วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลพระแท่น ครูอาสาสมัครฯและบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอท่ามะกา ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ป้องกันการลืมหนังสือและการสร้างอาชีพการทำยาหม่องน้ำให้กับผู้สูงอายุ ตำบลพระแท่น ณ เทศบาลตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 

"วันนี้ในอดีต" วันที่ 25 ตุลาคม พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของประเทศไทย

           - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิตของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรกในกรุงสยาม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญญาชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

          1.บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

          2.บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร (ปริญญาบัตรในปัจจุบัน) แก่เวชบัณทิตชั้นตรี จำนวน 29 คน ประกอบด้วยผู้สอบได้บัณฑิตชั้นตรีในปี 2471 จำนวน 18 คน และปี 2472 จำนวน 16 คน

          ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชโชวาทแก่บัณฑิตในครั้งนั้น ตอนหนึ่งว่า “…ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาให้ปริญญาแก่นักเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในวันนี้ นับว่า เป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของมหาวิทยาลัย และโดยเหตุนั้น นับว่าเป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของประเทศสยามด้วย เพราะว่าไม่ว่าประเทศใดๆ ความเจริญของประเทศนั้นย่อมวัดด้วยความเจริญของการศึกษานั้นอย่างหนึ่ง…”

         อนึ่ง ในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือเชิญผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมยุทธศึกษาทหารบก, กรมยุทธศึกษาทหารเรือ, สภากาชาดสยาม, วชิรพยาบาล, มหามงกุฎราชวิทยาลัย, ราชบัณฑิตยสภา, โรงเรียนกฎหมาย, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากกระทรวงต่างๆ เอกอัครราชทูตของประเทศที่มาประจำประเทศไทย ฯลฯ มาร่วมพิธีด้วย

ข้อมูลจาก :

          หอประวัติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.memohall.chula.ac.th

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว http://www.kingprajadhipokmuseum.com

วันนี้เมื่อ ๖  ปีก่อน

เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๒๕ ถึง ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ โดยวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ เป็นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ

วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี ถือเป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนึงสือ และเป็นวันการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับประเทศไทย 

"วันนี้ในอดีต" วันที่ 7 กันยายน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย”

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" อย่างเป็นทางการประเทศไทย เป็นรัฐชาติตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อเรียกว่า “สยาม” จนกระทั่งสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีแนวคิดชาตินิยม จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482  แต่ในทางกฎหมายแล้วต้องถือเอาวันที่ 26 สิงหาคม 2482 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลสมัยนั้นเสนอร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศต่อรัฐสภา โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้เรียกชื่อประเทศว่า “ประเทศไทย” และตามที่ได้มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ที่มีคำว่า “สยาม” ก็ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน

."ตามที่ได้มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2483 ซึ่งในภาษาอังกฤษให้ใช้ชื่อเรียกประเทศไทยว่า ‘Thailand’ ชื่อประชาชนและสัญชาติว่า ‘Thai’ นั้น

.บัดนี้ รัฐบาลได้พิจารณาว่า โดยที่ชื่อของประเทศเราเป็นที่นิยมเรียกกันทางต่างประเทศว่า ‘Siam’ จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั่วไปมาช้านานแล้ว ฉะนั้นจึงให้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า ‘Siam’ กับชื่อประชาชนและสัญชาติให้ใช้ว่า ‘Siamese’ สำหรับในภาษาต่างประเทศอื่นให้ใช้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยให้คงใช้ว่า ‘ไทย’ ไปตามเดิม"

.ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2488

.ทวี บุณยเกตุ (นายกรัฐมนตรี)

.ประกาศข้างต้นเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของไทย ที่ได้ชื่อว่าดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมือง เพียง 18 วัน โดยคำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เพียงไม่ถึง 1 เดือน

.การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ‘สยาม’ เป็น ‘ไทย’ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก โดยยึดหลักที่ว่า ประเทศส่วนใหญ่มักตั้งชื่อประเทศตามเชื้อชาติของตน

.การประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งนั้นใช่ว่าจะเป็นไปด้วยความเห็นพ้องต้องกันตามท่านผู้นำทั้งหมด เพราะยังมีเสียงคัดค้านจากบางฝ่ายว่าจะเป็นการทำให้คนเชื้อชาติอื่น เช่น จีน มลายู ไม่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ ‘ไทย’ แต่ทว่าในที่สุดประกาศรัฐนิยมก็มีผลบังคับใช้

.อย่างที่เรารับทราบกันในประวัติศาสตร์ว่า ความเปลี่ยนแปลงจากสยามมาเป็นไทย ในวันนี้ รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีส่วนสำคัญในการออกมาตรการต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล

.อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ 3 เดือนเศษ รัฐบาลนี้ยังคงเรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสว่า ‘Siam’ ต่อไปอีก

