งานสาธารณสุข

องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

การดำเนินการด้านต่าง

แยกขยะ ง่ายๆ

"แค่ใช้ 3R"

Reduce ใช้น้อย

Reuse ใช้ซ้ำ

Recycle นำกลับมาใช้ใหม่



ใช้พลาสติกอย่างไร ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ?


ข่าวประชาสัมพันธ์

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๖๐ มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐

โดยมาตรการสำคัญที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้อง ประกอบด้วย

๑. กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี

๒. ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ

๓. ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน ๔ กลุ่มสถานที่ ได้แก่ วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานพยาบาลและร้านขายยา สถานศึกษาทุกระดับ สวนสาธารณะ สวนสัตว์และสวนสนุก

๔. กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต

๕. ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์ อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณพ์ยาสูบ

๖. ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น

๗. ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน

๘. เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท

๙. กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท

ขอบคุณข้อมูลจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่


มอบแทนกดพร้อมเจลแอลกอฮอล์

และโปสเตอร์ให้ความรู้

ให้แก่ โรงเรียน และวัด ในพื้นที่ตำบลแสนตอ

เพื่อให้บริการประชนในพื้นที่ตำบลแสนตอ

อบรมให้ความรู้เรื่องโคโรนาไวรัส 2019

และการจัดทำหน้ากากผ้า เพื่อเป็นผู้นำในการป้องกันโรค COVID-19

แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อสม. กลุ่มสตรี จิตอาสา สมาชิก อบต.

และบุคลากร อบต.แสนตอ

สื่อความรู้ด้านสาธารณสุข

การล้างมือ 7 ขั้นตอน

ชีวิตวิถีใหม่

การดูแลเด็กในช่วง COVID-19


การหลีกเลี่ยง (Avoid) พลาสติก


การลดใช้ (Reduce) พลาสติก


การใช้ซ้ำ (Reused)








การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการรีไซเคิล หมายถึงการนำเอาผลิตภัณฑ์ที่เป็นขยะเหลือใช้มาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นวัตถุดิบ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีการทิ้งขยะพลาสติกประมาณ 2,163,000 ตัน แต่กลับสามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้เพียง 764,000 ตันหรือเพียงร้อยละ 35 ของปริมาณขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกทั้งหมด พลาสติกที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ คือพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก สามารถจำแนกได้หลายชนิด

ผู้บริโภคสามารถแยกชนิดพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้โดยสังเกตสัญลักษณ์และรหัสที่ถูกระบุบนผลิตภัณฑ์ (กำหนดโดยNA Society of the Plastics Industry ในปีค.ศ. 1988) ซึ่งมีทั้งหมด 7 ประเภทดังนี้โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท (PET)โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE)โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC)โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ(LDPE) โพลีโพรพิลีน (PP)โพลีสไตรีน (PS)และประเภท อื่น ๆดังรายละเอียดในตาราง

การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle