Paper -บทความ


วารสารวิชาการ มีความยาวไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ

โครงสร้างของบทความวิจัย

1) ชื่อเรื่อง โดยปกติเป็นคำนาม กระชับ ตรงประเด็น ต้องสื่อถึงงานที่ทำ และไม่ยาวจนเกินไป

2) ผู้เขียน ที่ปรึกษา ที่ปรึกษาร่วม ที่ปรึกษาพิเศษ

3) บทคัดย่อ เขียนเพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจบทความ ประกอบด้วย

ก) วัตถุประสงค์

ข) ความสำคัญ

ค) สิ่งที่นำเสนอ

ง) เทคนิคที่ใช้

จ) ผลลัพธ์สำคัญ

4) Keywords

5) ที่มาและความสำคัญ ส่วนนี้มีความสำาคัญมาก เพราะจะบอกถึงจุดเด่นและจุดด้อยของงาน ซึ่งประกอบด้วย

ก) ที่มาของงานวิจัย

ข) ทบทวนวรรณกรรม ถึงงานก่อนหน้าและจุดด้อย

ค) สิ่งที่นำเสนอ ความใหม่

ง) เกริ่นนำความสำคัญ งานก่อนหน้านี้ (ควรทบทวนวรรณกรรม และสิทธิบัตรให้ครบถ้วน)

และวัตถุประสงค์โดยควรแบ่งย่อหน้าแต่ละส่วนให้ชัดเจน

6) วิธีทดลอง หัวข้อนี้จะบอกถึง

ก) ทฤษฎี กระบวนการพื้นฐาน วิธีที่มาก่อน หรือ Baseline methods

ข) ไม่ควรลอกมาจากงานเขียนก่อนหน้านี้/หนังสือ ให้เรียบเรียงใหม่

ค) ผู้เขียนสามารถอ้างอิงรายละเอียดทฤษฎีในส่วนที่มีอยู่แล้ว ด้วยเอกสารอ้างอิงได้เลย

ง) ถ้าเป็น journal การเขียนทฤษฎีไม่ต้องใส่ทุกเรื่อง ควรใส่แต่เรื่องที่เด่น

7) วิธีทำการทดลอง หัวข้อนี้จะบอกถึง

ก) วิธีที่นำเสนอ และการออกแบบที่นำเสนอ

ข) พารามิเตอร์ส าคัญในการทดลอง ซึ่งงานวิจัยที่ทันสมัย พารามิเตอร์ควรเป็นปัจจุบัน

ค) อาจอยู่ในหัวข้อเดียวกันกับ Methodology ก็ได้ หากไม่ยาวมาก

ง) หากมีรายละเอียดมาก หรือเขียนบทความในวารสาร ควรแยกเป็นหัวข้อใหม่

8) ผลการทดลอง/อภิปรายผลการทดลอง หัวข้อนี้ถือเป็นหัวใจหลักของบทความ ซึ่งจะบอกถึง

ก) ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง การจำลอง บอกสิ่งที่ดีกว่างานวิจัยก่อนหน้าอย่างไร

ข) ควรเสนอด้วยแผนภูมิ ตาราง กราฟต่างๆ และอธิบายผลลัพธ์อย่างละเอียด (ผลลัพธ์ดูง่าย

อ่านแล้วรู้ว่า ส่วนที่ต้องการแสดง คืออะไร เกี่ยวกับอะไร)

ค) อภิปรายข้อดี-ข้อเสีย (สัมพันธ์กับหัวข้อ Introduction) ซึ่งงานที่ดีควรบอกว่า มีข้อดีเพราะ

อะไร และมีข้อเสียเพราะอะไร

ง) ส่วนของการอภิปราย (Discussions) ควรแยกเป็นหัวข้อใหญ่ก็ได้ หากมีความยาวมาก และมี

การเปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้า

9) สรุปผลการทดลอง หัวข้อนี้จะบอกถึง

ก) ส่วนสรุปสาระสำคัญของประเด็นที่ผู้เขียนค้นพบ ในความยาวประมาณ 1-2 ย่อหน้า

ข) บทสรุปของงานวิจัย ความสำคัญของงานที่ท า และงานที่สามารถทำต่อในอนาคต (ควรระบุ

ว่าในแง่ใดดีกว่า เพราะอะไร)

ค) อาจสรุปประเด็นเป็นข้อๆ ก็ได้

10) References ปรับรูปแบบตามแต่ละวารสารกำหนด

11) กิตติกรรมประกาศ ข้อนี้ควรระบุถึง

ก) ส่วนขอบคุณผู้ให้ข้อมูล หรือช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ

ข) ระบุแหล่งทุนวิจัย พร้อมรายละเอียด

ค) ถ้ามีนักศึกษาช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ อาจไม่ต้องใส่ชื่อร่วมวิจัย แต่นำมาใส่ในส่วนนี้แทน


ตัวอย่าง บทความ