.ต่อมาในเดือนเมษายน 2491 เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งแทนรัฐบาลนายควง ก็ได้กลับไปเปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า ‘Thailand’ และในภาษาฝรั่งเศส ‘Thailande’ ซึ่งรัฐบาลต่อๆ มาก็ได้ใช้ตามจนปัจจุบันนี้ 

"วันนี้ในอดีต" วันที่ 15 พฤษภาคม ขายภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช 2,600 ล้านบาท


วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช โดยฟินเซนต์ ฟัน โคค ถูกจำหน่ายด้วยมูลค่า 82.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นภาพเขียนที่แพงที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น


ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยฟินเซนต์ ฟัน โคค จิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของลัทธิประทับใจยุคหลัง "ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช" ขายในราคา 82.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,600 ล้านบาท (75 ล้าน บวกค่านายหน้า 10 เปอร์เซ็นต์) ในปี ค.ศ. 1990


"ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช" เขียนขึ้นในปีสุดท้ายของชีวิตของฟัน โคค ในปี ค.ศ. 1890 ภาพนี้ที่แท้จริงมีด้วยกัน 2 ภาพ ทั้งสองภาพต่างก็เป็นภาพด็อกเตอร์กาแชนั่งเกยหน้ากับแขนขวา แต่มีลักษณะต่างกันพอที่จะแยกได้


ฟัน โคคเขียน "ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช" ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ ใกล้กรุงปารีส เป็นภาพของด็อกเตอร์ปอล กาแช กับต้นถุงมือจิ้งจอกบนโต๊ะ กาแชเป็นแพทย์และยังเป็นจิตรกรสมัครเล่นที่เข้ามาดูแลและกลายเป็นเพื่อนที่ดีของฟัน โคค ฟัน ช่วงเดือนสุดท้ายของชีวิตเขา ต้นถุงมือจิ้งจอกเป็นพืชที่ใช้สกัดมาใช้ในการรักษาโรคหัวใจบางประเภท จึงนำมาเป็นเป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงว่ากาแชเป็นนายแพทย์


ภาพดั้งเดิมขายโดยน้องสะใภ้ของฟัน โคคเป็นจำนวน 300 ฟรังก์ในปี ค.ศ. 1897 ต่อมาก็ถูกขายให้แก่เพาล์ คัสซีเรอร์ (ค.ศ. 1904), เค็สส์เลอร์ (ค.ศ. 1904) และดรุแอ (ค.ศ. 1910) ในปี ค.ศ. 1911 หอศิลป์แห่งรัฐที่แฟรงก์เฟิร์ตก็ซื้อต่อจากดรุแอ และตั้งแสดงอยู่ที่นั่นจนกระทั่งปี ค.ศ. 1933 เมื่อถูกนำไปซ่อน ในปี ค.ศ. 1937 ภาพเขียนก็ถูกยึดโดยกระทรวงการส่งเสริมการประเทืองปัญญาของสาธารณชนและการโฆษณาชวนเชื่อ (Ministry of Public Enlightenment and Propaganda)


ทำให้แฮร์มันน์ เกอริง (นักการเมืองคนสำคัญในพรรคนาซี) รีบขายภาพให้แก่นักซื้องานศิลปะคนหนึ่งในอัมสเตอร์ดัม นักซื้อผู้นี้ก็ขายภาพต่อให้กับนักสะสมศิลปะชื่อซีกฟรีด ครามาร์สกี เขานำภาพเขียนชิ้นนี้ติดตัวไปด้วยเมื่อหนีไปนิวยอร์ก และมักจะให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันยืมไปจัดแสดงอยู่บ่อยครั้ง


ในปี ค.ศ. 1990 ตระกูลครามาร์สกีได้ประมูลขายภาพเขียนนี้เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ที่ห้องประมูลภาพคริสตีส์ในนครนิวยอร์ก ไซโต เรียวเอ (Saitō Ryōei) ประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทผลิตกระดาษไดโชวะ จ่ายเงินประมูลไปด้วยราคา 82.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ภาพเขียนนี้กลายเป็นภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุดในโลกในขณะนั้น


ไซโตผู้มีอายุ 75 ปีสร้างความโกรธเคืองระดับโลกเมื่อกล่าวว่าจะเผาภาพเขียนพร้อมกับร่างของตนเองเมื่อเสียชีวิต แต่ต่อมาไซโตก็พยายามไกล่เกลี่ยว่าความหมายที่ตั้งใจคือต้องการที่จะอนุรักษ์ภาพเขียนตลอดไป ผู้ช่วยของไซโตอธิบายเพิ่มว่าคำพูดดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความรู้สึกผูกพันอย่างลึกซึ้งของไซโตต่อภาพเขียนเท่านั้น


