Chapter II

ในการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการใช้บริการเครื่องกรองน้ำดื่มภายในโรงเรียนสุรวิทยาคารมีขั้นตอนและวิธีการที่สําคัญดังนี้

1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็น

ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการสำรวจเป็นหลัก ดังนี้

การกำหนดด้วยพื้นที่ เช่น พื้นที่ภูมิภาค จังหวัดเขตกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล

การกำหนดด้วยลักษณะส่วนตัวของผู้ตอบ เช่น เพศ การศึกษา อาชีพ อายุ สถานภาพการสมรส ศาสนา เชื้อชาติ อายุ

2. วิธีเลือกตัวอย่าง

การเลือกสมาชิกจากประชากรโดยพยายามทำให้สมาชิกที่เลือกมาเหล่านั้น เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร การที่จะเลือกตัวอย่างให้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรได้นั้น จะต้องทำการเลือกแบบสุ่ม (random) หรือเลือกอย่างไม่ลำเอียง (unbias) คือ พยายามให้สมาชิกแต่ละตัวของประชากรมีโอกาสที่จะได้รับการเลือกเป็นตัวแทนเท่า ๆ กัน การที่จะได้ตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดได้นั้น จะต้องมีวิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีขบวนการอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วย

2.1 การเลือกตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นการเลือกโดยเปิดโอกาสให้ประชากรมีสิทธิ์ที่จะได้รับเลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนเท่า ๆ กัน วิธีการเลือกตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นมีดังนี้ คือ วิธีสุ่มอย่างง่าย การสุ่มอย่างมีระบบ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น

2.2 การเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นการเลือกโดยเปิดโอกาสให้ประชากรมีสิทธิ์ที่จะได้รับเลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนเท่า ๆ กัน การเลือกตัวอย่างโดยวิธีการนี้ มีหลักประกันทางสถิติที่จะเชื่อได้ว่า ตัวอย่างที่ได้รับเลือกขึ้นมานั้น เป็นตัวแทนของมวลประชากรนั้น ๆ วิธีการเลือกตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป เช่น การเลือกแบบบังเอิญ การเลือกแบบกำหนดโควต้า การเลือกแบบตามสะดวก

3. การสร้างแบบสํารวจความคิดเห็น ประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

• 3.1 คือ ส่วนที่เก็บรวบรวมลักษณะของผู้ตอบที่คาดว่าจะมีผลทำให้ คําตอบที่แสดงความคิดเห็นเกิดความแตกต่างกันจากผู้ตอบส่วนมาก เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น • 3.2 คือ ส่วนที่เก็บรวบรวมความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สํารวจ • 3.3 คือ ส่วนที่รับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของผู้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่สํารวจ ความคิดเห็นหรือข้อคําถามเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องที่ต้องการสํารวจนั้น จำนวนข้อคําถามต้องไม่มากเกินไป ข้อคําถามในแบบสํารวจแต่ละข้อต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ผู้ตอบคําถามควรมีความรู้และ ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสํารวจ

4. การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การประมวลผลและวิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นโดยทั่วๆ ไปจะประกอบไปด้วย

• 4.1ร้อยละของผู้ตอบแบบสํารวจความคิดเห็นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง

- สําหรับกรณีที่่ถามเกี่ยวกับความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะต้องจําแนกตามระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วย ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยปานกลางค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วยไม่มีความเห็น ไม่เห็นด้วย

- สําหรับกรณีที่่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจจะต้องจําแนก ระดับตามระดับความพึงพอใจได้แก่ พอใจมาก พอใจค่อนข้างมาก พอใจปานกลาง พอใจค่อนข้างน้อย พอใจน้อย

- สําหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่่ยวกับความสนใจหรือความต้องการ จะต้องจําแนก ตามระดับความสนใจ หรือความต้องการได้แก่ สนใจมาก สนใจค่อนข้างมาก สนใจ ปานกลาง สนใจค่อนข้างน้อย สนใจน้อย

• 4.2 สําหรับระดับความคิดเห็นเฉลี่ย สามารถแทนระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านของผู้ตอบแต่ละคน ความคิดเห็น ความหมาย

เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 5

เห็นด้วย มีค่าเป็น 4

เฉย ๆ มีค่าเป็น 3

ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น 2

ไม่เห็นด้วยอยางยิ่ง มีค่าเป็น 1

กลุ่มที่ 8 กลุ่ม สาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่