เสาวรส


เสาวรส

อนุกรมวิธานของเสาวรส

Kingdom Plantae

Division Anthophyta

Class Eudicotidae

Order Mulpighiales

Family Passifloraeae

Genus Passiflora

Species Passiflora laurifolia Linn.

ชื่อพืช เสาวรส

ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora laurifolia Linn.

ชื่อพื้นเมือง กระทกรก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง

ชื่อสามัญ Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla

ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส Passiflora laurifolia Linn. (เอกสาร หน้า 9 ของ ก.7-003 รหัสพรรณไม้ 7-47170-002-077) ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ จากนักพฤกษศาสตร์เจ้าหน้าที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ได้ศึกษาในเอกสารออนไลน์ พบว่าชื่อวิทยาศาสตร์เขียนเหมือนกัน (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๕๐)

ข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์ของเสาวรส

พืชชนิดนี้มีผู้สนใจศึกษา และ ค้นคว้าในด้านต่าง ๆ พอจะสรุปได้ดังนี้

โครงสร้างภายนอก

1) ราก (Root)

เสาวรสเป็นระบบรากแก้วและมีรากแขนงอยู่รอบ ๆ รากแก้ว (Tap root)

จะมีสีน้ำตาลปนเหลือง ผิวหยาบ รากแขนง ( lateral root) รูปร่างสามเหลี่ยม รูปทรงกรวย มีสีน้ำตาลอ่อน มีผิวเรียบมีขนาดเล็กกว่ารากแก้ว

2) ลำต้น (Stem)

มีลำต้นแข็งแรงเป็นเถาเลื้อย (Weedy perennial climber) มีข้อ (Node) และปล้อง (Internode) ที่ไม่ชัดเจน มีมือเกาะ (Tendril) ช่วยในการเกาะพันขึ้นไปตามค้าง ในพันธุ์ผลสีเหลืองจะมีลำต้นเป็นสีม่วง

3) ใบ (Leaves)

ตรงบริเวณโคนก้านของใบจะมีหูใบ (Stipules) ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อยู่ 2 อัน ก้านใบยาวประมาณ 2-5 เชนติเมตร ด้านบนของใบจะเป็นร่อง หรือ ราง ใบมีทั้งแบบ 3 แฉก และแบบ Ovate อยู่บนต้นเดียวกัน คือ ใบที่อยู่ข้าง ๆ โคนต้น หรือใบแรก ๆ ของแต่ละกิ่งจะเป็นแบบ Ovate ส่วนใบที่อยู่ถัดออกไปจะเป็นแบบ 3 แฉก ตลอดขอบใบจะเป็นหยักละเอียด ขนาดใบกว้าง 10 – 15 เชนติเมตร และยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร สำหรับแต่ละแฉกของใบจะมีรูปร่างแบบ Ovate-oblong

4) ดอก (Flower)

ดอกแต่ละดอกจะแยกกันอยู่เดี่ยว ๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอก ประมาณ ๒–๕ เซนติเมตร กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจะมีจำนวนเท่ากัน คือ ๕ กลีบ มีกาบหุ้มดอก (Bract) อยู่ ๓ อัน กลีบดอกจะมีสีขาวอมเขียวเล็กน้อย ฐานของกลีบมีสีม่วงเข้ม และมีเส้นสีขาวออกจากฐานของกลีบ ดอกจะเรียงกันเป็น ๒ ชั้น เรียกว่า corona ซึ่งจะมีสีม่วงตรงโคนและขาวตรงปลายเกสรเพศผู้ (Stamen) จะมีอยู่ ๕ อัน และมีอับละอองเกสรเพศผู้ (Anther) อยู่ตรงปลายของก้านชูเกสร (Gynophore) และบนยอดของรังไข่จะมีก้าน ๓ ก้านชูขึ้นมาทำหน้าที่รับละอองเกสรเพศผู้ ซึ่งเมื่อได้รับการผสมแล้วรังไข่ก็จะเจริญเป็นผลต่อไป ปกติดอกพันธุ์ผลสีเหลืองจะบานตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึง ๓–๔ ทุ่ม จึงจะหุบ ในประเทศไทยจะออกดอกในช่วง ประมาณ เดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี

5) ผลและเมล็ด (Fruit)

ผลเป็นแบบเบอร์รี่ ( berry ) รูปร่างของผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ผลพันธุ์สีเหลืองมีเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร และพันธุ์ผลสีม่วง มีเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ ๔-๕ เซนติเมตร

6) เมล็ด ( seed )

เมล็ดอยู่ในผลมากมาย โดยแต่ละเมล็ดจะถูกหุ้มเอาไว้ด้วย pulp สีเหลือง ซึ่งยึดติดกับผนังรังไข่ เปลือกหุ้มเมล็ดสีดำ เมล็ดมีลักษณะแบน ๆ ขนาดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร กว้าง ๓ มิลลิเมตร

โครงสร้างภายในรากเสาวรส

1. รากของเสาวรสโดยการตัดขวางและตามยาว พบว่าประกอบไปด้วยชั้นนอกสุดคือ

เอพิเดอร์มิส (Epidermis) ถัดเข้าไปคือ คอร์เทกซ์ (cortext) เอนโดเดอร์มิส (Epidermis) และจะเป็นกลุ่มของมัดท่อลำเลียง ( vascular bundle ) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่อลำเลียงอาหาร (phloem) และท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ( xylem) เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ

2. โครงสร้างภายในลำต้นเสาวรส ลำต้นเสาวรส โดยการตัดตามขวาง (Cross section )

พบว่าชั้นนอกสุดประกอบด้วย เอพิเดอร์มิส (Epidermis) ถัดเข้าไปจะเป็นชั้น คอร์เทก (Cortex) และส่วนของมัดท่อลำเลียง วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular bundle) ประกอบด้วยท่อลำเลียงอาหาร โฟลเอ็ม (Phloem) เนื้อเยื่อเจริญ แคมเบียม (Cambium) และท่อลำเลียงน้ำ (Xylem) โครงสร้างภายในลำต้นของเสาวรส โดยตัดตามยาว พบว่าท่อมัดลำเลียง มีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ แสดงให้เห็นว่าเป็นพืชใบเลี้ยงคู่

3. โครงสร้างภายในใบของเสาวรส

3.1 เส้นใบเสาวรส โครงสร้างภายในเส้นกลางใบ จากการศึกษาโครงสร้างภายในของใบ

เสาวรสเมื่อตัดตามขวาง(Cross section) พบว่ามีโครงสร้างภายในเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ประกอบด้วย เอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นเยื่อหุ้มใบที่มีอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างประกอบด้วยเซลล์แถวเดียวและรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีคลอโรพลาสต์ แบ่งเป็น เอพิเดอร์มิสด้านบน (Upper epidermis) มักมี คิวทิน ฉาบหนา เอพิเดอร์มิสด้านล่าง (Lower epidermis) คิวทิน (Cutin) ที่ฉาบอยู่เป็นเยื่อบาง ๆ ใส ๆ เรียกว่า คิวทิเคิล (Cuticle) มีโซฟิลล์ (Mesophyll) เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่าง เอพิเดอร์มิส ด้านบนและด้านล่าง แบ่งออก เป็นสองชั้นคือ

- แพลิเซดมีโซฟิลล์ (Palisade mesophyll) เป็นชั้นที่อยู่ใต้เอพิเดอร์มิส ด้านบนเข้ามาในเนื้อใบประกอบด้วยเซลล์ยาว และแคบเรียงตั้งฉากกับเอพิเดอร์มิส ด้านบน เซลล์เรียงกันเป็นแถวอัดแน่น

- สปันจีมีโซฟิลล์ (Spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ เข้าไปอีก จนถึง เอพิเดอร์มิส ด้านล่าง เซลล์อยู่กันอย่างหลวม ๆ รูปร่างค่อนข้างกลม มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก มีสีเขียวน้อยกว่าด้านบน

- มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) คือ ส่วนของเส้นใบขนาดต่าง ๆ กันที่อยู่ภายใน

เนื้อใบ ประกอบด้วย ไซเลม และโฟลเอ็ม เรียงติดต่อกันเป็นเส้นใบ ส่วนใหญ่ของมัดท่อลำเลียงอยู่ในชั้น สปันจีมีโซฟิลล์ จึงเห็นเส้นใบนูนออกทางด้าน ท้องใบ

3.2 ปากใบ ประกอบด้วยเซลล์คุม (Guard Cell) ซึ่งอยู่กันเป็นคู่ ๆ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วหรือไต เซลล์คุม 2 เซลล์จะหันด้านเว้าและมีความหนามากกว่ามาประกบกันทำให้เกิดช่องว่าง เรียกว่า ปากใบหรือรูใบ (Stomata) เป็นเซลล์ที่มีเม็ด คลอโรพลาสต์อยู่ภายใน

4. โครงสร้างภายในดอกของเสาวรส

4.1 ละอองเรณู (Pollen gain) จากการศึกษาเกสรเพศผู้พบละอองเรณูของเสาวรสกระจายอยู่

มีรูปร่างกลม รูปทรงกลม สีน้ำตาลรังไข่ (Ovary) จากการศึกษาเกสรเพศเมียพบ ออวุล (Ovule) ของเสาวรสเกาะที่ผนังรังไข่ มีรูปร่างรี รูปทรงรี สีขาว

5. โครงสร้างภายในผลของเสาวรส

จากการศึกษาโครงสร้างภายในของผลเสาวรส เมื่อตัดตามขวาง (Cross section) พบว่ามีโครงสร้างภายใน ประกอบด้วยผนังชั้นนอก (Exocarp) เปลือกชั้นนอกสุด ส่วนมากจะเหนียวและเป็นมัน ประกอบด้วยเซลล์ชั้นเดียว หรือเซลล์หลายชั้น ผนังชั้นกลาง (Mesocarp) ชั้นถัดเปลือกเข้ามาด้านใน มักจะหนาและฉ่ำน้ำ ผนังชั้นใน (Endocarp) ชั้นที่อยู่ติดกับเมล็ด อาจมีลักษณะแข็งมาก เมล็ด (Seed) ไข่ที่พัฒนาขึ้นมาหลังจากการปฏิสนธิแล้ว สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้

6. โครงสร้างภายในเมล็ดของเสาวรส

ภายในมีเมล็ดเสาวรส มีรูปร่างรูปหัวใจ เนื้อเมล็ดสีขาวที่เรียกว่า เอนโดสเปิร์ม (Endosperm)