งานควบคุมโรคติดต่อ

งื่อนไข หลักเกณฑ์  และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค 

แนวทางการเก็บ-ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

JIT

นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

กลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินอาหารและน้ำ

โรคอหิวาตกโรค (Cholera) , 01    ICD-10  A00.0, A00.1, A00.9

1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case definition for surveillance)

     1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical criteria) ถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเหลวอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง อาจมีอาเจียน เป็นตะคริว หรืออาการขาดน้ำอย่างรุนแรงถึงช็อก หรือเสียชีวิตจากอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

     1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory criteria)

       1.2.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป (Presumptive diagnosis)

                 - วิธีส่องกล้องจุลทรรศน์ชนิด Dark-field หรือ Phase contrast microscope พบลักษณะของเชื้อ Vibrio cholerae เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทางเดียวกันแบบดาวตก (Shooting star) และหากหยด Antiserum ต่อเชื้อที่ไม่มีวัตถุกันเสีย เชื้อจะหยุดเคลื่อนที่

                 - วิธีการตรวจโดยใช้ชุดทดสอบ Dipstick test ตรวจพบแอนติเจนของเชื้อ Vibrio cholerae O1 และ O139

       1.2.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ (Specific diagnosis)

       # การตรวจหาเชื้อ/แอนติเจน/สารพันธุกรรมของเชื้อ(Pathogenidentification)

                 - วิธีเพาะแยกเชื้อจากตัวอย่างอุจจาระ (Rectal swab culture หรือ Stool culture) หรือจากตัวอย่างที่ป้ายจากมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ พบเชื้อ Vibrio cholerae O1 หรือ O139

                 - วิธี Polymerase chain reaction (PCR) แบบ Multiplex PCR จากอุจจาระ หรือ Rectal swab หรือตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Vibrio cholerae ส่วนที่สร้างสารพิษ (Enterotoxin gene)

2. ประเภทผู้ป่วย (Case classification)

  2.1 ผู้ป่วยสงสัย (Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก

  2.2 ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และมีประวัติรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอุจจาระของผู้ป่วยยืนยัน หรือมีผลบวกทางห้องปฏิบัติการทั่วไป

  2.3 ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และมีผลบวกทางห้องปฏิบัติการจำเพาะข้อใดข้อหนึ่ง

  2.4 ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ (Asymptomatic) หมายถึง ผู้ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบเชื้อ Vibrio cholerae แต่ไม่แสดงอาการของโรค

3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค (Reporting criteria)

  3.1 ให้รายงานเฉพาะผู้ป่วยยืนยันทั้งที่มารับบริการที่สถานบริการและค้นหาเพิ่มเติมในชุมชน (Active case finding) ในระบบเฝ้าระวังโรค (รง. 506) 

       รหัสโรค 01 ด้วยรหัส ICD-10: A00.0–A00.1, A00.9 จำแนกรหัส Organism type ดังนี้

          1. Vibrio cholerae El Tor Inaba

          2. Vibrio cholerae El Tor Ogawa

          3. Vibrio cholerae El Tor Hikojima

          4. Vibrio cholerae O139

          5. Vibrio cholerae other or unspecified

  3.2 กรณีผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการของอหิวาตกโรค ให้รายงานจำแนกรหัส Complication type ดังนี้

          1. Asymptomatic infection

  3.3 กรณีเป็นผู้ป่วยค้นหาเพิ่มเติมในชุมชน (Active case finding) ให้ระบุสถานที่รักษาเป็นรักษาที่บ้าน และประเภทผู้ป่วยระบุเป็นจากการค้นหาในชุมชน

  3.4 ให้รายงานผู้ป่วยจากการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย และการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ในระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์(Event-based Surveillance System)

4. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Verification)

       - ผู้ป่วยรายเดียวกันที่ถูกรายงานภายใน 14 วัน ถือว่าเป็นการรายงานซ้ำซ้อน

       - ต้องตรวจสอบ (Verify) ข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับรายงาน

5. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)

  5.1 การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย (Individual investigation) กรณีพบผู้ป่วยยืนยันหรือเสียชีวิตทุกราย เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและหาสาเหตุของเชื้อก่อโรค และค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดที่อาจเกิดโรค/แพร่โรค และให้สุขศึกษาในการป้องกันโรค

