านสลับ ผู้บริหารสถานศึกษา นายสุรพงษ์ จันทร์แจ้ง

๔.โรงเรียนบ้านตายู (อสพป.๓๒) ผู้บริหารสถานศึกษา นายเสมือน วรเชษฐ

๕.โรงเรียนบ้านขนาด ผู้บริหารสถานศึกษา นายพงษ์ศักดิ์ โคจำนง

๔.๒ สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๒ แห่ง คือ

๑.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีสุข หมายเลขโทรศัพท์ ๐๙๑-๘๓๑-๘๔๑๑ ‚๐๘๙-๙๔๔๒๑๑๔

๒.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคน หมายเลขโทรศัพท์ ๐๔๕-๖๗๗๑๒๔

๔.๓ อาชญากรรม

องค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนและทำลายทรัพย์สินของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว

๔.๔ ยาเสพติด

มีปัญหาผู้เสพยาเสพติดเล็กน้อย มีโครงการอบรมรณรงค์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในชุมชนและได้รับการ บำบัดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๔.๕ การสังคมสงเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ ได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้

๕.๔.๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์

๕.๔.๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

๕.๔.๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ

๕.๔.๔. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง

๕. ระบบบริการขั้นพื้นฐาน

๕.๑ การคมนาคมขนส่ง เส้นทางที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง

๕.๑.๑.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑ ศรีสะเกษ–กันทรลักษ์

๕.๑.๒.ถนน อบจ.ศก.๒๐๑๔

๕.๒ การไฟฟ้า

ตำบลสระเยาว์ ได้รับบริการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอศรีรัตนะ ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

๕.๓ การประปา ตำบลสระเยาว์ มีประปาทั้งหมด ๑๓ แห่ง สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

๕.๔ โทรศัพท์ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวเป็นส่วนใหญ่

๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ไม่มี

๖. ระบบเศรษฐกิจ

๖.๑ การเกษตร

ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ดังนี้

๑. อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

๒. อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๑๓ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

๓. อาชีพรับจ้าง ร้อยละ ๘ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

๔. อาชีพค้าขาย ร้อยละ ๙ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

๖.๒ การประมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีการประมง

๖.๓ การปศุศัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ

๖.๔ การบริการ

๖.๔.๑. โรงแรม - แห่ง

๖.๔.๒. ร้านอาหาร - แห่ง

๖.๔.๓. โรงภาพยนตร์ - แห่ง

๖.๔.๔. สถานีขนส่ง - แห่ง

๖.๔.๕. ร้านเกมส์ แห่ง

๖.๕ การท่องเที่ยว

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ

๖.๖ อุตสาหกรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีแหล่งอุตสาหกรรม

๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

การพาณิชย์

๑. ร้านค้า ๖๓ แห่ง

๒. โรงสี ๒๕ แห่ง

๓. ปั๊มน้ำมัน ๑๙ แห่ง

๔. อู่ซ่อมรถยนต์ แห่ง

๕. ฟาร์มเลี้ยงไก่ แห่ง

๖. ร้านค้าชุมชน แห่ง

๗. ฟาร์มเลี้ยงสุกร แห่ง

กลุ่มอาชีพ มีกลุ่มอาชีพ จำนวน ๔ กลุ่ม

๑. กลุ่มกระเทียมดองบ้านปุน หมู่ที่ ๓

๒. กลุ่มทำดอกไม้จันทน์ บ้านหนองโดน หมู่ที่ ๑๑

๓. กลุ่มทอเสื่อด้วยกก บ้านโนนคำแก้ว หมู่ที่ ๑๓

๔. กลุ่มทอเสื่อด้วยกก(ทำกระเป๋า) บ้านศรีโพธิ์งาม หมู่ที่ ๑๔

๖.๘ แรงงาน

ประชากรที่มีอายุ ๑๕–๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕–๕๐ ปี บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศปัญหาที่พบคือประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

๗. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

๗.๑ การนับถือศาสนา

๗.๑.๑. ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๘ เปอร์เซ็นต์

วัด แห่ง

สำนักสงฆ์ แห่ง

๗.๑.๒. ผู้ที่นับถือศาสนาคริตส์ ร้อยละ ๒ เปอร์เซ็นต์

๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี

๗.๒.๑. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม

๗.๒.๒. ประเพณีทำบุญกลางบ้าน (แซนโฎนตา) ประมาณเดือน พฤษภาคม

๗.๒.๓. ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน

๗.๒.๔. ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม,พฤศจิกายน

๗.๒.๕. ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม,ตุลาคม,พฤศจิกายน

๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระเยาว์ได้อนุลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ

ภาษาถิ่น

ภาษาอิสาน ร้อยละ ๑๐%

ภาษาส่วย ร้อยละ ๔๕%

ภาษาเขมร ร้อยละ ๔๕%

๗.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เสื่อที่ทอจากต้นกก ผ้าที่ทอจากผ้าฝ่ายและผ้าไหม เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนดอง กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง กล้วยฉาบอบเกลือไอโอดิน ข้าวโพดหวาน

๘. ทรัพยากรธรรมชาติ

๘.๑ น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำจากการซื้อจากโรงงานผลิตน้ำ สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้ และบางแห่งน้ำมีสารเคมี ไม่สามารถใช้ดื่มและอุปโภคได้

๘.๒ ป่าไม้ ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง

๘.๓ ภูเขา -

๘.๔ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