ข้อมูลตำบล

ข้อมูลพื้นฐาน ตำบลไผ่

 

1. สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลไผ่

1.1  ชื่อ : ตำบลไผ่

       ประวัติตำบลไผ่

       ในสมัยราว พ.ศ.2438 มีนายแก้ว  นนทะวงษ์ (หลวงอินทร์) ทำหน้าที่เป็น “ตาแสง”(เทียบตำแหน่งกำนัน)ทำหน้าที่ปกครองตำบลไผ่  มี นายนวล  บุญราช ,นายศิลา  นนทะวงษ์ และนายคำสิงห์  จันทะพันธ์  ต่อมามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย  มี นายสิงห์  รัตนะวัน  ทำหน้าที่ กำนันและได้แยกหมู่บ้านออกคือ บ้านสร้างแก้วและบ้านหนองศาลา ในช่วงนั้นได้เกิดสงครามคอมมิวนิสต์ได้ส่งผู้กล้าไปร่วมที่บ้านอาวอย  เมื่อนายสิงห์  รัตนะวัน ถึงแก่กรรม ก็มีนายสุข  พลพวก  ทำหน้าที่กำนันปกครองและได้แยกหมู่บ้านอีกคือ บ้านหนองศาลา ,บ้านดอนมะเกลือ,และบ้านหนองยาง  ต่อมาได้ส่งอาสาสมัครเข้าร่วมก่อสร้างฐานลับของเสรีไทยที่บ้านจังแอ่น  ด้วยแนวความคิดที่ขัดต่อระบอบการปกครอง  ได้มีคำสั่งให้นายสุข  พลพวก ออกจากตำแหน่งกำนันและได้เลือกตั้ง นายสอน  รัตนวัน  เป็นกำนันต่อมา ซึ่งในช่วงนี้ได้นำหลักการปกครองแบบ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัตน์  มาพัฒนาบ้านเมืองจนสะอาดดีกว่าเดิม มีถนนการคมนาคมสะดวก  ปราบโจรผู้ร้าย  ยาเสพติด  แหล่งการพนันแทบหมดสิ้น  เมื่อนายสอน  รัตนวัน หมดวาระลง  ได้เลือกตั้ง นายใบ    จันทะพันธ์ เป็นกำนันและได้แยกการปกครองออกอีก คือ บ้านหัวหนอง , บ้านคูสระน้อย ,บ้านโนนพะยอม,บ้านหนองคูไซ,บ้านไผ่ หมู่ 9 , ซึ่งต่อมา นายใบ จันทะพันธ์ หมดวาระ ได้เลือกตั้ง  นายเหรียญ  นามแสง  เป็นกำนัน และได้แยกการปกครองออกเป็นตำบลสร้างปี่  ประกอบด้วยบ้านสร้างแก้วบ้านด่านนอกดง,บ้านสร้างปี่,บ้านหนองคูไซ,บ้านหนองสวง,บ้านหนองขามและบ้านโนนพะยอม  ทางตำบลไผ่จึงได้เลือกตั้งกำนันใหม่  ได้นายสมร  อรรคบุตร      เมื่อนายสมร  อรรคบุตร ได้หมดวาระและได้เลือกตั้งใหม่ ได้นายไสว อรรคบุตร  เป็นกำนันมีการแยกหมู่บ้านอีก 3 หมู่บ้าน  คือ บ้านคูสระใหม่  ม.10,บ้านไผ่ ม.11,และบ้านดอนกลาง  ม.12  เมื่อนายไสว  อรรคบุตร  เสียชีวิตลง  ได้เลือกตั้งใหม่  คือนายวิเสธฐ์  แว่นแก้ว  เป็นกำนันตำบลไผ่ จนถึงปัจจุบัน

       หมายเหตุ : เดิมตำบลไผ่  มี 7 หมู่บ้านดังนี้

1. บ้านไผ่

2. บ้านคูสระ

3.บ้านเมี่ยง

4.บ้านหนองดุม

5.บ้านหนองสวง

6.บ้านด่าน

7.บ้านสร้างปี่


   ที่ตั้งอาณาเขต   ตำบลไผ่  อำเภอราษีไศล  จังหวัด ศรีสะเกษ

       ทิศเหนือ      ติดต่อกับ     ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง  จังหวัดยโสธร

       ทิศใต้         ติดต่อกับ     ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ

       ทิศตะวันออก ติดต่อกับ     ตำบลสร้างปี่ อำเภอราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ

       ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ     ตำบลเมืองแคน   อำเภอราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ

เขตการปกครอง

แผนที่แสดงอาณาเขตการปกครอง

เขตการปกครอง

เขตการปกครอง   จำนวนหมู่บ้าน  12  หมู่บ้าน

      จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่  รวมทั้งหมู่บ้าน  12  หมู่บ้าน  ได้แก่

