หลักการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนดหลักการในการจัดไว้ ดังนี้

1. หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมชุมชนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (เป็นหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติโดยสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา และหรือเป็นหลักสูตรที่หน่วยงานภาครัฐได้อนุมัติและอนุญาตให้ใช้แล้ว)

2. สื่อและแหล่งค้นคว้า ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. วิทยากร ต้องสรรหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถหรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่จะสอนอย่างแท้จริง และวิทยากรควรผ่านการอบรมการเป็นวิทยากรจากหน่วยงานสถานศึกษาของ กศน.

4. การจัดการเรียนรู้ จะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับความต้องการและบูรณาการวิธีการจัดการเรียนรู้

5. การจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องเน้นให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและสอดคล้อง กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

6. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้ในการประกอบอาชีการพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


การจัดการศึกษาต่อเนื่อง อาจจัดได้ ดังต่อไปนี้

1. จัดโดยสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2. จัดโดยสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่าย

3. จัดโดยภาคีเครือข่าย


รายงานผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
ประจำปีงบประมาณ 2563

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
โครงการอบรมการขับขี่ปลอดภัย รักษาวินัย และกฎหมายจราจร

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
โครงการอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย และบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย รุ่นที่ 1
โครงการอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย และบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย รุ่นที่ 2

การศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง