จุดเริ่มต้นศาสตร์พระราชา

 "เศรษฐกิจพอเพียง" 

       เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517      โดยเริ่มต้นจากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ซึ้งเน้นความความสำคัญในการพัฒนาประเทศเเบบสร้างพื้นฐาน คือ ... 

"ความพอมี พอกิน พอใช้"

พ. ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานพระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณศาลา ดุสิดาลัยสวนจิตรลดาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้งเพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศและประชาชน เริ่มรู้จักเเละน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ (UN)  โดยนายโคฟีอันนัน ผู้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ...

The Human Development Lifetime Achievement Award

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศ ไทยและนานาประเทศและ สามารถเริ่มได้จาการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเองสู่หมู่บ้านและสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้น

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4:3:4)

         คือ กรอบแนวคิดเพื่อการปฏิบัติตนโดยยึดหลักทางสายกลางและความพอเพียง ผ่านการใช้ชีวิตบนหลักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พร้อมด้วยความรู้และคุณธรรม ซึ่งผู้คนทุกวัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร  (รัชกาลที่ 9)  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้คน ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี เป็นต้น

การดำเนินชีวิตบนทางสายกลางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น 

ตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญต่าง ๆ 

2 เงื่อนไข  

3 หลักการ 

สมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

ศาสตร์การพัฒนา / หลัก 3 ศาสตร์ 

พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10  มุ่งสร้างพื้นฐานให้เเก่ผู้เรียน 4 ด้าน

1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง                                                

1.1 มีความรู้ความเข้าในต่อชาติบ้านเมือง                                                    

1.2 ยึดมั่นในศาสนา                                                                                   

1.3 มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์                                                    

1.4 มีความเอื้อาทรต่อครอบครัวและชุมชน    

 2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มเเข็ง-มีคุณธรรม

2.1 รู้จักคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งที่ผิด-ชอบ / ชั่ว-ดี

2.2 ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดีงาม

2.3 ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว

2.4 ช่วยกันสร้างคนดีให้เเก่บ้านเมือง

3.มีงานทำ-มีอาชีพ                                                                      

3.1 การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมสถานศึกษาต้องให้เด็กและเยาวชนรักงาน สู้งาน ทำงานงานสำเร็จ                                                                      

3.2 การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดม่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็นและมีงานทำในที่สุด                                                                                         

3.3 ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพมีงานทำ จนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว

4.เป็นพลเมืองที่ดี-มีระเบียบวินัย

 4.1 การเป็นพลเมืองที่ดีเป็นหน้าที่ของทุกคน

 4.2 ครอบครัว-สถานศึกษาและสถานประกอบการ ส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี 

 4.3 การเป็นพลเมืองดีคือ "เห็นอะไรทีจะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ" เข่น งานอาสาสมัคร  งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศล  ห้ทำด้วยความมีน้ำใจและความเอื้ออาทร


"ภาพยนตร์แอนิเมชัน ของขวัญจากดิน"