กะปิบางหิน

กศน.ตำบลบางหิน

ชื่อเรื่อง กะปิ บางหิน

ฃุมชน บ้านบางหิน ม.2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์

บ้านบางหิน หมู่ที่2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ประกอบการประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพทำการประมงเป็นส่วนใหญ่ จับสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หมึก เพื่อนำมารับประทานเป็นหาร ส่วนที่เหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้าน และสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว สำหรับกุ้งที่จับมาได้ มีจำนวน 3 ชนิด คือ 1. กุ้งสารส้มโอ เป็นกุ้งขนาดเล็ก ตัวกุ้งจะเป็นสีชมพูอ่อน 2. กุ้งแม่ลูก เป็นกุ้งขนาดกลาง ตัวกุ้งจะเป็นสีแดง 3 .กุ้งตาดำ เป็นกุ้งขนาดเล็ก ตัวกุ้งจะเป็นสีม่วง

ประชาชนในหมู่บ้านก็จะนำกุ้งที่ได้จากทะเลมาแปรรูปเป็นอาหารนำมาใช้ในครอบครัว ในหมู่บ้าน จึงมีแนวคิดว่าจะนำกุ้งมาทำกะปิ เพื่อนำมาใช้ในครอบครัว/หมู่บ้าน โดยไม่ต้องซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านอื่นๆ เพราะประชาชนในหมู่บ้านเกิดความเชื่อขึ้นมาว่า กุ้งที่มาจากทะเล จะมีความสะอาดและสามารถนำมาแปรรูปเป็นกะปิได้อย่างมีคุณภาพ

กะปิ ทุกวันนี้มีความสำคัญและจำเป็นมากกับวิถีชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่คู่ครัวไทย เช่น น้ำพริก ผัด ต้ม แกง เป็นวัฒนธรรมในการรับประทานของคนไทยทั้งสิ้น ประชาชนจึงคิดจะนำภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมมาแปรรูป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภค เนื่องจากในตัวกุ้ง มีไอโอดีน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน รสชาติอร่อย และมีกลิ่นหอม

ซึ่งในสมัยก่อนการทำกะปิ ได้นำกะปิมาตากบนร้าน ต่อมาได้สร้างเป็นโรงเรือน โดยคลุมผ้าพลาสติกใส เพื่อป้องกันสิ่งเปรอะเปื้อนลงสู่กะปิ เมื่อก่อนใช้ห่อด้วยใบตอง ห่อกระดาษ บรรจุลงถังสี่เหลี่ยม ปัจจุบัน ใส่ภาชนะในกระปุก โดยมีหลากหลายเช่น กระปุกขนาด 1,000 กรัม

กศน.ตำบลบางหิน

ชื่อเรื่อง กะปิ บางหิน

ฃุมชน บ้านบางหิน ม.2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์

บ้านบางหิน หมู่ที่2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ประกอบการประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพทำการประมงเป็นส่วนใหญ่ จับสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หมึก เพื่อนำมารับประทานเป็นหาร ส่วนที่เหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้าน และสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว สำหรับกุ้งที่จับมาได้ มีจำนวน 3 ชนิด คือ 1. กุ้งสารส้มโอ เป็นกุ้งขนาดเล็ก ตัวกุ้งจะเป็นสีชมพูอ่อน 2. กุ้งแม่ลูก เป็นกุ้งขนาดกลาง ตัวกุ้งจะเป็นสีแดง 3 .กุ้งตาดำ เป็นกุ้งขนาดเล็ก ตัวกุ้งจะเป็นสีม่วง

ประชาชนในหมู่บ้านก็จะนำกุ้งที่ได้จากทะเลมาแปรรูปเป็นอาหารนำมาใช้ในครอบครัว ในหมู่บ้าน จึงมีแนวคิดว่าจะนำกุ้งมาทำกะปิ เพื่อนำมาใช้ในครอบครัว/หมู่บ้าน โดยไม่ต้องซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านอื่นๆ เพราะประชาชนในหมู่บ้านเกิดความเชื่อขึ้นมาว่า กุ้งที่มาจากทะเล จะมีความสะอาดและสามารถนำมาแปรรูปเป็นกะปิได้อย่างมีคุณภาพ

กะปิ ทุกวันนี้มีความสำคัญและจำเป็นมากกับวิถีชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่คู่ครัวไทย เช่น น้ำพริก ผัด ต้ม แกง เป็นวัฒนธรรมในการรับประทานของคนไทยทั้งสิ้น ประชาชนจึงคิดจะนำภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมมาแปรรูป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภค เนื่องจากในตัวกุ้ง มีไอโอดีน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน รสชาติอร่อย และมีกลิ่นหอม

