เนื้อหา

ผ้าปักม้ง เอกลักษณ์ชนเผ่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษม้ง (หรือที่มักมีการเรียกกันโดยทั่วไปว่า แม้ว) เป็นกลุ่มชนเผ่า ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อาศัย อยู่ในประเทศจีน และด้วยผลจากสงครามจึงค่อยๆ อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในพม่า ลาว เวียดนาม และประเทศ ไทย ปัจจุบันม้งที่พบมากในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ม้งขาว ม้งดํา และม้งลาย (แต่คําว่า "แม้ว" เป็นคําเรียกที่ชนเผ่าม้งถือว่าไม่สุภาพ ชาวม้งจึงไม่เรียกตัวเองว่า แม้ว และชาวม้งส่วนใหญ่จึงไม่ชอบถูก เรียกว่า แม้วด้วย) ชนเผ่าม้ง เป็นชนเผ่าชนหนึ่งที่มีความขยันขันแข็งมาก สมาชิกทุกคนในครอบครัวต่างต้องช่วยกันทํา มาหากิน ในช่วงเวลาว่างหลังเสร็จงานเกษตรกรรมเพาะปลูกในไร่นา ผู้ชายชาวม้งจะทํางานตีเหล็กและ เครื่องเงิน ขณะที่ฝ่ายผู้หญิงจะเย็บปักเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ดังที่มีคํากล่าวถึงวิถีชีวิตชาวม้งตั้งแต่โบราณกาลว่า "ผู้หญิงปักผ้า ผู้ชายตีมีด" เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชนเผ่าม้ง จึงนิยมสร้างลวดลายประดับด้วยลายปักที่ใช้ เส้นด้ายสีสันสดใส ผ้าปักม้ง จึงมีความสำคัญ ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของหญิงชาวม้งที่สืบทอดมา จากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นนับหลายร้อยปีการปักผ้าม้ง เพื่อใช้ติดประดับบริเวณต่างๆ ของเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทําเป็นทุกคน และต้องทําใส่เอง และสําหรับสามีลูกชาย ด้วย เพราะผู้ชายม้งจะไม่ปักผ้า หญิงชาวม้งทุกคนจึงต้องร่ำเรียนวิชาปักผ้าจากผู้เป็นมารดาของตนตั้งแต่อายุยังไม่ถึงสิบปีแต่ชาวม้งจะไม่นิยม ใช้สีแดงประดับบนเสื้อผ้า เพราะมีความเชื่อว่า สีแดงเป็นสีรุนแรง เป็นสีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุไม่เป็นมงคลจะ ใช้เฉพาะในงานศพเท่านั้น

ศิลปะลวดลายบนผืนผ้าชนเผ่าม้ง มีทั้งการปัก การเย็บ และการเขียนเทียน (การเขียนลายเทียน เฉพาะในกลุ่มม้งลาย ส่วนกลุ่มม้งดํา และม้งขาวจะไม่เขียนเทียน) ผ้าปักม้งส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้ายทอมือ และ ผ้าใยกัญชง เทคนิคที่ใช้ในการปักผ้าม้งโดยหลักจะมี 2 แบบคือ แบบปักเป็นกากบาทคล้ายลายปักครอสติช และอีกแบบหนึ่งคือ การปักแบบเย็บปะติด เอกลักษณ์ลวดลายที่ปรากฎบนผืนผ้าของชาวเผ่าม้งก็มีหลากหลาย ลักษณะ ทั้งลวดลายดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ลวดลายที่ถูก สร้างสรรค์จากจินตนาการเลียนแบบมาจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัว วิถีชีวิต ลวดลายที่ได้รับอิทธิพลมา จากความเชื่อ ตํานาน หรือเรื่องเล่า และลวดลายที่มีการปรับประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยตามความต้องการของ กระแสความนิยมของผู้บริโภค ปัจจุบัน


ปัจจุบัน แม้ด้วยกระแสทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจะทําให้วิถีชีวิตของชนเผ่าม้งจะมีการ เปลี่ยนแปลงไปมาก ม้งบางกลุ่ม บางพื้นที่มีวิถีชีวิตไกล้เคียงกับคนสังคมเมืองมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นงานปักผ้าก็ ยังคงมีการสืบทอดต่อกันมาในกลุ่มชนเผ่าม้ง และลวดลายบางลวดลายที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชน เผ่าม้ง ก็ยังมีปรากฎอยู่ในผืนผ้าปักม้ง ร่วมอยู่ด้วยแทบจะทุกผืน ผ้าปักที่เคยทำกันเพียงเพื่อเป็นแค่เครื่องแต่ง กายในครอบครัวหรือในชนเผ่า ก็กลายเป็นสินค้าที่ถูกนํามาพัฒนาเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจําวันที่มี ความหลากหลาย จนเป็นที่นิยมทั้งกลุ่มคนไทยและชาวต่างชาติกันในปัจจุบันนี้

