เนื้อหา

ผ้าปักม้ง


ผ้าปักม้งเป็นผลผลิตจากชนเขาเผ่าม้งที่นำด้ายมาปักเป็นผ้าปักม้งในลักษณะลวดลายต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดนเด่นในการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าม้ง


การประดิษฐ์ผ้าปักม้งที่ต้องใช้ภูมิปัญญาและทักษะของชนเผ่าม้งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบเฉพาะของตนเอง ซึ่งผ้าปักม้งนั้นสามารถนำเอามาเป็นเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นในชีวิตของคนเราในปัจจุบัน โดยมีการสืบทอดในครอบครัวและชุมชนเป็นภูมิปัญญาที่ติดไปกับการอพยพจนเป็นอัตลักษณ์ประจำเผ่าม้งได้อย่างชัดเจน


ลวดลายของผ้าปักชาวม้ง

ลวดลายของการทอผ้าม้ง บ้านม้งดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ จากการที่ได้ไปศึกษาในหมู่บ้านม้งดอยปุยแล้วนั้น ค้นพบว่ามีลวดลายที่สวยงามมากมาย ซึ่งชาวบ้านได้ค้นคิดลวดลายขึ้นมาเอง และทอผ้าเองด้วยความประณีตของลวดลายต่างๆ


ภาพที่ 1 ลายก้นหอยผสมลายลูกศร

ลายก้นหอยผสมลายลูกศร ลายลูกศร เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ ของ ชาวเผ่าม้ง บ้านม้งดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลายที่สวยงาม เหมาะกับการในออกงานทั่วไปหรือแล้วแต่คนชอบส่วนบุคคล และมีการประณีตในการทอผ้าของลายนี้ เพื่อให้ผ้าที่ทอออกมากมีความสวยงาม


ภาพที่ 2 ลายฟันเลื้อย

ลายฟันเลื้อยเป็นลวดลายของผ้าทอชาวเผ่าม้งชนิดหนึ่ง ที่มีลายผ้าที่สวยงาม และมีความประณีตในการถักทอผ้า ลายผ้าชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมทอมากนัก แต่เป็นผ้าในการคิดค้นลายของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อที่จะออกมาดูสวยงามและเป็นที่น่าชื่นชมของคนทั่วไป


ภาพที่ 3. ลายดาว

ลายดาว ลายดาวเป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน


ภาพที่ 4. ลายก้นหอย

ลายก้นห้อย ลายก้นหอยเป็นลายผ้าที่มีลวดลายสวยงาม เป็นลายผ้าของชาวเผ่าม้ง ชาวม้งส่วนใหญ่มักจะใส่กัน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่ชอบลายก้นหอย และชาวเผ่าม้งมีความประณีตในการทอผ้า เพื่อให้ผลงานที่ออกมานั้น ดีและมีคุณภาพที่สวยงาม


ภาพที่ 5. ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้างลายเท้าช้างเป็นลายของผ้าชาวเผ่าม้งลายหนึ่งที่นิยมสวมใส่กันทั้งหญิงและชาย เป็นลายที่ชาวเขาเผ่าม้งยึดถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่สวมใส่ในลายผ้านี้ ซึ่งชาวม้งจะมีการทอผ้าอย่างมีความประณีต เพื่อให้ผ้าที่ปักนั้นมีความสวยงามและมีลายผ้าที่ออกมาดี เพื่อที่จะนำมาใช้งานได้


งานภูมิปัญญาด้านผ้าปักของชนเผ่าม้ง
มีการสืบทอดในครอบครัวและชุมชนเป็นภูมิปัญญาที่ติดไปกับการอพยพจนเป็นอัตลักษณ์ประจำเผ่าได้อย่างชัดเจน โดยจำแนกลายได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มลายผ้า ปักม้งโบราณ ที่มีที่มาจากธรรมชาติ และอักษรม้งโบราณ 2) กลุ่มลายสมัยใหม่ ที่มีที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในด้านกระบวนการผลิตมีการปักหลากหลายวิธี คือ การปักด้ายหรือไหม (Embroidery) ได้แก่ วิธีการปักลายขัดเดินเส้น วิธีการปักไขว้ (แบบครอสติค) การปักลายดอกเย้าเครื่องหมายบวก วิธีการปักลูกโซ่ การปักทึบ และวิธีการปักสอยเป็นภาพวิธีชีวิตชาวม้ง การปะสอย (Appliqué) ได้แก่ วิธีการปะสอยแบบรูปเรขาคณิต วิธีการปะ ปักสอยด้วยตัดผ้าเป็นลวดลายแล้วปะบนผ้าสีต่างๆ และวิธีการแบบผสม (Mixed technique) ได้แก่ วิธีการทำผ้าบาติกผสมการปะสอย สภาพปัญหาที่พบคือ งานผ้าปักม้ง ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ขาดผู้สืบทอด และขาดการพัฒนาลายใหม่ๆ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง ควรเน้นที่คุณค่าและการสร้างมูลค่าเพิ่ม และควรมีการรวบรวมลายผ้าปักม้งเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาลายต่อไปได้ง่ายขึ้น มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้

อุปกรณ์การปักผ้าม้ง ที่จำเป็นต้องมีมีดังนี้
1) เข็มเย็บผ้าส าหรับปักผ้าขนาดต่าง ๆ
2) ด้ายสีต่าง ๆ
3) ผ้าสีต่างๆ ผ้าใยกัญชงหรือผ้าครอสติส
4) กรรไกร
5) กระดาษลอกลาย
6) แบบของลวดลายส าหรับวาดลงบนกระดาษลอกลาย และ ในปัจจุบันจ าเป็นต้องใช้จักรเย็บผ้าร่วมด้วย