หน่วยที่1

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ รายวิชาศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ต้นไม้หยกหรรษา เวลา 1 ชั่วโมง


  1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ศ.1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด

อภิปรายเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

  1. จุดประสงค์การเรียนรู้

    1. นักเรียนสามารถบอกได้ว่า สีมีกี่สี แบ่งออกเป็นกี่วรรณะ ได้ (K)

    2. นักเรียนสามารถสร้างผลงานจากการระบายสี ตามจินตนาการได้ (P)

    3. นักเรียนตั้งใจเรียน รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย (A)


  1. สาระสำคัญ

สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเราทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่นสะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดงเมื่อมีแสงส่องกระทบก็จะดูดทุกสีสะท้อนแต่สีแดงทำให้เรามองเห็นเป็นสี แดง


  1. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

-ความสามารถในการคิด

-ความสามารถในการแก้ปัญหา

  1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

-ซื้อสัตย์ สุจริต

-มีวินัย

-ใฝ่เรียนรู้


  1. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะศตวรรษที่ 21

-การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหา

-ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ

-การริเริ่มสร้างสรรค์และการเป็นตัวของตัวเอง

-การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต และความรับผิดชอบเชื่อถือได้

-ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ

คุณลักษณะสำหรับศตวรรษที่ 21

-คุณลักษณะด้านการทำงาน ได้แก่ การปรับตัว ความเป็นผู้นำ


  1. การจัดการเรียนรู้

ขั้นนำ

  1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน สวัสดีครับ/ค่ะ

  2. ครูถามนักเรียนว่าที่บ้านของนักเรียนมีการปลูกต้นไม้ หรือประดิษฐ์อะไรหรือเปล่า

  3. ครูให้นักเรียนบอกสีแต่ลพสี ตามที่ครูชี้ให้ดู

ขั้นสอน

  1. ครูให้นักเรียนนำสีขึ้นมา แล้วบอกว่าสีนี้คือสีอะไร

  2. ครูนำต้นหยกมาให้นักเรียนดู แล้วถามนักเรียนต้นไม้หยกนี้มีสีอะไรบ้าง

  3. ครูอธิบายว่าต้นหยกมีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร เราสามารถไปเรียนรู้การทำหยกได้จากที่ไหนบ้าง

  4. ครูให้นักเรียนออกแบบต้นไม้หยก หรือออกแบบอะไรก็ได้ที่ทำมาจากหยก แล้วให้นักเรียนวาดภาพระบายสีลงในกระดาษที่ครูแจกให้

ขั้นสรุป

  1. ครูให้นักเรียนสรุปว่าวันนี้ได้อะไรจากการเรียนในวันนี้

  2. ครูสรุปเพิ่มเติมว่า เราสามารถนำหยกไปประยุกต์ได้กับหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ของใช้ เครื่องประดับ แต่การที่เราจะนำไปใช้ได้นั้น เราต้องศึกษาก่อนว่าเขาใช้ยังไง และจะต้องมีผู้ใหญ่คอยอยู่ข้างๆเราด้วย