การเขียนเทียน : เป็นศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าเป็นเอกลักษณ์อีกแบบหนึ่งของชาวม้งที่มีการ ทํากันในกลุ่มม้งลายเท่านั้น เป็นภูมิปัญญาและศิลปะโบราณดั้งเดิมที่เป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบัน ผ้าเขียนเทียนเป็นผ้าที่ชนเผ่าม้งผูกพันธ์คู่มา กับความเป็นชนเผ่า ผู้หญิงชาวม้งลายทุกคนมี ความสามารถในการวาดลวดลาย เขียนเทียนลงบนผืนผ้าที่ตระเตรียมไว้ได้ อย่างละเอียดซับซ้อน ผ่านกระบวนการจนเสร็จสิ้นเป็นผืนผ้าสําเร็จที่สวยงาม ผ้าม้งเขียนเทียน จึงเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ตัดเย็บเป็นกระโปรงผู้หญิง ในอดีตนั้นหญิง ชาวม้งจะบรรจงวาดลวดลาย เขียนเทียน แล้วนําไปย้อมสีและอัดกลีบแล้วจึงนําไปตัดเย็บ กว่าจะผ่าน กระบวนการจนแล้วเสร็จเป็นกระโปรง 1 ตัว อาจต้องใช้เวลาในการทํายาวนานถึงเกือบ 1 ปีเพื่อให้ได้ กระโปรงที่หญิงสาวชาวม้งจะใช้สวมใส่ที่สวยงามที่สุด เทคนิคการเขียนเทียน มีลักษณะคล้ายการทำผ้าบาติกที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน โดยใช้อุปกรณ์ แท่งเล็กๆ ทําจากไม้กับทองแดงที่เรียกว่า หลาจัง จุ่มลงบนเทียนหรือขี้ผึ้งร้อนๆ แล้วนำมาวาดลวดลายบนผ้าใยกัญชง หรือผ้าฝ้ายที่เตรียมไว้เมื่อเสร็จแล้วก็จะนําผ้าไปย้อมเย็นด้วยสีน้ำเงินธรรมชาติจากต้นกั้ง (หรือ ต้นห้อมที่ให้สีน้ำเงิน) เมื่อผ้าทั้งผืนกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มตามต้องการแล้ว จึงนําผ้าไปต้มด้วยความร้อนให้เทียน ละลาย ก็จะได้ผ้าสีน้ำเงินมีลวดลายเขียนเทียนเป็นสีขาวกระจายสวยงามอยู่ทั่วทั้งผืน แล้วนําไปพับอัดกลีบ เป็นกระโปรง หรืออาจนําไปปักลวดลายต่างๆ ด้วยด้ายหลากหลายสีสัน แล้วจึงนํามาสวมใส่เป็นชุดประจํา ชนเผ่าที่งดงาม


ลวดลายปักวิถีชีวิต : ศิลปะบนผืนผ้าสะท้อนวิถีชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้ง นอกจากจะมีฝีมือและความชํานาญ ในการปักผ้า และการเขียนเทียน สร้างสรรค์ลวดลายที่ งดงามที่เลื่องลือ ตามแบบฉบับของชาวม้งแล้ว ชนเผ้าม้ง กลุ่มม้งลาย ยังมีความชาญฉลาดในการเล่าเรื่องราวที่ แสดงออกถึงวิถีชีวิตของ ชนเผ่า ผ่านศิลปะงานปักบนผืนผ้า บอกเล่าถึงความเป็นไปในวิถีชีวิตความเป็นอยู่การประกอบอาชีพ ลวดลายที่แสดงถึงการเล่าเรื่องราววิถีชีวิตเหล่านี้ใช้เทคนิคการปักลวดลายแบบทึบหรือที่เรียกว่า เชี้ย ตามภาษาชนเผ่าม้ง บนผืนผ้า 1 ชิ้นนั้น อาจมีการปักผ้าเรื่องราวที่บอกเล่าเป็นลําดับเรื่อง ต่อเนื่องกันหลายเรื่อง เช่น ภาพปักวิถีชีวิตชาวม้งชายหญิงที่ดําเนินเรื่องตั้งแต่ออกจากบ้านไปไร่ไปนา ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์หรือภาพปักแสดงวิถีการเพาะปลูก ตั้งแต่การเริ่มต้นปลูกต้นกล้า รดน้ำ ไปจนถึงการ เก็บเกี่ยวพืชผล เช่นนี้เป็นต้น ศิลปะและเทคนิคการปักลวดลายลักษณะเช่นนี้เป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของชาวม้งที่ มีการทํากันในกลุ่มหญิงชาวม้งลาย เป็นภูมิปัญญาและศิลปะดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน การปักต้องอาศัยทั้งจินตนาการ ความอดทน และฝีมือในการปักค่อนข้างสูง ปัจจุบันจึงมีชาวม้งที่ปักผ้าใน ลักษณะนี้ได้เหลืออยู่ ค่อนข้างน้อยมาก และอาจจะสูญหายไปตามกาลเวลาในที่สุด

“ลายก้นหอย” เอกลักษณะเฉพาะบนผืนผ้าปักที่สะท้อนชนเผ่าม้ง หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้าของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้นหอย ผู้ปักตองใช้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จประณีตและออกมาสวยงาม