วิสัยทัศน์ กศน. ประจำปีงบประมาณ 2565

คนไทยทุกช่วงวัยที่ กศน. รับผิดชอบได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะที่จำเป็นและสมรรถนะที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมบนรากฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ สอดคลอง กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับการศึกษา และพัฒนาสมรรถนะ ทักษะการเรียนรูของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมในแต่ละชวงวัย ให้พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมก้าวสู่การเป็นสังคมแหงการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างยั่งยืน

2. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบใหมคุณภาพและมาตรฐานสอดคลองกับรูปแบบการจัดการเรียนรูและบริบท ในปัจจุบัน

3. ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาและนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อเพิ่มชองทางและโอกาสการเรียนรู้รวมถึงการเพิ่ประสิทธิภาพในการจัดและให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ใหกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง

4. ส่งเสริมสนับสนุน แสวงหา และประสานความร่วมมือเชิงรุกกับภาคีเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชน

5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรใหมีเอกภาพเพื่อการบริหารราชการที่ดีบนหลักของธรรมภิบาลมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

6. ยกระดับการบริหารและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรใหมีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ คุณธรรมและจริยธรรมที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ของการใหบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

เป้าประสงค์

1. ประชาชนผู้ด้อยพลาด และขาดโอกาสทางการศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตอเนื่อง และการศึกษา ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามบริบท สภาพปญหาและความตองการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

2. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หนาที่ความเป็นพลเมืองที่ดีภายใตการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่สอดคลองกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเขมแข็งใหชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดลอม

3. ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรูและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองผ่านแหล่งเรียนรู้ ชองทางการเรียนรู และกิจกรรมการเรียนรูรูปแบบต่างๆรวมทั้งมีเจตคติทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะอย่างมีเหตุผล และนำไปประยุกตใชในชีวิตประจำวัน รวมถึงการแกปญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

4. หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. มีหลักสูตร สื่อ นวัตกรรม ชองทางการเรียนรู และกระบวนการ เรียนรู ในรูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัย และรองรับกับสภาวะการเรียนรูในสถานการณต่างๆ เพื่อแกปญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความตองการของประชาชนและชุมชน รวมทั้งตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบท ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดลอม

5. หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. สามารถนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาเพื่อเพิ่มชองทางการเรียนรู และนำมาใชในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรูและโอกาสการเรียนรู ใหกับประชาชน

6. ชุมชนและภาคีเครือขายทุกภาคสวน มีสวนร่วมในการจัด สงเสริม และสนับสนุนการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรูของชุมชน

7. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการองคกรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเป็นไป ตามหลักธรรมาภิบาล

8. บุคลากร กศน. ทุกประเภททุกระดับได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และการใหบริการทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการปฏิบัติงานตามสายงานอย่างมีประสิทธิภาพ