ต่อมาไซโตก็กล่าวว่าจะอุทิศภาพเขียนให้กับรัฐบาลหรือพิพิธภัณฑ์ แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1996 ที่อยู่ของภาพเขียนและเจ้าของก็กลายเป็นเรื่องลึกลับ แต่เมื่อต้นปี ค.ศ. 2007 ก็มีข่าวมาว่า เมื่อสิบปีก่อน ภาพเขียนถูกขายให้แก่นักลงทุนทางการเงินที่เกิดในออสเตรียชื่อว็อล์ฟกัง เฟลิทเทิล แต่หลังจากที่ประสบปัญหาทางการเงิน เฟลิทเทิลก็ต้องขายภาพเขียนต่อ แต่ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่าใครเป็นผู้ซื้อ


ส่วนภาพที่สองเป็นของพิพิธภัณฑ์ออร์แซในปารีส ดูน้อยลง

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์กับ กศน.ตำบลพระแท่น

วันนี้เมื่อ ๗๒ ปีที่ก่อน

เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ขณะนั้น “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร”) ณ วังสระปทุม นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

ปี ๒๔๙๑ ขณะที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร รับราชการในฐานะเอกอัครราชทูตนั่นเอง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จจากเมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มายังชานเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงได้มาเฝ้ารับเสด็จ

ในครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนีมีรับสั่งให้พระราชโอรสทอดพระเนตรหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ด้วยว่าสวยน่ารักไหม ท่านผู้หญิงเกน หลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เขียนเล่าใน “ บันทึก เป็น อยู่ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ” ว่า หม่อมเจ้านักขัตรมงคลก็ไม่ใช่ใครอื่น เป็นหลานแท้ ๆ ของสมเด็จย่า และเป็นคนดี หม่อมหลวงบัวก็เป็นลูกสาวเจ้าพระยาวงศาฯ ซึ่งเป็นคนดี ซื่อตรง และยังทรงกำชับว่า ถึงปารีสแล้วโทรฯ บอกแม่ด้วย ท่านผู้หญิงเกนหลง ทรงเล่าในบันทึกต่อมาว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ถึงปารีสแล้ว จึงโทรศัพท์ตอบคำถามพระราชชนนีว่า “เห็นแล้วน่ารักมาก”

วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๙๑ ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร

” ตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุ ก็มีรับสังให้ครอบครัวเราเข้าเฝ้า เพราะทรงได้รับบาดเจ็บที่พระเนตรและพระ เศียร คุณแม่ก็เข้าไปก่อน ตอนเข้าเฝ้าฯ ก็ให้จับพระหัตถ์ท่านแล้วบอกชื่อ พอถึงสมเด็จฯ ท่านก็ทูลว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เพคะ พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงจับมืออยู่นานพอสมควรเลย ” ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงษ์ เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นในหนังสือ “ ด้วยพลังแห่งรัก ”

อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เป็นต้นเหตุให้เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ สมเด็จพระราชชนนีได้รับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตมงคล โดยพิธีหมั้นได้จัดขึ้นอย่างเงียบ ๆ เรียบง่าย ณ โรงแรมวินด์เซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระธำมรงค์เป็นของหมั้นต่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ซึ่งเป็นพระธำมรงค์องค์เดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงมอบต่อสมเด็จพระบรมราชชนนี

จนวันที่ ๑๒ สิงหาคม ในปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศข่าวทรงหมั้นให้คนไทยทราบในงานเลี้ยงอันเรียบง่าย ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ข่าวอันเป็นสิริมงคลนี้ ทำให้คนไทยเกิดความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ประหนึ่งดังแสงสว่างที่ส่องสู่หัวใจทุกดวง ท่ามกลางข่าวอันน่าเศร้าสลดที่จะทรงมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม ๒๔๙๓

หลังจากนั้น รัฐบาลได้แจ้งให้ประชาชนชาวไทยทราบว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จนิวัติ ประเทศไทย พร้อมด้วยพระคู่หมั้นในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๙๓

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ เป็นวันประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ เวลา ๐๙.๓๐ น. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ทรงนำหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ไปยังวังสระปทุม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี ๒ คน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี, พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามด้วย เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชปิตุลา

เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออก ณ ชั้น ๒ ของพระตำหนักแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ฯ ทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมในพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญ ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบบุหรี่เงินขนาดเล็ก ประดับอักษรพระนามาภิไธยย่อ ภ.อ. และ ส.ก

ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์แก่สมเด็จพระราชินีในศุภมงคลโอกาสนี้ด้วย เมื่อเวลา ๑๖.๐๐ น. ของวันเดียวกันนี้ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระราชวโรกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล แล้วเสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยให้คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการและคณะทูตานุทูต เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

ในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานโดยรถไฟพระที่นั่งไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา ๕ วัน

ป.ล. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙” และสมเด็จพระบรมราชชนนี หมายถึง “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือพระนามที่นิยมเรียกกันว่า “สมเด็จย่า”