ข้อมูลทั่วไป

ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน

1.1 ความเป็นมา

กศน.ตำบลพงตึก เดิมเป็นศูนย์การเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณภายในวัดดงสัก หมู่ ๔ บ้านอู่ตะเภา ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่ามะกา ต่อมาได้จัดตั้งเป็น กศน. ตำบลพงตึก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553 โดย กศน. ตำบลพงตึก ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาด้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนและนักศึกษาของกศน. ตำบลพงตึก ได้เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด แต่บัดนี้ได้ย้ายศูนย์การเรียนมาตั้งที่บ้านเลขที่ 28 หมู่ 2 บ้านอู่ตะเภา ตำบลพงตึก (อาคารอบต.หลังเก่า) เพื่อให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้ โดยมี นายณัฐฐชัย ธีระภาต ปฏิบัติงานหน้าที่ครูประจำศูนย์ กศน. ตำบลพงตึก

- ที่ตั้ง

บ้านเลขที่ 28 หมู่ 2 บ้านอู่ตะเภา ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

- หมายเลขโทรศัพท์ : 085-2486170

- E-Mail : Jane_2526@windowslive.com

- การเดินทาง

กศน.ตำบลพงตึก อยู่ใกล้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 มาทางเส้นทางหลักสายกาญจนบุรี-กรุงเทพมหานคร ถึงสี่แยกดงสัก เลี้ยวขวาซอยข้างปั๊มPT ตรงไปเรื่อยๆข้ามสะพานดงสักและผ่านวัดดงสัก ตรงไปถึงสามแยกศาลเจ้าพ่อเขาแดง หมู่ 3 เลี้ยวขวาตรงไปประมาณ 500 เมตร จนถึงสี่แยกร้านค้าขายของชำ หมู่ 3

จะมองเห็น กศน.ตำบลพงตึก ทางซ้ายมือ

- บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล

ครู กศน.ตำบลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้น จึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อน กศน.ตำบล ดังกล่าวคือ

1. การวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้

1.1 ศึกษาสำรวจชุมชนโดยละเอียดเพื่อจัดทำฐานข้อมูลชุมชนซึ่งประกอบ ด้วยข้อมูลประชากรจำแนกตามตาม อายุ เพศ อาชีพ ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติชุมชน ข้อมูลด้านอาชีพ รายได้ ข้อมูลทางสังคม ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.2 จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันจัดทำแผนชุมชน ที่ระบุความต้องการในการพัฒนาชุมชนความต้องการการเรียนรู้ หรือการศึกษาต่อ ฯลฯ ของประชาชนในชุมชน

1.3 จัดทำโครงการด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มาจากแผนชุมชน เสนอต่อศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ เพื่อขอรับการสนับสนุน และประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย

1.4 ประสานงานแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนอาสาสมัครต่างๆ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย ของชุมชนที่รับผิดชอบ

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน.ตำบล โดยจำแนกกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

2.1 การส่งเสริมการรู้หนังสือ

2.2 การจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.3 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้นเพื่อการพัฒนาอาชีพ

(วิชาทำมาหากิน) การพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาสังคมและชุมชน

2.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

2.5 การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

3. การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรมและประเพณี รวมทั้งสนับสนุนการใช้บริการของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมขององค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมในชุมชน

เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน และองค์กรนักศึกษา กศน. เป็นต้น

ข้อมูลทำเนียบบุคลากร

ประเภท รายละเอียด

1) ผู้บริหาร

ชื่อ….นายพลธนวัฒน์ วังวงค์ทอง.... ตำแหน่ง...ผอ.กศน.อำเภอท่ามะกา....

วุฒิการศึกษา ปริญญา..โท..................สาขา......การบริหารการศึกษา.........

2) ครูอาสาสมัคร

ชื่อ...นางสาวศศิมา.. ..สุดขาว.... ตำแหน่ง....ครูอาสาสมัครฯ………..

วุฒิการศึกษา..ปริญญาตรี.(ค.บ)... สาขา....วิทยาศาสตร์ทั่วไป….....

3) ครู กศน.ตำบล

ชื่อ....นายณัฐฐชัย ธีระภาต.... ตำแหน่ง.....ครู กศน.ตำบลพงตึก................

วุฒิการศึกษา....ปริญญาตรี(บธ.บ.)........สาขา.....คอมพิวเตอร์ธุรกิจ…...........

