หน่วยที่ 10

โปรแกรม Adobe Flash Professional CS5-CS6


สาระการเรียนรู้

1. ลักษณะของโปรแกรม

2. ประเภทของโปรแกรม

3. การเรียกใช้โปรแกรม

4. ส่วนที่ประกอบของโปรแกรม

5. กล่องเครื่องมือ

6. การสร้างไฟล์

7. การสร้างฉาก

8. การสร้างวัตถุ

9. การจัดการเลเยอร์

10. การบันทึก

11. การออกโปรแกรม

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ทั่วไป

1. อธิบายลักษณะและส่วนประกอบของโปรแกรมได้

2. อธิบายขั้นตอนในการใช้โปรแกรมได้

3. อธิบายวิธีการสร้างไฟล์ ฉาก และวัตถุได้

4. อธิบายวิธีการจัดการเลเยอร์ได้

5. อธิบายวิธีการบันทึกและออกโปรแกรมได้

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง

1. พุทธิพิสัย เข้าใจลักษณะและส่วนประกอบของโปรแกรมได้

2. ทักษะพิสัย แสดงความรู้และปฏิบัติการใช้โปรแกรมเบื้องต้น

3. จิตพิสัย มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์

สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Adobe Flash CS6

2. ปฏิบัติการทำงานการใช้โปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น

3. มีเจตคติที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอโดยคำนึงถึงจริยธรรมในวิชาชีพ


10.1 ลักษณะของโปรแกรม

ลักษณะของโปรแกรม

โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับ

ผู้ใช้(Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับ

การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVA และอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น

โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ ทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทำงานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และทำงานได้กับหลายๆ แฟลตฟอร์ม (Platform)


10.2 ประเภทของโปรแกรม

ประเภทของไฟล์โปรแกรม

.swf

ไฟล์ .swf เป็นไฟล์ที่สมบูรณ์, ถูก compiled แล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้อีก

สามารถเล่นได้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรม Flash Player




.fla

ไฟล์ .fla เป็นไฟล์ต้นฉบับของโปรแกรม Flash โปรแกรมที่ใช้เขียน Flash

สามารถแก้ไขได้ และ compile ให้เป็นไฟล์ .swf ได้



.flv

ไฟล์ .exe เป็นไฟล์ที่ถูก compiled แล้ว เป็น Application

ซึ่งได้รวมเอาโปรแกรมเสริม (Flash Player) เข้าไว้ด้วยกันไม่สามารถแก้ไขได้

สามารถเล่นได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมเสริม


10.3 การเรียกใช้โปรแกรม

การเรียกใช้โปรแกรม

การเรียกใช้โปรแกรม Adobe Flash เพื่อที่จะใช้สร้างผลงานการนำเสนอ สามารถปฏิบัติได้ 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1 คลิกที่รูปเครื่องมือ Adobe Flash

วิธีที่ 2 คลิกที่ Start แล้วเลือกโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6 ให้คลิกที่ ActionScript 3.0


10.4 ส่วนประกอบของโปรแกรม

ส่วนประกอบ

1. Menu Bar (เมนูบาร์) เป็นส่วนสำหรับแสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม

2. Stage (สเตจ) เป็นส่วนที่เรากำหนดขอบเขตขนาดของการทำงาน เป็นพื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า

"เวที" เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะแสดงเฉพาะวัตถุบน Stage นี้เท่านั้น

3. Properties (พร็อพเพอร์ตี้) เป็นส่วนกำหนดคุณสมบัติให้กับวัตถุต่างๆ ที่เราใช้งาน ทั้งการกำหนดค่าต่างๆ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัตถุไหนก็นำเมาส์ไปคลิกที่วัตถุนั้นก่อน

4.Timeline (ไทม์ไลน์) มีไว้สำหรับควบคุมการทำงานและกำหนดการนำเสนอผลงาน ตลอดจนการเคลื่อนไหวต่างๆ

5. Toolbox (ทูลบ๊อกซ์) เป็นกลุ่มของเครื่องมือในการสร้างงานและจัดการวัตถุต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างงาน


10.5 การสร้างไฟล์

การสร้างไฟล์

เมื่อต้องการสร้างไฟล์งานนำเสนอ ให้ปฏิบัติดังนี้

1. คลิกที่เมนู File (แฟ้ม) แล้วคลิกที่ New

2. คลิกที่ ActionScript 3.0 แล้วคลิกที่ OK


10.6 การสร้างฉาก

การสร้างฉาก

การสร้างฉากงานนำเสนอ สิ่งแรกที่จะต้องปฏิบัติคือ การสร้างฉาก ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างฉากก่อนที่ตัวละครจะออกมานำเสนอ การสร้างฉากมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

1. คลิกที่เมนู Modify

2. คลิกที่ Document

3. จะปรากฏกรอบ Document Settings


10.7 การสร้างวัตถุ

การสร้างวัตถุ

ซิมโบล (Symbol) คือ กราฟิก ปุ่ม หรือมูฟวี่คลิปที่สร้างขึ้นเป็นต้นแบบในครั้งแรก จากนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไม่จำกัด ทุกซิมโบลที่สร้างจะถูกเก็บไว้ในไลบรารี่ของไฟล์ปัจจุบัน ซิมโบลแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

มูฟวี่คลิป (Movie Clip) คือซิมโบลสำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวเป็นมูฟวี่ย่อยๆ

ปุ่ม (Button) คือซิมโบลสำหรับสร้างปุ่มที่ใช้ตอบสอนองต่อการทำงานของเมาส์

กราฟิก (Grahilc) คือซิมโบลสำหรับออกบเจ็กต์หรือรูปแบบที่เป็นภาพนิ่ง

เมื่อได้ดำเนินการสร้างฉากที่จะใช้ในการนำเสนอเสร็จแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการสร้างวัตถุ (Symbol) หรือตัวละครที่จะดำเนินการในการนำเสนอ การสร้างวัตถุทีวิธีการปฏิบัติดังนี้

1. คลิกที่เมนู Insert (แทรก) แล้วเลือก New Symbol

2. จะปรากฏกรอบ Create NewSymbol ให้ตั้งชื่อในช่อง Name ในที่นี้กำหนดให้ชื่อ a แล้วชนิดในช่อง Type ให้เป็น Graphic แล้วคลิก Ok

3. จะปรากฏกรอบ Symbol ที่ชื่อ a

4. คลิกที่เครื่องมือที่ต้องการใน Tool Box ในที่เลือก Oval Tool

5. เลือกสีพื้น Fill Color

6. กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากเป็นรูปวงกลมให้พอดี แล้วปล่อย

7. ปรับขนาดให้พอดีกับฉาก

8. ให้คลิกที่รูปเครื่องมือ Select (ลูกศรสีดำ) แล้วคลิกที่วัตถุวงกลม แล้วคลิกที่เครื่องมือ

9. เสร็จแล้วให้คลิกที่ Scene 1 เพื่อกลับมาที่ฉาก

10. คลิกที่ Panel ที่ชื่อ Library

11. จะปรากฏวัตถุที่สร้างไว้แสดงใน Library

12. ให้กดเมาส์ไว้ที่วัตถุที่ชื่อ a แล้วฉากมาวางไว้ในฉาก (Stage)


10.8 การจัดการเลเยอร์

การจัดเลเยอร์

เนื่องจากการสร้างผลงานนำเสนอ อาจมีวัตถุหรือข้อมูลที่จะต้องแสดงเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การจักการเกี่ยวกับวัตถุหรือข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกและถูกต้อง จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเลเยอร์

1. เมื่อลากวัตถุชิ้นแรกมาอาจจะอยู่ในเลเยอร์ที่ 1 ในที่นี้ให้เปลี่ยนชื่อเลเยอร์เป็น a (ทั้งนี้ ไม่นับรวมเลเยอร์ที่เป็น Background)

2. คลิกที่รูปเครื่องมือ New Layer

3. กำหนดชื่อเลเยอร์ใหม่ b แล้วลากวัตถุที่ชื่อ a มาวางไว้บนฉากอีก

นี่คือการสร้างวัตถุที่เป็นพื้นฐานในการสร้างผลงานการนำเสนอ และการจัดการเลเยอร์ให้ถูกต้อง และสะดวกในการสร้างผลงานในการนำเสนอต่อไป


10.9 การบันทึก

การบันทึก

การบันทึกเพื่อเก็บงานที่ได้สร้างไว้ เพื่อนำไปสร้างต่อ ให้ปฏิบัติดังนี้

1. คลิกที่เมนู File (แฟ้ม)

2. คลิกที่ Save (บันทึก)

3. เลือกที่แหล่งเก็บข้อมูล แล้วกำหนดชื่อในช่อง File name แล้วคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก)


10.10 การออกจากโปรแกรม

ออกจากโปรแกรม

เมื่อต้องการออกจากโปรแกรม ให้คลิกที่ เมนู File แล้วคิกที่ Exit หรือคลิกที่เครื่องมือ Close ที่ Control Box