  5.2 การสอบสวนการระบาด (Outbreak investigation) กรณีพบผู้ป่วยยืนยันทุกราย เพื่อยืนยันการระบาดหาเชื้อก่อโรค การตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ และแหล่งแพร่โรค โดยให้ดำเนินการตามเงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (Joint Investigation Team: JIT)

6. หมายเหตุ (Remarks)

       - การระบาด หมายถึง การพบผู้ป่วยตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป ให้ถือว่ามีการระบาด เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่สำคัญที่ต้องเฝ้าระวังภายใต้การดำเนินงานของกฎอนามัยระหว่างประเทศ

       - ระยะฟักตัว Vibrio cholerae O1 และ O139 ตั้งแต่ 2–3 ชั่วโมงจนถึง 5 วัน โดยทั่วไป 2–3 วัน

       - ระยะติดต่อ เป็นช่วงเวลาที่มีอาการถ่ายเหลว โดยสามารถพบเชื้อได้ยาวนานอีก 7 วัน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้วบางรายอาจกลายเป็นพาหะต่อไปได้

       - ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อยมาก ประมาณ 5–10% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำ การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ ควรตรวจสอบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อก่อนการให้ยาทุกครั้ง

       - ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection) หรือแสดงอาการน้อยสามารถแพร่โรคได้ จึงควรเน้นเรื่องความสะอาดของอาหารและสุขอนามัยเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

7. เงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (JIT)

       - อำเภอ/จังหวัด ผู้ป่วยยืนยันทุกราย

       - สคร.11 พบผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ 2 ราย ในจังหวัดเดียวกันภายใน 10 วัน และกรณีเสียชีวิตทุกราย

       - กองระบาด ควบคุมการระบาดไม่ได้ โดยมีผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป ในอำเภอ เดียวกัน ใน 1 สัปดาห์

       กำหนดเวลาลงสอบสวน  สอบสวนภายใน 24 ชั่วโมง หลังรับแจ้ง

8. แบบสอบสวนโรคเฉพาะราย   โรคอหิวาตกโรค (Download)

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) , 02 IDC-10 A04.0-A04.9, A08.0-A08.5, A09.0, A09.9

1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case definition for surveillance)

     1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical criteria) ถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเหลวอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง อาจมีอาเจียน เป็นตะคริว หรืออาการขาดน้ำอย่างรุนแรงถึงช็อก หรือเสียชีวิตจากอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

     1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory criteria)

       1.2.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป (Presumptive diagnosis)

                 - วิธีส่องกล้องจุลทรรศน์ชนิด Dark-field หรือ Phase contrast microscope พบลักษณะของเชื้อ Vibrio cholerae เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทางเดียวกันแบบดาวตก (Shooting star) และหากหยด Antiserum ต่อเชื้อที่ไม่มีวัตถุกันเสีย เชื้อจะหยุดเคลื่อนที่

                 - วิธีการตรวจโดยใช้ชุดทดสอบ Dipstick test ตรวจพบแอนติเจนของเชื้อ Vibrio cholerae O1 และ O139

       1.2.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ (Specific diagnosis)

       # การตรวจหาเชื้อ/แอนติเจน/สารพันธุกรรมของเชื้อ(Pathogenidentification)

                 - วิธีเพาะแยกเชื้อจากตัวอย่างอุจจาระ (Rectal swab culture หรือ Stool culture) หรือจากตัวอย่างที่ป้ายจากมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ พบเชื้อ Vibrio cholerae O1 หรือ O139

                 - วิธี Polymerase chain reaction (PCR) แบบ Multiplex PCR จากอุจจาระ หรือ Rectal swab หรือตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Vibrio cholerae ส่วนที่สร้างสารพิษ (Enterotoxin gene)

2. ประเภทผู้ป่วย (Case classification)

  2.1 ผู้ป่วยสงสัย (Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก

  2.2 ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และมีประวัติรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอุจจาระของผู้ป่วยยืนยัน หรือมีผลบวกทางห้องปฏิบัติการทั่วไป

