เว็บไซต์เก็บผลงานออนไลน์ (E-Portfolio) ::: ครูพัชญ์ชิสา อภิกุลวราศิษฐ์ โรงเรียนเดื่อวิทยาคาร
ข้อมูลผู้ประเมิน
นางสาวพัชญ์ชิสา อภิกุลวราศิษฐ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษาโรงเรียนเดื่อวิทยาคาร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนอง
รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 3
อัตราเงินเดือน 41,200 บาท
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 27 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ จำนวน 13 ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ ดังนั้นการฝึกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีทักษะการเรียนรู้เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนและในชีวิตประจำวัน ก็จะสามารถ ทำให้นักเรียนนำไปปรับต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นได้ เพราะทักษะการคิดคำนวณจะเป็นส่วนหนึ่งของความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ และความสามารถในการแก้ปัญหาก็จัดอยู่ในทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมวิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ นำมาพัฒนา พัฒนา การจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทาย รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๒ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสม แล้วนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ความท้าทาย ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้เรื่อง โดยใช้ความท้าทาย ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ในระดับ มาก ขึ้นไป
3.2 เชิงคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการคิดคำนวณแต่ละบริบทของเนื้อหามากขึ้นและสามารถนำวิธีการคิดแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้
บันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน
ลงชื่อ นางสาวพัชญ์ชิสา อภิกุลวราศิษฐ์
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
.1 คุลาคม 2565
กิจกรรม ท้าทายนักเรียนให้ตามหา ไอดอล
ไอดอล 3 คน ที่ซ่อนตัว ส่งโลเคชั่น ให้เพื่อนๆ ใช้
Google Map ในการเดินตามหา
ไอดอล 3 คน ที่ซ่อนตัว ส่งโลเคชั่น ให้เพื่อนๆ ใช้
Google Map ในการเดินตามหา
เพื่อนแข่งกันตามหาไอดอลให้เร็วที่สุดเพื่อถ่ายภาพ
จึงต้องคำนวณและตัดสินใจเลือก
ว่าจะไปหาไอดอลคนไหนก่อน