เนื้อหาบทเรียน

สระในภาษาไทย

สระ หมายถึง

เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะ จำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

มีทั้งหมด ๓๒ ตัว

รูปสระ

รูปสระ คือ ส่วนประกอบของเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระ มีทั้งหมด ๒๑ รูป ซึ่งมีชื่อ วิธีการเขียนดังนี้


เสียงสระในภาษาไทย

แบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 5 พวกด้วยกัน คือ

สระเดี่ยว,เสียงสั้น,เสียงยาว,สระประสมและสระเกิน

วิธีใช้สระ

เมื่อพยัญชนะประสมกับสระและมีตัวสะกด จะมีวิธีใช้สระหลายวิธี ดังนี้

๑. คงรูป คือเขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -ิ, -ี, -ึ, -ุ, -ู , เ- , แ- , โ- , -อ , เ -ีย , เ -อ

ก + -า + ง = กาง

ด + - ิ + น = ดิน

ห + -อ + ม = หอม

ม + แ- + ว = แมว

๒. แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ , เ-ะ , แ-ะ , เ-อ

ร + -ะ + บ = รับ (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ)

ล + เ-ะ + ก = เล็ก (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม่ไต่คู้)

ข + แ-ะ + ง = แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)

ด + เ-อ + น = เดิน (แปลงตัวออเป็นพินทุ์อิ)

๓. ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น การลดรูปมี ๒ วิธีคือ

๓.๑ ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ เช่น

บ + โ-ะ + ก = บก

ก + -อ + ร = กร (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)

๓.๒ ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น

ค + เ-อ + ย = เคย (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า เช่น เชย เชย เลย เกย เอย เนย เงย )

ส + - ั ว + น = สวน (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว เช่น กวน ลวน นวล ชวน ควร มวน อวน หวน)

๔. เติมรูป คือ เพิ่มรูปนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ -ื ที่ใช้ ในแม่ ก กา จะเติม -อ เช่น

ม + -ื = มือ

ค + -ื = คือ (บางท่านเรียก อ ว่า อ เคียง)

๕. ลดรูปและแปลงรูป

ก + เ-าะ + -้ = ก็

ล + เ-าะ + ก = ล็อก

สระที่มีตำแหน่งอยู่บนหรือล่างของพยัญชนะ ต้องเขียนตรงกับเส้นหลังของพยัญชนะต้นเสมอ

เทคนิควิธีช่วยจำ