คำถามที่พบบ่อย (FQA)

Q: เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ใดที่อยู่ในอำนาจของสำนักงานจเรตำรวจ

A: เรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์เกี่ยวกับการกระทำความผิดของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด รวมถึงการเร่งรัดคดี


Q: ร้องเรียนร้องทุกข์ช่องทางใดได้บ้าง

A: ปัจจุบันสามารถร้องเรียนได้ 5 ช่องทาง ได้แก่

-การร้องเรียนด้วยตนเอง

-ร้องเรียนผ่านทางจดหมาย

-ร้องเรียนผ่านทางเว็บไซต์ 1111/สำนักนายกรัฐมนตรี

-ร้องเรียนผ่านทางสายด่วน 1599

-ร้องเรียนผ่านหน่วยงานราชการอื่นๆ


Q: แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดได้ที่ใด

A: สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่


Q: ร้องเรียนร้องทุกข์ไว้แล้ว จะติดตามเรื่องได้อย่างไรบ้าง

A: สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจเรตำรวจ


Q: การร้องเรียนต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

A: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ


Q: หากร้องเรียนหลายครั้งจะทำให้คดีได้รับการพิจารณารวดเร็วขึ้นหรือไม่

A: หากผู้ร้องร้องเรียนมาหลายช่องทาง อาจทำให้มีความล่าช้าเนื่องจากจำเป็นต้องมีการรวบรวมเรื่องร้องเรียนจากหลายแห่งและส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ จึงขอแนะนำให้ผู้ร้องร้องเรียนผ่านทางสำนักงานจเรตำรวจเพียงช่องทางเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว แต่ทางสำนักงานจเรตำรวจไม่ขัดขวางหากท่านประสงค์จะร้องเรียนผ่านหน่วยงานอื่น


Q: ทำไมเรื่องร้องเรียนที่ร้องไว้ที่หน่วยงานอื่นจึงส่งเรื่องต่อมาที่สำนักงานจเรตำรวจ

A: หากเรื่องร้องเรียนดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานจเรตำรวจ หน่วยงานที่ท่านร้องเรียนไว้จำเป็นต้องส่งต่อมายังสำนักงานจเรตำรวจเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป เพื่อความสะดวกรวดเร็วจึงขอแนะนำให้ท่านร้องเรียนผ่านฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานจเรตำรวจได้โดยตรง


Q: ประสงค์จะร้องเรียนร้องทุกข์ แต่เกรงจะได้รับอันตรายควรทำเช่นไร

A: การร้องเรียนร้องทุกข์เกี่ยวกับการกระทำความผิดของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการหรือลูกจ้างในสังกัดสามารถร้องเรียนโดยไม่ระบุชื่อหรือปกปิดชื่อผู้ร้องได้เพื่อความปลอดภัย แต่การร้องเรียนดังกล่าวจะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถติดต่อผู้ร้องที่ปกปิดหรือไม่ระบุชื่อได้


Q: ขั้นตอนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนใช้เวลานานแค่ไหน

A: เมื่อฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้รับเรื่องร้องเรียนมา เจ้าหน้าจะรับเรื่องลงในระบบ เพื่อให้นิติกรประมวลข้อเท็จจริงและส่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยประมาณไม่เกิน 2 สัปดาห์ และหน่วยงานที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง


Q: การร้องเรียนควรเขียนเรื่องใดบ้าง

A: การร้องเรียนควรระบุให้ชัดเจนถึงวันเกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ เหตุที่เกิดขึ้น ชื่อของผู้ถูกร้อง(กรณีไม่ทราบให้ระบุสังกัดเท่าที่ทราบ) หากเคยแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันไว้ควรสำเนาเอกสารดังกล่าวส่งมาด้วย