ประกาศยกเลิกการจัดกิจกรรม การประชุมวิชาการ

“โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 7” เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโรค COVID–19









วันที่ 5- 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี


" การประชุมวิชาการ “โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 7 ”


หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้านการเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งนี้เป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาด้านการเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ ภาคการเกษตรจึงควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเกษตรกร และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรที่มีความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตรของไทย รวมทั้งมีการติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในการนำข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในการเกษตรของตนเองมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาในทุกด้านด้วยการผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีและผลงานการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สร้างสรรค์เป็นรูปธรรมเพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

งานวิจัยและนวัตกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรของไทย จึงนับเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้และคุณภาพนักศึกษาสาขาการเกษตรด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตร สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่างและภาคใต้นั้น มีสถาบันที่เปิดสอนทางด้านเกษตรหลายสถาบัน ได้แก่ 1) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี 2) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 3) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 4) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 5) สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 7) ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 8) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 9) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ 10) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้ง 10 สถาบันได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษา งานวิจัย การให้บริการทางวิชาการ การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้านเทคโนโลยีการเกษตรและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นกรอบการทำงานร่วมกันในอนาคต ตลอดจนการจัดประชุมวิชาการ “โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร” เพื่อเป็นโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้นำงานวิจัยของตนเองมานำเสนอทั้งภาคบรรยาย/โปสเตอร์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการวิจัยระหว่างนักศึกษา และการได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการจัดประชุมวิชาการได้ถูกจัดขึ้นประจำทุกปี โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 จัดที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (วันที่ 3-4 มีนาคม 2557) ครั้งที่ 2 จัดที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร (วันที่ 26-27 มีนาคม 2558) ครั้งที่ 3 จัดที่ส านักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (วันที่ 30-31 มีนาคม 2559) ครั้งที่ 4 จัดที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเพชรบุรี (วันที่ 30-31 มีนาคม 2560) ครั้งที่ 5 จัดที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (วันที่ 22-23 มีนาคม พ.ศ. 2561) ครั้งที่ 6 จัดที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี (วันที่ 4-5 เมษายน พ.ศ. 2562) และสำหรับการจัดประชุมวิชาการ “โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 7” นี้ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุม โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 5-6 มีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งคาดว่าจะมีสถาบันการศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมมากกว่า 10 สถาบัน และมีผลงานมากกว่า 100 เรื่อง


วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ด้านเกษตรและเทคโนโลยีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักศึกษาได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในเวทีระดับชาติ

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา


กลุ่มสาขาเปิดรับผลงานภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์

กลุ่มที่ 1 สาขาพืชศาสตร์

กลุ่มที่ 2 สาขาสัตวศาสตร์

กลุ่มที่ 3 สาขาประมง

กลุ่มที่ 4 การจัดการศัตรูพืชและจุลชีววิทยาทางด้านการเกษตร (โรคพืช แมลงศัตรูพืช ไรศัตรูพืช วัชพืช ไส้เดือนฝอย)

กลุ่มที่ 5 สาขาอุตสาหกรรมเกษตรและวิทยาศาสตร์การอาหาร ธุรกิจการเกษตร เกษตรกลวิธาน การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการเกษตร การส่งเสริมการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการเกษตร และสาขาที่เกี่ยวข้องฯ




แผนที่การเดินทาง