ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ประวัติความเป็นมา

วัดบ้านเพชร ตั้งอยู่เลขที่ 2 บ้านเพชร หมู่ที่ 7 ตำบลแสวงหา อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ วิหาร ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาบำเพ็ญกุศล

เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2319 โดยมีนางพร้อม เปี่ยมรัง ราษฎรตำบลศรีบัวทอง ได้บริจาคที่ดิน 23 ไร่ 3 งาน วัดบ้านเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ วิหาร ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสุโขทัย

สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2520 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อุโบสถหลังปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๔ เมตร กุฎิสงฆ์ ๕ หลัง หอสวดมนต์ ๑ หลัง มีพระประธานในอุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคาสีมา วันที่ ๕ มีนาคม กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร มีพระอธิการอนันต์ พุทธวิริโย เป็นเจ้าอาวาส (มรณภาพ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔)






คุณค่าทางวัฒนธรรมไทย

คุณค่าทางวัฒนธรรรมไทย ของวัดบ้านเพชร สามารถสร้าง สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้ ดังนี้

๑. ความรักความผูกพันในครอบครัว วัฒนธรรมไทยได้สร้างความรักความผูกพันในครอบครัว ในชุมชน เช่น วันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ซึ่งปัจจุบันเมื่อถึงวันสงกรานต์ ทุกคนจะกลับบ้านไปหาพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่ ก่อให้เกิดความรัก ความผูกพันของคนในครอบครัว และชุมชน

๒. มีความเคารพ กตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ

๓. สร้างความศรัทธาในการทำบุญให้ทาน

๔. สร้างเอกลักษณ์ทางศิลปกรรม

๕. มีพิธีกรรมที่สง่างามสร้างสัมพันธ์

๖. สร้างความาสามัคคีให้แก่ชุมชน

๗. มีเอกลักษณ์ทางภาษา

๘. มีความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ในการละเล่น และดนตรีพื้นบ้าน

การสืบทอดวัฒนธรรมไทย

การสืบทอดวัฒนธรรมไทยของวัดบ้านเพชร เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคนและสังคมไทย ดังนี้

๑. ทำให้มองเห็นวิถีความเป็นไทย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม การปกครองที่สังคมสืบทอดกันมา

๒. ทำให้คนในชุมชนมีความรับผิดชอบ รู้จักรักษาระเบียบวินัย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รู้จักพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นกรเสริมสร้างในการปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยสืบไป

๓. ทำให้คนไทยทั้งชุมชนเกิดความร่วมมือร่วมใจ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมที่ดีงาม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชน

๔. ทำให้เกิดการถ่ายทอดจากคนรุ่นหหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง