ความเป็นมา

ประตูทางเข้าวัดสว่าง

หลวงพ่อมหามงคล

หลวงพ่ออุโมงค์

ตั้งอยู่บริเวณปากคลองสวนหมาก เป็นวัดที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบพม่าผสมไทย โดยพ่อค้าชาวพม่า ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูป สมัยเชียงแสน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ จ.กำแพงเพชร พุทธลักษณะงดงาม บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เมืองกําแพงเพชรและอาณาจักรล้านนาในอดีต โดยประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร

         จากคำบอกเล่า...พบหลวงพ่ออุโมงค์ ในบริเวณเนินดินลักษณะคล้ายจอมปลวก ซึ่งชาวบ้านได้ขุดและพบโดยบังเอิญ โดยปรากฏลักษณะเหมือนประดิษฐานอยู่ภายในอุโมงค์ จึงเป็นที่มาของชื่อ หลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีส่วนอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น ศาลาเก่าของวัดท่าหมัน ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อมหามงคลนิมิต พระพุทธรูปศิลปะพม่า และมณฑปแบบพม่า จากคำบอกเล่า...เมื่อชุมชนเจริญขึ้นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของคนไทย คือ วัด (เดิมวัดพระบรมธาตุก็มีอยู่แล้ว คงไม่สะดวกในการไปทำบุญ) จึงมีการรวบรวมทุนทรัพย์สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น เรียกว่า วัดซึ่งอยู่กลางหมู่บ้าน มีบริเวณประมาณ 4 – 5 ไร่ มีท่าน้ำ เป็นที่ขึ้นลงของล้อเกวียน เพื่อลากเข็นข้าวจากนามาเก็บไว้ยังยุ้งฉาง เผอิญท่าน้ำนั้นมีต้นหมันใหญ่เป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกว่า“วัดท่าหมัน” หัวหน้าก่อสร้างวัดนี้ ชื่อว่าอาจารย์ช่วย ได้บวชอยู่จนมรณภาพ ชาวบ้านเห็นคุณงามความดีได้เก็บอัฐิก่อเป็นสถูปไว้เป็นที่ระลึก (อยู่ตรงหน้าบ้าน ส.รังคภูติ) เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นจึงได้รื้อถอนทิ้งไป เมื่ออาจารย์ช่วยมรณภาพ ได้มีอาจารย์แก้ว มาเป็นอาจารย์วัดได้บูรณะซ่อมแซมกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ผู้คนจึงมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัด “ท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” ซึ่งวัดเคยใช้เป็นโรงเรียนประชาบาลตำบล คลองสวนหมาก (นครชุม) เป็นโรงเรียนหลังแรก โรงเรียนประชาบาลตำบล คลองสวนหมาก หนึ่ง (วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์) เมื่ออาจารย์แก้วสึกออกไป ได้มีอาจารย์ปลั่ง วังลึก เป็นเจ้าอาวาส ทำความเจริญให้แก่วัดยิ่งขึ้น ส่วนทางทิศเหนือของลำคลองสวนหมาก มีวัดเดิมอยู่ก่อนแล้ว อยู่บริเวณที่คลองสวนหมาก ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง ไม่ทราบประวัติว่าใครเป็นผู้สร้าง เรียกกันว่า “วัดสองพี่น้อง” ปัจจุบันคือวัดสว่างอารมณ์นั่นเอง

          วัดสว่างอารมณ์สร้างอยู่ในที่ดินเดิมของวัดร้าง ชื่อวัดสองพี่น้องเพราะบริเวณบ้านปากคลองเหนือเดิม มีวัดอยู่วัดหนึ่ง ห่างจากวัดสองพี่น้องไปทางเหนือน้ำของคลองสวนหมาก ประมาณ 800 เมตรแต่อยู่ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดกลางหมู่บ้าน มีเนื้อที่ประมาณ 4 – 5 ไร่ มีท่าน้ำเป็นที่ขึ้น-ลง ของล้อเกวียนที่ลากเข็นข้าวจากนามาเก็บไว้ยังยุ้งฉาง ที่ท่าวัดนั้นมีต้นหมันใหญ่เป็นสัญลักษณ์ จึงได้ชื่อว่า “วัดท่าหมัน” หัวหน้าก่อตั้งวัดนี้ ชื่อว่าอาจารย์ช่วย บวชอยู่จนมรณภาพ ชาวบ้านได้สร้างสถูปเก็บอัฐิของท่านไว้ (อยู่ตรงหน้าร้านสนั่นพานิชย์ในปัจจุบัน) เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นได้รื้อถอนทิ้งไป

          ต่อมาอาจารย์แก้ว ได้บูรณะวัดให้กว้างขวางกว่าเดิม คณะกรรมการและทางราชการได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” เคยใช้ศาลาวัดเป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรก ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลคลองสวนหมาก 1 (วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์) เมื่ออาจารย์แก้ว ลาสิกขาบทออกไป มีอาจารย์ปลั่ง (วังลึก) เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา ได้สร้างความเจริญให้แก่วัดมากยิ่งขึ้นอีก

        ส่วนวัดสองพี่น้องนั้น มีความสัมพันธ์กับวัดท่าหมันอย่างใกล้ชิด เมื่อเดิมเป็นวัดร้าง ก็กลายเป็นที่หาของป่า ประเภทผักพื้นบ้านเห็ดและหน่อไม้ เป็นที่เผาศพและฝังศพ แล้วยังใช้เป็นที่ผูกช้างชั่วคราวของบริษัททำไม้ธัญญผลล่ำซำ จำกัด และช้างของชาวบ้าน ในเวลาที่นำช้างเข้าเมืองเพื่อเตรียมเสบียงอาหารก่อนเข้าไปทำงานในป่ามีสตรีชาวมอญคนหนึ่งจากจังหวัดตากชื่อแม่สายทอง ได้มาเป็นสะใภ้ของบ้านปากคลองเหนือในสกุลโตพุ่ม ได้นำพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระ มาอยู่วัดสองพี่น้องด้วยองค์หนึ่ง ชื่อหลวงพ่อบุญมี โดยมีครอบครัวของน้องสาวเป็นโยมอุปัฏฐาก หลวงพ่อบุญมี ได้สังเกตเห็นว่าภายในวัดมีจอมปลวกใหญ่มีลักษณะประหลาด คือดินหุ้มไม่มิด ทางด้านที่หันหน้าสู่คลองสวนหมาก มีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมี จึงขอให้หลานชายซึ่งขณะนั้นเป็นกำนัน ชื่อกำนันชิน โตพุ่ม นำราษฎร และควาญช้างช่วยกันถางเถาวัลย์ออก ก็พบพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้างประมาณ 2.87 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง (นับว่าเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงระหว่างความสัมพันธ์ของเมืองกำแพงเพชรกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ) อยู่ภายในจอมปลวกนั้น และได้ทลายกองดินที่หุ้มองค์พระออกทั้งหมด ชาวบ้านที่อยู่ตรงข้ามกับวัดท่าหมันก็เริ่มมาทำบุญที่วัดสองพี่น้อง ทำให้คลายความน่ากลัวจากการเป็นวัดร้างไปได้มากแต่ก็ยังใช้เป็นที่เผาศพและผังศพเหมือนเดิม

       ส่วนองค์พระพุทธรูปนั้น ชาวบ้านปากคลองเหนือว่าเป็นปาฎิหาริย์ของท่าน ที่ทำให้มีกองดินครอบอยู่คล้ายอุโมงค์ เพื่อความปลอดภัยจากข้าศึกศัตรูสมัยโบราณ ท่านจึงได้ชื่อว่าหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ชาวนครชุมนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ขอสิ่งใดมักได้สมความปรารถนา ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา ด้านการค้าขาย หรือเกี่ยวกับการให้คำสัตย์สาบาน และจะแก้บนเป็นพวงมาลัย หัวหมู หรือมีลิเกถวาย ก็ตามกำลังศรัทธาปัจจุบันนี้หลวงพ่ออุโมงค์ ได้รับเลือกจากชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชรเมื่อพะโป้ พ่อค้าไม้ชาวกระเหรี่ยงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นตระกูลรัตนบรรพต ท่านมีครอบครัวอยู่ริมคลอง แม่คล้อ ตรงข้ามกับวัดสองพี่น้องได้บูรณะวัดพระธาตุต่อจากพระยา ตะก่า ได้ใช้คนไปนำยอดฉัตรจากเมืองย่างกุ้งประเทศพม่า เพื่อนำมาประดิษฐานที่ยอดพระธาตุ คณะที่ไปนำยอดฉัตรมาถึงวัดสองพี่น้องเป็นเวลารุ่งสางพอดี

       ต่อมาเมื่อปี 2490 น้ำคลองสวนหมากได้กัดเซาะตลิ่งบริเวณท่าน้ำของวัดท่าหมันเข้าไปเกือบถึงศาลา ทางกรรมการวัดเห็นว่าเป็นอันตรายเพราะศาลาสร้างแบบตั้งเสาบนดิน ไม่ได้ฝังเสาแบบศาลาทั่วไป จึงได้ย้ายศาลาไปยังวัดสองพี่น้อง โดยมีส่างหม่อง พ่อค้าไม้อีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณตา ของตระกูลมากกุญชรที่นครชุมในปัจจุบัน เป็นคู่เขยของพะโป้ และยังมีลูกสาวคนหนึ่งแต่งงานกับลูกชายแม่สายทอง เป็นแม่กองงานคุมราษฎรและควาญช้าง ทำการรื้อศาลาและผู้จัดการบริษัททำไม้ธัญญผลล่ำซำ จำกัด ชื่อนายจุลินทร์ ล่ำซำ เป็นผู้ออกค่าจ้างก่อสร้างใหม่ โดยนำช่างจากจังหวัดตากมาสร้าง ชาวบ้านปากคลองเหนือจึงย้ายไปทำบุญที่วัดสองพี่น้อง โดยเดินข้ามคลองในฤดูแล้งและใช้เรือถ่อ เรือพายในฤดูน้ำหลาก เปลี่ยนชื่อวัดสองพี่น้องเป็น วัดสว่างอารมณ์ มีหลวงพ่อบุญมี เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก เพราะอาจารย์ปลั่ง วังลึก ได้ลาสิกขาบทเสียก่อนโรงเรียนวัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์ ได้ย้ายไปตั้งที่ใหม่ ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม)วัดท่าหมันจึงหมดความสำคัญลง ที่ดินของวัดอยู่ในความดูแลของวัดสว่างอารมณ์ ได้ให้เอกชนเช่าทำที่อยู่อาศัยและสร้างอาคารพาณิชย์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดนครชุม



ที่มา : https://www.nakhonchum