ซึ่งในสมัยก่อนการทำกะปิ ได้นำกะปิมาตากบนร้าน ต่อมาได้สร้างเป็นโรงเรือน โดยคลุมผ้าพลาสติกใส เพื่อป้องกันสิ่งเปรอะเปื้อนลงสู่กะปิ เมื่อก่อนใช้ห่อด้วยใบตอง ห่อกระดาษ บรรจุลงถังสี่เหลี่ยม ปัจจุบัน ใส่ภาชนะในกระปุก โดยมีหลากหลายเช่น กระปุกขนาด 1,000 กรัม

เอกลักษณ์ของกะปิ สีธรรมชาติ รสชาติกลมกล่อม สะอาดถูกหลักอนามัย



กระบวนการผลิต


วัตถุดิบ การทำกะปิ บางหิน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ

1. กุ้ง

2. เกลือ

อุปกรณ์และเครื่องมือในการผลิต การผลิตภัณฑ์กะปิ บางหิน ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือ ได้แก่

1. ถุง

2. กาละมัง

3. ครก

4. สาก

5. กระปุก

6. ร้านตากหรือโรงเรือน

ส่วนประกอบ

กุ้งจำนวน 10 กิโลกรัม ผสมกับเกลือตรามือ จำนวน 1 กิโลกรัม

ขั้นตอนการผลิต

- เตรียมกุ้ง เกลือ ถุง กาละมัง ครก สาก กระปุก


ขั้นตอนการทำกะปิ

1.เครื่องมือและวิธีการจับกุ้งเคย เป็นขั้นตอนแรก ซึ่งเครื่องมือที่เค้าใช้จับนั้นเรียกว่า "ระวะ"มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขึงอวนสีฟ้าหรือตาข่าย เวลาจะจับบางคนก็อาจจะเดินลากไปหรือบางคนอาจจะนั่งเรือลากไปตามพื้นดินน้ำตื้น โดยวิธีการจับนั้นต้องเอาด้านใดด้านหนึ่งของ ระวะ วางไปเกือบถึงพื้นทรายในน้ำ หรือ ในบางที่อาจจะมีกุ้งเคยชุกชุมอาจจะใช้ช้อนเอาก็ได้


2. กุ้งเคยตัวเป็นๆ มีลักษณะเหมือนกุ้งทั่วไปมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่จะยาวประมาณ 1 เซนติเมตรเท่านั้นเอง

3. เมื่อเราได้กุ้งเคยมาแล้วเราก็ทำการแยกสิ่งแปลกปลอมที่ติดมาด้วยที่ไม่ใช่กุ้งเคยเราก็คัดออกจนเหลือแต่กุ้งเคยแล้วทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นนำไปหมักตามสูตรเกาะเหลาและนำตากแดดประมาณ 3 วันเพื่อให้กุ้งเคยแห้งและเป็นการฆ่าเชื้อโรคเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย

4. เมื่อเราทำความสะอาดและนำกะปิไปตากจนสีเปลี่ยนเป็นเคยหรือสีใกล้เคียงพอที่จะมาทำกะปิได้แล้ว เราก็นำมาลงครกเพื่อตำให้ละเอียด

5. เมื่อเราตำจนละเอียดแล้วน้ำมาหมักอีกประมาณ 7 วัน อาจจะใส่ไหก็ได้ หรือ กะละมังก็ได้แต่ต้องใช้ถุงพลาสติกหรือฝาปิดให้มิดชิดเพื่อไม่ให้แมลงวันไปไข่และหนอนกินนั่นเอง


6. เมื่อหมักครบ 7 วันแล้วเราก็นำสินค้าไปบรรจุภัณฑ์ แต่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้นั้นควรทำความสะอาดอย่างดีเพื่อให้กะปินั้นสะอาด ถูกหลักอนามัย


ขั้นตอนการดำเนินการ

1. นำกุ้งมาคัดเลือก และทำความสะอาด

2. นำกุ้งมาผสมกับเกลือ

3. นำกุ้งผสมกับเกลือใส่ถุง พร้อมทั้งปิดปากถุง

4. นำใส่ลงในกะละมัง ทิ้งไว้จำนวน 1 คืน

5. นำกุ้งออกจากถุงเพื่อนำไปตากแดด ตากพอหมาดๆ จำนวน 1 ครั้ง

6. นำกุ้งที่ตากพอแห้งแล้วไปตำ

7. นำกุ้งที่ตำมาหมักใส่ถุง ตั้งไว้จำนวน 3 คืน แล้วคอยสังเกตดู กลิ่น สี

8. นำกุ้งไปตากจนแห้ง

9. นำกุ้งที่ตากจนแห้งมาตำให้ละเอียด

10. จนเป็นกะปิสามารถนำไปประกอบอาหารได้