1.2 สภาพทั่วไปของตำบลพงตึก

ตำบลพงตึก มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น และมีระบบชลประทานทั้งตำบลทำให้เหมาะต่อการประกอบอาชีพการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ประวัติความเป็นมา

ตั้งแต่อดีตนานมา ตำบลพงตึกเป็นตำบลที่มีความเจริญมาตั้งแต่โบราณและเป็นเส้นทางการคมนาคมในสมัยโบราณ มีการขุดค้นพบวัตถุโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างมากมายวัตถุโบราณบางส่วนเก็บรักษาไว้ที่วัดดงสัก และแสดงไว้ที่โบราณสถานพงตึก ในสมัยที่มีการขุดหาวัตถุโบราณ โดยพบสิ่งก่อสร้างโบราณคล้ายตึกอยู่ในป่าในพงรกจึงเรียกบริเวณที่ค้นพบนี้ว่า “พงตึก” จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

1.3 ด้านการปกครอง/การเมืองการบริหาร

ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล

1. บุคลากรฝ่ายการเมือง

16 คน

- คณะผู้บริหารท้องถิ่น

4 คน

- คณะสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

12 คน

2. บุคลากรฝ่ายพนักงานส่วนตำบล/ลูกจ้าง

19 คน

2.1 สำนักปลัด

- พนักงานส่วนตำบล

4 คน

- ลูกจ้างประจำ

1 คน

- พนักงานจ้าง

8 คน

2.2 ส่วนการคลัง

- พนักงานส่วนตำบล

5 คน

- ลูกจ้างประจำ

- คน

- พนักงานจ้าง

- คน

2.3 ส่วนโยธา

- พนักงานส่วนตำบล

1 คน

- ลูกจ้างประจำ

- คน

- พนักงานจ้าง

- คน

ข้อมูลผู้นำท้องถิ่นของเขตพื้นที่ตำบลพงตึก

1. นายไพโรจน์ นันทพรหมมา นายกบริหารส่วนตำบลพงตึก

2. นายพรเทพ วันเพ็ญ กำนันตำบลพงตึก

3. นายสำเริง มาเอี่ยม ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1

4. นายอภิชาติ ยิ้มแพร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2

5. นายสมภพ พุทธผล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3

6. นายสมศักดิ์ พรานเจริญ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4

7. นายระพิน สุขดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5

1.4 ด้านประชากร

ประชากรในเขตพื้นที่ตำบลพงตึก รวม 3,257 คน

ชาย 1,543 คน

หญิง 1,714 คน

1. ด้านการศึกษา

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวัยเรียน

มีประชากรที่อยู่ในกลุ่มวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับ แต่อยู่นอกระบบโรงเรียน ช่วงอายุ 6 -14 ปี ในตำบล พงตึก จำนวนทั้งหมด .....-...... คน ชาย....-........ คน หญิง .........-...... คน

กลุ่มประชากรวัยแรงงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย

1.ประชากรวัยแรงงาน ช่วงอายุ 15- 39 ปี

มีประชากรวัยแรงงาน ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 1,147 คน ชาย 572 คน

หญิง 575 คน

2.ประชากรวัยแรงงาน ช่วงอายุ 40 - 59 ปี

มีประชากรวัยแรงงาน ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 1,012 คน ชาย 454 คน

หญิง 558 คน

ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่

1.กลุ่มผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60- 69 ปี

มีผู้สูงอายุในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 319 คน ชาย 150 คน หญิง 169 คน

2.กลุ่มผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 70- 79 ปี

มีผู้สูงอายุในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 171 คน ชาย 77 คน หญิง 94 คน

3.กลุ่มผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 80- 89 ปี

มีผู้สูงอายุในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 83 คน ชาย 37 คน หญิง 46 คน

4.กลุ่มผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 90 ปีขึ้นไป

มีผู้สูงอายุในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 10 คน ชาย 3 คน หญิง 7 คน

กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นกลุ่มที่มีโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องจาก

1. ข้อจำกัดทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้

2. ข้อจำกัดด้านฐานะทางเศรษฐกิจ หรือความยากจน

3. ข้อจำกัดด้านการติดต่อสื่อสารอันเนื่องมาจากความต่างทางภาษา วัฒนธรรม

มี 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

1. ผู้พิการ

ในตำบลพงตึกจำนวนทั้งหมด .....16...... คน ชาย.....11...... คน หญิง .......5........ คน

แยกเป็นประชากรในแต่ละหมู่บ้านดังต่อไปนี้

2. ผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด 6,105 คน ชาย 2,982 คน หญิง 3,123 คน

แยกเป็นประชากรในแต่ละหมู่บ้านดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้พลาดโอกาส เป็นกลุ่มที่พลาดโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

อันเนื่องจาก

1.ความไม่สามารถในการที่จะเข้ารับการศึกษา การเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีความประสงค์ที่จะรับการศึกษา การเรียนรู้จนจบหลักสูตรหรือ ระดับชั้นการศึกษาใดๆ ที่ผ่านมา

2.การย้ายถิ่น เร่ร่อน

3.เงื่อนไข ข้อจำกัดเกี่ยวกับอายุ

มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

1. กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากการศึกษาภาคบังคับ

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย.....-...... คน หญิง ........-....... คน

2. กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย......-..... คน หญิง .....-.......... คน

3. เด็ก/เยาวชน/ลูกกรรมกรก่อสร้าง

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย......-..... คน หญิง .....-.......... คน

4. กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่มีความพร้อมแต่ไม่ต้องการรับการศึกษาในระบบปกติ

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย.....-...... คน หญิง .......-........ คน

กลุ่มผู้ขาดโอกาส เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ อันเนื่องมาจาก

1. การอยู่ในที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในบริเวณชายแดน

2. การอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

3. การมีถิ่นพำนักอยู่ในต่างประเทศ

4. การถูกจำคุก คุมขังหรือจำกัดบริเวณตามคำพิพากษา

5. การไม่มีสิทธิภาพในฐานะพลเมืองไทย

5. กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลหรือยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย.....-...... คน หญิง .......-........ คน

6. กลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย.....-...... คน หญิง .......-........ คน

7. กลุ่มบุคคลที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์

ในตำบลพงตึก จำนวนทั้งหมด ......-..... คน ชาย.....-...... คน หญิง .......-........ คน

3. ภาษาที่ใช้

ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารในพื้นที่ตำบลพงตึก

1 การศึกษา

- โรงเรียนประถมศึกษา

3 แห่ง

Ø โรงเรียนเกียรติวัธนเวคิน 1

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

Ø โรงเรียนวัดดงสัก (หมั่นวิทยาคาร)

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

Ø โรงเรียนวัดหนองพันท้าว(พรประชาวิทยาคาร)

ตั้งอยู่หมู่ที่ 6

- โรงเรียน มัธยมศึกษา

- แห่ง

- โรงเรียนอาชีวศึกษา

- แห่ง

- โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง

- แห่ง

- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/หอสมุดประชาชน

6 แห่ง

2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา

- วัด/สำนักสงฆ์

3 แห่ง

Ø วัดปากบาง

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

Ø วัดดงสัก

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

Ø วัดหนองพันท้าว

ตั้งอยู่หมู่ที่ 6

- ศาลเจ้า

2 แห่ง

3.การสาธารณสุข

- โรงพยาบาลของรัฐบาลขนาด - เตียง

- แห่ง

- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน

1 แห่ง

- สถานพยาบาลเอกชน

- แห่ง

- อัตราการมี และใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

- สถานีตำรวจชุมชนประจำตำบล

1 แห่ง

1.6 ด้านสาธารณสุข

ตำบลพงตึก มีสถานีอนามัย 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองพันท้าว

1.7 ด้านศาสนา วัฒนธรรม เทศกาลประเพณี/เศรษฐกิจ/อาชีพ

คนส่วนใหญ่ในตำบลพงตึก นับถือศาสนาพุทธและมีประเพณีที่สำคัญที่ตำบลพงตึกประจำทุกปี

คือ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษา และประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมรับจ้างทั่วไป และในโรงงานอุตสาหกรรมประชากรมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

การเกษตรกรรม

การเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลักที่สำคัญของประชากร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ อ้อย ข้าว ข้าวโพด และพืชผักผลไม้

การอุตสาหกรรม

ตำบลพงตึก มีการทำอุตสาหกรรมไม่มากนัก มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 3 แห่ง เป็นโรงงานกลึงเหล็กทั้งหมด ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนมาก แต่ใช้แรงงานกำลังคนค่อนข้างน้อย จึงทำให้คนในพื้นที่ตำบลพงตึกส่วนมากที่มีอาชีพรับจ้าง จะออกไปทำงานในพื้นที่ตำบลอื่นที่มีโรงงานขนาดใหญ่และต้องการแรงงานมาก

การพาณิชยกรรม

การทำธุรกิจในตำบลพงตึก มีไม่มากนัก ปัจจุบันร้านค้าในตำบลมีประมาณ 30 ร้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านขายของชำต่าง ๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพราะประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง

การปศุสัตว์

ประชากรในตำบลพงตึก ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะเลี้ยงปลา เป็ด ไก่และวัว เป็นอาชีพเสริม

1.8 ด้านการคมนาคม

การคมนาคมขนส่งในตำบลพงตึก อาศัยถนนในตำบลและทางหลวงเป็นหลักในการติดต่อกับชุมชนอื่น

โดยเฉพาะการขนส่งวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้น

ถนนสายหลัก เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับอำเภอท่ามะกา และจังหวัดใกล้เคียงได้แก่

- ถนนแสงชูโต เป็นถนนสายหลักที่สำคัญในการติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม

และกรุงเทพฯ

- ถนนท่ามะกา-หนองตากยา ซึ่งแยกจากถนนแสงชูโต ใช้ติดต่อกับอำเภอท่ามะกา ตำบลหนองตากยา เขตอำเภอท่าม่วง และอำเภอด่านมะขามเตี้ย