(1)  หมู่  1  บ้านไผ่                       (2)  หมู่  2  บ้านดอนมะเกลือ

(3)  หมู่  3  บ้านหนองดุม                (4)  หมู่  4  บ้านเมี่ยง

(5)  หมู่  5  บ้านคูสระ                   (6)  หมู่  6  บ้านหนองยาง

(7)  หมู่  7  บ้านคูสระน้อย              (8)  หมู่  8  บ้านหัวหนอง

(9)  หมู่  9  บ้านไผ่                       (10)  หมู่  10  บ้านคูสระใหม่

(11)  หมู่  11  บ้านไผ่                   (12)  หมู่  12  บ้านดอนกลาง


การปกครอง

    องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่

     นายก  อบต.  ชื่อ นายประสิทธิ์  เจตนา

     ปลัด  อบต.  ชื่อ  นายกิตติศักดิ์  จริยาปรีชานนท์

    ประธานสภา  อบต.  ชื่อ  นายสุรศักดิ์  รัตนะวัน

   กำนันผู้ใหญ่บ้าน

     ชื่อกำนัน นายวิเสธฐ  แว่นแก้ว  บ้านคูสระ  หมู่ 5

    ชื่อผู้ใหญ่บ้าน

1.       นายสัญจร  หินกอง             ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไผ่   หมู่ 1

2.       นายกังกาล  รัตนะวัน       ผู้ใหญ่บ้าน บ้าน ดอนมะเกลือ  หมู่ 2

3.       นายอติเทพ  พันธ์ศรี      ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองดุม  หมู่ 3

4.       นายบุญมี  พันธ์ศรี              ผู้ใหญ่บ้าน บ้านเมี่ยง  หมู่ 4

5.       นายธนากร  พรมลา            ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองยาง หมู่ 6

6.       นายบุญจันทร์  นนทะวงษ์       ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคูสระน้อย หมู่ 7

7.       นายบุญยืน  อรรคบุตร       ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหัวหนอง  หมู่ 8

8.       นายทองปาน  อรรคบุตร       ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไผ่   หมู่ 9

9.       นายหวัน  แว่นแก้ว             ผู้ใหญ่บ้าน    บ้านคูสระใหม่   หมู่ 10

10.   นายวินัย  จันทะพันธ์           ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไผ่   หมู่ 11

11.   นายสายัน   พันธ์ศรี             ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนกลาง   หมู่ 12


สภาพทางเศรษฐกิจ

ด้านการเกษตร

       - ทำนา       คิดเป็นร้อยละ    98   ของครัวเรือนทั้งหมด

       - ปลูกหอมแดง      คิดเป็นร้อยละ    80   ของครัวเรือนทั้งหมด

       ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ ทำนา ปลูกหอม ทำไร่ปอ ไร่มัน และทำสวน

      

 

ศาสนาและวัฒนธรรม

ศาสนา         ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ       ศาสนาพุทธ  คิดเป็นร้อยละ  99.26

         ศาสนาอื่นๆ  ประกอบด้วย         ศาสนาคริสต์     คิดเป็นร้อยละ 0.67

                                ศาสนาอิสลาม   คิดเป็นร้อยละ 0.08

        มีวัดในตำบล 6  แห่ง 

 

สาธารณสุข

             มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ   1  แห่ง  

     เมื่อเจ็บป่วยประชาชนนิยมไปรักษาที่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไผ่

                มีอาสาสมัครสาธารณสุข  (อสม.)  จำนวน  66 คน 

             ประธาน  อสม.ประจำ  ตำบล  ได้แก่  นายจอน  บุญอินทร์

 

การศึกษา

       สถานศึกษาในท้องถิ่น

               1.  โรงเรียนมัธยมศึกษา   จำนวน  1 แห่ง

      2.   โรงเรียนประถมศึกษา   จำนวน 2   แห่ง

         3.   โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา   จำนวน 1  แห่ง

         4.   โรงเรียนอนุบาล   จำนวน   -   แห่ง

         5.   ศูนย์เด็กเล็ก   จำนวน  1  แห่ง

            6.   โรงเรียนเอกชน   จำนวน  -  แห่ง

 

ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม อิทธิพลทางความคิด

       ขนบธรรมเนียมประเพณี มีการยึดถือเหมือนกับชุมชนอื่นๆ ของภาคอีสาน เช่นกัน ได้แก่ ประเพณี  ความเชื่อ ดังนี้ 

ฮีตสิบสอง

       เดือนอ้าย ทำบุญลาน (กุ้มข้าวใหญ่) หรืออีกอย่างหนึ่งคือสู่ขวัญข้าว เมื่อชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วจะต้องแบ่งส่วนไปวัด เพื่อรวบรวมข้าวเป็นของวัด แล้วนิมนต์พระมาสวดมนต์ทำพิธีเพื่ออัญเชิญคุณพระแม่โพสพ

       เดือนยี่ บุญข้าวกรรม หลังจากออกพรรษาเสร็จแล้ว พระสงฆ์ต้องการการจารึกแสวงบุญ โดยการเข้ากรรมฐาน

       เดือนสาม บุญข้าวจี่ เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ชาวบ้านทุกครอบครัวทุกหมู่บ้านจะต้องนำข้าวเหนียวมาปั้นแล้วจี่ข้าวไปตักบาตร

       เดือนสี่ บุญพระเวส เป็นการทำประเพณีใหญ่ มีแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง มีเทศน์มหาชาติและขอฟ้าขอฝน

       เดือนห้า วันสงกรานต์ มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

       เดือนหก บุญบั้งไฟ มีการจุดบั้งไฟเพื่อขอฟ้า ขอฝนเพื่อทำการเกษตร ทำไร่ ไถนา

       เดือนเจ็ด บุญเบิกบ้าน ทำบุญตักบาตร

       เดือนแปด บุญเข้าพรรษา มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน

       เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน นำอาหารไปตักบาตรที่วัด และแบ่งส่วนหนึ่งบูชาดินและสิ่งศักดิ์ศิษย์ในพื้นดิน

     เดือนสิบ บุญข้าวสารท ชาวบ้านจะนำข้าวห่อเล็กๆ มีข้าวกระยาสารท ซึ่งเอาข้าวเปลือกเหนียวมาคั่ว เพื่อให้เนื้อข้าวแตกออกเป็นสีขาว แล้วคลุกน้ำตาลมะพร้าวถวายพระ

       เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ชาวบ้านต้องไปเวียนเทียน และทำบุญตักบาตรตอนเช้าที่วัด

       เดือนสิบสอง บุญกฐิน ชาวบ้านจะต้องทำกฐิน ไปทอดถวายที่วัดของตนช่วงเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา

       หมายเหตุ  บุญผ้าป่าทำได้ทุกๆ เดือน และการทำบุญแต่ละเดือนนั้น ชาวบ้านจะหยุดการทำงานเพื่อมาช่วยทำบุญจนเสร็จพิธี

       คอง 14 คือระบบการปกครอง ได้แก่ตัวบทกฎหมายโบราณ 14 ข้อ ที่ชาวบ้านถือปฏิบัติต่อตัวเองและชาวบ้านด้วยกัน

       ประเพณีความเชื่อมีผลต่อการประกอบอาชีพ

1.   บุญคูณลาน

       เมื่อนวดข้าวใส่ลานเสร็จเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรจะทำการพูนข้าวให้กองโตและให้สูงที่สุด แล้วจะมีการวัดเส้นรอบวงของฐานกองข้าวและจะคำนวณข้าวว่าได้กี่ถัง และจะนิมนต์พระมาตักบาตรที่ลานนวดข้าว จะใช้เวลาตั้งแต่หาบฟอนข้าวมากองรวมกัน จนถึงนวดข้าวเสร็จ ประมาณ ๑ เดือน คือเดือนอ้าย จะทำกันทุกๆ ครอบครัว

       ประโยชน์ ชาวบ้านจะได้รู้ว่าข้าวตนเองได้กี่ถัง เจ้าหน้าที่จะรู้สถานการณ์การผลิตข้าวขอแต่ละครอบครัว แต่ละหมู่บ้าน

       2. บุญสงกรานต์

       ทำกันในช่วงเดือน 5 อากาศจะร้อนมาก มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ งานจะเริ่ม 12- 15 เมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะไม่ออกไปประกอบอาชีพ จะมีการสรงน้ำพระ คนแก่ และมีการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ รวมเวลาอย่างน้อย    3 วัน ชาวบ้านจะเสียเวลาในการทำมาหากินในช่วงนี้มาก บางหมู่บ้านจะหยุดประมาณ 7 วัน และชาวบ้านจะใช้เงินมากกว่าทุกบุญ เพราะมีการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม และเพื่อนหรือญาติพี่น้อยที่อยู่ต่างจังหวัดจะมารวมกันที่บ้านเกิดจะมีการเลี้ยงฉลองกันตลอดทั้งวันทั้งคืนและเป็นช่วงการเล่นการพนันมากที่สุด

       3. ประเพณีบุญบั้งไฟทำกันในช่วงเดือน 6 การเตรียมงานส่วนใหญ่จะเตรียมงานกันเป็นเดือนๆ ในช่วงเดือน 6 นี้จะทำบุญวันไหนก็ได้ มีการแข่งขันต่างๆ เช่น ขบวนแห่บั้งไฟ แข่งบั้งไฟขึ้นสูง แข่งบั้งไฟอยู่บนท้องฟ้านาน มีรางวัลต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมีการเสี่ยงทายฟ้าฝนด้วย ถ้าบั้งไฟเสี่ยงท้ายนั้นขั้น ทายว่าปีนี้จะดีเกษตรกรจะอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าบั้งไฟแตก จะทายว่าปีนั้นน้ำน้อย จะเกิดข้าวยากหมากแพง จะทำบุญทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลแล้วแต่ว่าบ้านไหนจะจัดใหญ่ขนาดไหน บุญนี้จะมีชาวบ้านเที่ยวกันมากกว่าทุกงาน


       การสาธารณสุข

ข้อมูลด้านการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านไผ่