  2.3 ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และมีผลบวกทางห้องปฏิบัติการจำเพาะข้อใดข้อหนึ่ง

  2.4 ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ (Asymptomatic) หมายถึง ผู้ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบเชื้อ Vibrio cholerae แต่ไม่แสดงอาการของโรค

3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค (Reporting criteria)

  3.1 ให้รายงานเฉพาะผู้ป่วยยืนยันทั้งที่มารับบริการที่สถานบริการและค้นหาเพิ่มเติมในชุมชน (Active case finding) ในระบบเฝ้าระวังโรค (รง. 506) 

       รหัสโรค 01 ด้วยรหัส ICD-10: A00.0–A00.1, A00.9 จำแนกรหัส Organism type ดังนี้

          1. Vibrio cholerae El Tor Inaba

          2. Vibrio cholerae El Tor Ogawa

          3. Vibrio cholerae El Tor Hikojima

          4. Vibrio cholerae O139

          5. Vibrio cholerae other or unspecified

  3.2 กรณีผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการของอหิวาตกโรค ให้รายงานจำแนกรหัส Complication type ดังนี้

          1. Asymptomatic infection

  3.3 กรณีเป็นผู้ป่วยค้นหาเพิ่มเติมในชุมชน (Active case finding) ให้ระบุสถานที่รักษาเป็นรักษาที่บ้าน และประเภทผู้ป่วยระบุเป็นจากการค้นหาในชุมชน

  3.4 ให้รายงานผู้ป่วยจากการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย และการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ในระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์(Event-based Surveillance System)

4. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Verification)

       - ผู้ป่วยรายเดียวกันที่ถูกรายงานภายใน 14 วัน ถือว่าเป็นการรายงานซ้ำซ้อน

       - ต้องตรวจสอบ (Verify) ข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับรายงาน

5. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)

  5.1 การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย (Individual investigation) กรณีพบผู้ป่วยยืนยันหรือเสียชีวิตทุกราย เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและหาสาเหตุของเชื้อก่อโรค และค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดที่อาจเกิดโรค/แพร่โรค และให้สุขศึกษาในการป้องกันโรค

  5.2 การสอบสวนการระบาด (Outbreak investigation) กรณีพบผู้ป่วยยืนยันทุกราย เพื่อยืนยันการระบาดหาเชื้อก่อโรค การตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ และแหล่งแพร่โรค โดยให้ดำเนินการตามเงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (Joint Investigation Team: JIT)

6. หมายเหตุ (Remarks)

       - การระบาด หมายถึง การพบผู้ป่วยตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป ให้ถือว่ามีการระบาด เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่สำคัญที่ต้องเฝ้าระวังภายใต้การดำเนินงานของกฎอนามัยระหว่างประเทศ

       - ระยะฟักตัว Vibrio cholerae O1 และ O139 ตั้งแต่ 2–3 ชั่วโมงจนถึง 5 วัน โดยทั่วไป 2–3 วัน

       - ระยะติดต่อ เป็นช่วงเวลาที่มีอาการถ่ายเหลว โดยสามารถพบเชื้อได้ยาวนานอีก 7 วัน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้วบางรายอาจกลายเป็นพาหะต่อไปได้

       - ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อยมาก ประมาณ 5–10% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำ การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ ควรตรวจสอบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อก่อนการให้ยาทุกครั้ง

       - ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection) หรือแสดงอาการน้อยสามารถแพร่โรคได้ จึงควรเน้นเรื่องความสะอาดของอาหารและสุขอนามัยเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

7. เงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (JIT)

       - อำเภอ/จังหวัด ผู้ป่วยยืนยันทุกราย

       - สคร.11 พบผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ 2 ราย ในจังหวัดเดียวกันภายใน 10 วัน และกรณีเสียชีวิตทุกราย

       - กองระบาด ควบคุมการระบาดไม่ได้ โดยมีผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป ในอำเภอ เดียวกัน ใน 1 สัปดาห์

       กำหนดเวลาลงสอบสวน  สอบสวนภายใน 24 ชั่วโมง หลังรับแจ้ง

8. แบบสอบสวนโรคเฉพาะราย   โรคอหิวาตกโรค (Download)