ถนนสายรอง

- ถนนสายพงตึก-โคกตะบอง เป็นถนนผิวจราจรลาดยาง คสล.ใช้ติดต่อกับตำบลโคกตะบอง

- ถนนสายพงตึก-ท่าเสา เป็นถนนผิวจราจรลาดยาง และ คสล.ใช้ติดต่อกับตำบลท่าเสา

- ถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน เป็นเส้นทางใช้ติดต่อกับตำบลหวายเหนียว

- ถนนข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลอง เป็นถนนผิวจราจรลาดยาง และ คสล.ใช้ติดต่อกับตำบลท่ามะกา

การจราจร

ประชากรส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะในการเดินทางเพื่อขนส่งสินค้า และวัตถุดิบด้านการเกษตร นำไปจำหน่ายแก่ผู้บริโภค

การไฟฟ้า

ตำบลพงตึกและชุมชนข้างเคียง ได้รับบริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่ามะกา อย่างทั่วถึงทุกครัวเรือน

การประปา

ตำบลพงตึก ประชากรประมารร้อยละ 40 ต้องอาศัยน้ำประปาจากส่วนภูมิภาคอำเภอท่ามะกา และอีกประมาณร้อยละ 60 ใช้น้ำบาดาลจากประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1,2,5 และหมู่ที่ 6 จากองค์การบริหารส่วนตำบลพงตึก ในการบริโภคและอุปโภค

การสื่อสารและโทรคมนาคม

ตำบลพงตึก ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ประชาชนต้องไปใช้บริการไปรษณีย์ สาขาท่ามะกา

ข้างว่าที่การอำเภอท่ามะกา ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก

สำหรับการบริการด้านโทรศัพท์สาธารณะ ตำบลพงตึก มีเพียงบางจุดที่เป็นย่านชุมชน หนาแน่น

ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ เนื่องประชาชนส่วนมาก มีโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่

1.9 ด้านการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวภายในตำบลพงตึก มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือโบราณสถานพงตึก

ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.4 ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ประวัติคือกรมศิลปากรขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ.2470 ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองโบราณพงตึกที่เจริญรุ่งเรืองเมื่อพันกว่าปีก่อน เป็นศิลปะแบบทวาราวดี และได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ และพราหมณ์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ตลอดจนโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่นตะเกียงแบบกรีก-โรมันสำริด

พระพิมพ์ดินเผา พระนารายณ์สลักจากศิลา และภาชนะดินเผาแบบต่างๆ เป็นต้น

1.10 ด้านแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ชื่อ

ที่ตั้งประเภท

ร.ร.วัดปากบาง ร.ร.วัดดงสักและร.ร.วัดหนองพันท้าว

ม.1,4 และ ม.6 ตำบลพงตึก

ด้านการศึกษา

วัดปากบาง วัดดงสักและวัดหนองพันท้าว

ม.1,4 และ ม.6 ตำบลพงตึก

ด้านศิลปะ/วัฒนธรรมประเพณี

กศน.ตำบลพงตึก

หมู่ 2 บ้านปลักสะแก

ด้านการศึกษา

โอท้อป กุนเชียงปลายี่สก

หมู่ 2 บ้านปลักสะแก

ด้านอาชีพ

อบต.พงตึก

หมู่ 3 บ้านพงตึก

ด้านการบริหาร/ปกครอง

โบราณสถานพงตึก แห่งที่ 1 และ 2

หมู่ 4 บ้านอู่เตะเภา

ด้านศิลปะ/วัฒนธรรมประเพณี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

หมู่ 6 บ้านหนองพันท้าว

ด้านส่งเสริมดูแลสุขภาพ

1.12 ด้านภาคีเครือข่าย

ชื่อ ภาคีเครือข่าย

ที่ตั้ง/ที่อยู่

1. อบต.พงตึก ม.3 ตำบลพงตึก

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ม.6 ตำบลพงตึก

3. ร.ร.วัดปากบาง ร.ร.วัดดงสักและร.ร.วัดหนองพันท้าว ม.1,4 และ ม.6 ตำบลพงตึก

4. วัดปากบาง วัดดงสักและวัดหนองพันท้าว ม.1,4 และ ม.6 ตำบลพงตึก

5. ผู้นำชุมชน ม.1 – 6 ตำบลพงตึก

6. พัฒนาชุมชนอำเภอท่ามะกา ที่ว่าการอำเภอท่ามะกา

7. ที่ว่าการอำเภอท่ามะกา ที่ว่าการอำเภอท่ามะกา

8. เกษตรอำเภอท่ามะกา ที่ว่าการอำเภอท่ามะกา

9. ที่ว่าการอำเภอท่ามะกา